คอลัมน์ ผ่ามันสมองของปราชญ์
โดย พ.ญ.นภาพร ลิมป์ปืยากร
ประชาชาติธุรกิจ สิงหาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3925 (3125)
โดยทั่วไปมนุษย์เราต้องการแสวงหาความสุขและการวัดความสุขของประชาชนทั้งประเทศ หรือจีดีเอช (GDH = gross domestic happiness) กำลังได้รับการเสนอให้เป็นตัวชี้วัดระดับการพัฒนาของสังคมแทนผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือจีดีพี (GDP = gross domestic product) นอกจากนั้นคนส่วนใหญ่มักคิดว่า การได้นั่นได้นี่ หรือเป็นนั่นเป็นนี่ แล้วจะทำให้พวกเขามีความสุข แต่เมื่อพวกเขาได้หรือเป็นในสิ่งที่พวกเขาคิดว่าจะนำความสุขมาให้จริงๆ พวกเขากลับไม่รู้สึก มีความสุข เช่น เมื่อผู้คนตัดสินใจแต่งงาน พวกเขามักคิดว่า นับจากนี้ไปพวกเขาจะมีแต่ความสุข แต่หลังแต่งงานมาได้สักพักหนึ่ง คนเหล่านั้นกลับพูดว่ารู้งี้ไม่แต่งดีกว่า การแต่งงานจึงกลายเป็นกิจกรรมที่คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
ส่วนที่เหลือ
Daniel Todd Gilbert (born November 5, 1957) is the Harvard College Professor of Psychology at Harvard University. He is a social psychologist who is known for his research (with Timothy Wilson of the University of Virginia) on affective forecasting, with a special emphasis on cognitive biases such as the impact bias. He is the author of the ninternational bestseller Stumbling on Happiness, which won the 2007 Royal Society Prizes for Science Books. (Photo par Jim Harrison)
Daniel Gilbert นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด พยายามหาคำตอบมาเสนอไว้ในหนังสือชื่อ Stumbling on Happiness : Why the Future Won"t Feel the Way You Think It Will ซึ่งพิมพ์เมื่อปี 2006 และได้รับรางวัลหนังสือวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม ประจำปี ค.ศ. 2007 ของสมาคมส่งเสริมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แห่งสหราชอาณาจักร หรือ The Royal Society Prize for Science Books ไปสดๆ ร้อนๆ เมื่อกลางเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา หนังสือขนาด 270 หน้าเล่มนี้ อธิบายรวมทั้งให้ข้อมูลและตัวอย่างเพื่อที่จะตอบคำถามว่า การคาดเดา หรือการจินตนาการที่มนุษย์เชื่อว่าจะนำความสุขมาให้พวกเขานั้น มักไม่เป็นดังที่คิดเพราะเหตุใด
ในตอน 1 ผู้เขียนพูดถึงวิธีการคาดการณ์ (prospective) เขาเริ่มต้นด้วยคำถามที่จิตแพทย์ทุกคนต้องตอบเมื่อตอนเข้าเรียนใหม่ๆ นั่นคือ อะไรทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์ เขาเลือกตอบว่าความสามารถในการจินตนาการถึงอนาคตของมนุษย์ บางคนอาจแย้งว่ากระรอกซึ่งเก็บสะสมอาหารไว้สำหรับฤดูหนาวก็มีความสามารถในการคิดถึงอนาคตเช่นกัน หาไม่แล้วมันเก็บอาหารไว้ในฤดูหนาวได้อย่างไร ผู้เขียนอธิบายว่า พฤติกรรมการเก็บอาหารไว้ใน ฤดูหนาวของกระรอกนั้นเกิดจากโปรแกรม ที่ถูกตั้งไว้แล้วในสมองของมัน เมื่อกลางวัน สั้นลงและปริมาณแสงแดดลดลง โปรแกรมนั้นก็จะทำงานส่งผลให้กระรอกเริ่มเก็บสะสมอาหาร หาใช่เพราะกระรอกคิดถึงอนาคตเหมือนที่มนุษย์คิดถึงอนาคตแต่อย่างใดไม่
วิธีการทำนายของสมองแบ่งออกเป็น 2 ระดับนั่นคือ
1) สมองจะใช้ข้อมูลที่ถูกบันทึกหรือรับรู้มาก่อนในอดีตร่วมกับข้อมูลในปัจจุบันทำนายอนาคตโดยอัตโนมัติเพราะสมองจะรับรู้ว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่หนึ่งขึ้น ย่อมต้องเกิดเหตุการณ์ที่สองตามมาอย่างแน่นอน เช่น การที่สัตว์สามารถหลบเลี่ยงเสาที่มีประจุไฟฟ้า การทำนายระดับนี้ของสมองแทบจะไม่ต้องใช้ความสามารถใดๆ ในการทำนายเลย หรือแทบจะไม่ต้องใช้สมองเลยก็ว่าได้ และความสามารถระดับนี้ก็ไม่ได้มีเฉพาะมนุษย์เท่านั้น ลิงก็มีความสามารถนี้ด้วย
2) ทำนายถึงสิ่งที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นในอดีตและไม่มีในปัจจุบัน การคาดการณ์หรือการวางแผนถึงอนาคตชนิดนี้ เกิดขึ้นได้เฉพาะกับมนุษย์ผู้ใหญ่ที่มีบริเวณสมองส่วนหน้าเท่านั้น ที่ทราบเช่นนี้เพราะมนุษย์ที่ถูกนำสมองส่วนนี้ออกจะมีความคิดหมุนเวียนอยู่แต่ในปัจจุบัน ไม่สามารถคาดการณ์ถึงอนาคตหรือวางแผนได้ จึงไม่มีความเครียดและความวิตกกังวล สมองส่วนนี้เป็นส่วนที่มีวิวัฒนาการช้าที่สุดและเป็นสมองที่ทำหน้าที่เหมือนพาหนะของเวลา (time machine) ที่นำพามนุษย์ไปสู่อนาคต
การที่มนุษย์ชอบคิดถึงอนาคตเป็นเพราะการคาดการณ์หรือการเตรียมการสามารถทำให้พวกเขามีความสุข ลดความทุกข์ และสามารถรับมือกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขายังเกิดมาพร้อมกับสัญชาตญาณที่อยากควบคุม อยากมีโอกาสเลือก และอยากคาดการณ์ถูก ผู้เขียนยกผลการศึกษาที่ทำกับ ผู้พักอาศัยในบ้านพักคนชรา 2 กลุ่ม มาเป็นตัวอย่าง กลุ่มแรก คนชราจะเป็นผู้กำหนดเวลาให้นักศึกษามาเยี่ยมเยียน กลุ่มที่ 2 นักศึกษาเป็นผู้กำหนดเวลามาพบคนชรา หลังทำการศึกษา 6 เดือน ก็พบว่าคนชรากลุ่มแรกมีสุขภาพดีกว่าและเสียชีวิตน้อยกว่า เพราะคนกลุ่มนี้รู้สึกว่าเป็นผู้ควบคุมและเป็นฝ่ายเลือกจึงมีความสุขมากกว่า แต่เมื่อนักศึกษาหยุดไปเยี่ยมเยียนคนชราทั้งสองกลุ่ม ผลกลับกลายเป็นว่าคนชรากลุ่มแรกมีสุขภาพแย่ลงมากกว่าและเสียชีวิตมากกว่า เพราะคนกลุ่มนี้จะ รู้สึกสูญเสียการควบคุมมากกว่าคนกลุ่มหลัง ความต้องการควบคุม หรือกำหนดชะตาตนเอง ทรงพลังอย่างยิ่ง จึงเป็นรางวัล ในตัวของมันเอง
วิธีการทำนายของสมองแบ่งออกเป็น 2 ระดับนั่นคือ
1) สมองจะใช้ข้อมูลที่ถูกบันทึกหรือรับรู้มาก่อนในอดีตร่วมกับข้อมูลในปัจจุบันทำนายอนาคตโดยอัตโนมัติเพราะสมองจะรับรู้ว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่หนึ่งขึ้น ย่อมต้องเกิดเหตุการณ์ที่สองตามมาอย่างแน่นอน เช่น การที่สัตว์สามารถหลบเลี่ยงเสาที่มีประจุไฟฟ้า การทำนายระดับนี้ของสมองแทบจะไม่ต้องใช้ความสามารถใดๆ ในการทำนายเลย หรือแทบจะไม่ต้องใช้สมองเลยก็ว่าได้ และความสามารถระดับนี้ก็ไม่ได้มีเฉพาะมนุษย์เท่านั้น ลิงก็มีความสามารถนี้ด้วย
2) ทำนายถึงสิ่งที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นในอดีตและไม่มีในปัจจุบัน การคาดการณ์หรือการวางแผนถึงอนาคตชนิดนี้ เกิดขึ้นได้เฉพาะกับมนุษย์ผู้ใหญ่ที่มีบริเวณสมองส่วนหน้าเท่านั้น ที่ทราบเช่นนี้เพราะมนุษย์ที่ถูกนำสมองส่วนนี้ออกจะมีความคิดหมุนเวียนอยู่แต่ในปัจจุบัน ไม่สามารถคาดการณ์ถึงอนาคตหรือวางแผนได้ จึงไม่มีความเครียดและความวิตกกังวล สมองส่วนนี้เป็นส่วนที่มีวิวัฒนาการช้าที่สุดและเป็นสมองที่ทำหน้าที่เหมือนพาหนะของเวลา (time machine) ที่นำพามนุษย์ไปสู่อนาคต
การที่มนุษย์ชอบคิดถึงอนาคตเป็นเพราะการคาดการณ์หรือการเตรียมการสามารถทำให้พวกเขามีความสุข ลดความทุกข์ และสามารถรับมือกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขายังเกิดมาพร้อมกับสัญชาตญาณที่อยากควบคุม อยากมีโอกาสเลือก และอยากคาดการณ์ถูก ผู้เขียนยกผลการศึกษาที่ทำกับ ผู้พักอาศัยในบ้านพักคนชรา 2 กลุ่ม มาเป็นตัวอย่าง กลุ่มแรก คนชราจะเป็นผู้กำหนดเวลาให้นักศึกษามาเยี่ยมเยียน กลุ่มที่ 2 นักศึกษาเป็นผู้กำหนดเวลามาพบคนชรา หลังทำการศึกษา 6 เดือน ก็พบว่าคนชรากลุ่มแรกมีสุขภาพดีกว่าและเสียชีวิตน้อยกว่า เพราะคนกลุ่มนี้รู้สึกว่าเป็นผู้ควบคุมและเป็นฝ่ายเลือกจึงมีความสุขมากกว่า แต่เมื่อนักศึกษาหยุดไปเยี่ยมเยียนคนชราทั้งสองกลุ่ม ผลกลับกลายเป็นว่าคนชรากลุ่มแรกมีสุขภาพแย่ลงมากกว่าและเสียชีวิตมากกว่า เพราะคนกลุ่มนี้จะ รู้สึกสูญเสียการควบคุมมากกว่าคนกลุ่มหลัง ความต้องการควบคุม หรือกำหนดชะตาตนเอง ทรงพลังอย่างยิ่ง จึงเป็นรางวัล ในตัวของมันเอง
by: satastar : ( aRTgazinE artist )
ในตอน 2 ผู้เขียนอธิบายถึงการรับรู้ด้วยตนเอง (subjectivity) อารมณ์ความสุข เป็นประสบการณ์ซึ่งต้องรับรู้ด้วยตัวเอง และเป็นเรื่องซับซ้อนและมีหลายมิติ จึงยากที่จะอธิบายหรือถ่ายทอดให้แก่กัน ผู้เขียนยกวิธีการอธิบายสีเหลืองให้มนุษย์ต่างดาวมาเป็นตัวอย่าง มนุษย์อาจต้องเริ่มต้นด้วยการชี้ไป ที่มัสตาดและมะนาวฝรั่งที่มีสีเหลือง แล้วอธิบายให้มนุษย์ต่างดาวรับรู้ว่า สิ่งที่เห็นเหมือนกันในสองสิ่งนี้คือสีเหลือง มนุษย์ต่างดาวอาจไม่เข้าใจ มนุษย์อาจพยายามอธิบายเพิ่มเติมว่า สีเหลืองจะคล้ายสีส้มแต่มีความแดงน้อยกว่า มนุษย์ต่างดาวก็ยังคงไม่เข้าใจอยู่ดี นั่นหมายความว่า การรับรู้ด้วยตัวเองไม่สามารถสอนสั่งหรืออธิบายให้กันฟังได้
เมื่อความสุขเป็นสิ่งที่ต้องรับรู้ด้วยตัวเอง และคนแต่ละคนจะมีความสามารถในการรับรู้ที่แตกต่างกันและมีมาตรวัดที่ต่างกัน ความสุขจึงไม่น่าที่จะศึกษาอย่างวิทยาศาสตร์ได้ แต่หากมนุษย์สามารถยอมรับเงื่อนไข 3 ข้อ นั่นคือ 1) เครื่องวัดไม่จำเป็นต้องเที่ยงตรง 2) มาตรวัดไม่จำเป็นต้องถูกต้องและ 3) เมื่อสิ่งเล็กๆ ประกอบกันเป็นสิ่งใหญ่ จะมีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะเปลี่ยนไปการศึกษาความสุขอย่างวิทยาศาสตร์จึงน่าที่จะเป็นไปได้
อย่างไรก็ดีนอกจากเงื่อนไขสามข้อแล้ว มนุษย์ยังคงต้องมีเครื่องมืออื่นๆ ในการศึกษาความสุขอีกนั่นคือ ภาษา ภาษาจะทำให้มนุษย์สามารถที่จะจดจำคุณลักษณะที่สำคัญของประสบการณ์ และดึงเอาความทรงจำเหล่านั้นมาวิเคราะห์แล้วสรุปเพื่อถ่ายทอดให้กับผู้อื่น แต่มนุษย์ยังมีข้อจำกัดอื่นอีกนั่นคือ ความทรงจำ
ความทรงจำของมนุษย์ไม่สามารถจดจำทุกอิริยาบถของประสบการณ์ได้ พวกเขาจึงจำเป็นต้องลดทอนความทรงจำให้เหลือเพียงคำคำหนึ่ง หรือให้นิยามกับประสบการณ์นั้นๆ ว่าเป็นอย่างไร หรือรู้สึกอย่างไรกับประสบการณ์นั้นๆ เช่น มีความสุข การที่มนุษย์ลดทอนให้เหลือเพียงคำคำเดียวนั้น ไม่ใช่เป็นเพราะเขาคิดว่าอะไรดี อะไรไม่ดี หากเป็นเพราะพวกเขามีความสามารถจำกัดในการจดจำ พวกเขาจึงเลือกจดจำเฉพาะส่วนที่เขาคิดว่าสำคัญและอยากจดจำเท่านั้น รายละเอียดอื่นๆ จึงถูกละไป
นอกจากนี้คนแต่ละคนยังให้ความหมายและระดับของสิ่งต่างๆ แตกต่างกัน เพราะแต่ละคนมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ฉะนั้นความสุขในความหมายของแต่ละคนจึงมาจากมุมมองของตนเองที่ผ่านประสบการณ์ด้วยเนื้อหา เลนส์ และพื้นฐานที่แตกต่างกัน จึงยุ่งยากในการอธิบาย
ในตอน 3 ผู้เขียนพูดถึงการมองสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง (realism) โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ทุกๆ วันด้วยการคาดการณ์ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นในอนาคต แต่มนุษย์มักคาดการณ์ผิดเสมอ การคาดการณ์ผิดๆ ของมนุษย์มาจาก
1) การรับรู้ที่ผิดพลาดในปัจจุบัน การที่มนุษย์จดจำเรื่องราวเป็นกลุ่มและประสาทสัมผัสของพวกเขา ไม่สามารถที่จะเก็บรายละเอียดของข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้พวกเขาไม่สามารถจดจำรายละเอียดได้ทั้งหมด เช่น บางครั้งภาพที่มนุษย์เห็นไปตกอยู่ในตำแหน่งมืดบอด (blind spot) ซึ่งไม่มีประสาทรับรู้ของการมอง ทำให้สมองต้องทำการคาดเดาว่าอะไรตั้งอยู่ตรงไหนแล้วทำการบันทึกไว้ นอกจากนี้การรับรู้ของมนุษย์นั้นก็มิได้มาจากการมองเห็นทางสรีรวิทยาเพียงอย่างเดียว แต่ยังร่วมกับขบวนการทางจิตวิทยาและขบวนการคิดเป็นการรับรู้ที่แท้จริง การจินตนาการของมนุษย์จึงอาจเกิดขึ้นบนจุดบอดของจิตใจได้เช่นกัน ส่งผลให้พวกเขาจินตนาการอนาคตผิดๆ
2) ความทรงจำที่ผิดพลาดในอดีต การที่สมองของมนุษย์ไม่สามารถจดจำ รายละเอียดทุกอย่างย่อมมีข้อมูลบางอย่าง ถูกละทิ้ง ความไม่สามารถในการบอกสิ่งที่ไม่มีจึงเป็นที่มาของการตัดสินใจผิด เพราะพวกเขาไม่สามารถเลือกสิ่งที่ตนเองไม่รู้จักได้
เมื่อความสุขเป็นสิ่งที่ต้องรับรู้ด้วยตัวเอง และคนแต่ละคนจะมีความสามารถในการรับรู้ที่แตกต่างกันและมีมาตรวัดที่ต่างกัน ความสุขจึงไม่น่าที่จะศึกษาอย่างวิทยาศาสตร์ได้ แต่หากมนุษย์สามารถยอมรับเงื่อนไข 3 ข้อ นั่นคือ 1) เครื่องวัดไม่จำเป็นต้องเที่ยงตรง 2) มาตรวัดไม่จำเป็นต้องถูกต้องและ 3) เมื่อสิ่งเล็กๆ ประกอบกันเป็นสิ่งใหญ่ จะมีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะเปลี่ยนไปการศึกษาความสุขอย่างวิทยาศาสตร์จึงน่าที่จะเป็นไปได้
อย่างไรก็ดีนอกจากเงื่อนไขสามข้อแล้ว มนุษย์ยังคงต้องมีเครื่องมืออื่นๆ ในการศึกษาความสุขอีกนั่นคือ ภาษา ภาษาจะทำให้มนุษย์สามารถที่จะจดจำคุณลักษณะที่สำคัญของประสบการณ์ และดึงเอาความทรงจำเหล่านั้นมาวิเคราะห์แล้วสรุปเพื่อถ่ายทอดให้กับผู้อื่น แต่มนุษย์ยังมีข้อจำกัดอื่นอีกนั่นคือ ความทรงจำ
ความทรงจำของมนุษย์ไม่สามารถจดจำทุกอิริยาบถของประสบการณ์ได้ พวกเขาจึงจำเป็นต้องลดทอนความทรงจำให้เหลือเพียงคำคำหนึ่ง หรือให้นิยามกับประสบการณ์นั้นๆ ว่าเป็นอย่างไร หรือรู้สึกอย่างไรกับประสบการณ์นั้นๆ เช่น มีความสุข การที่มนุษย์ลดทอนให้เหลือเพียงคำคำเดียวนั้น ไม่ใช่เป็นเพราะเขาคิดว่าอะไรดี อะไรไม่ดี หากเป็นเพราะพวกเขามีความสามารถจำกัดในการจดจำ พวกเขาจึงเลือกจดจำเฉพาะส่วนที่เขาคิดว่าสำคัญและอยากจดจำเท่านั้น รายละเอียดอื่นๆ จึงถูกละไป
นอกจากนี้คนแต่ละคนยังให้ความหมายและระดับของสิ่งต่างๆ แตกต่างกัน เพราะแต่ละคนมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ฉะนั้นความสุขในความหมายของแต่ละคนจึงมาจากมุมมองของตนเองที่ผ่านประสบการณ์ด้วยเนื้อหา เลนส์ และพื้นฐานที่แตกต่างกัน จึงยุ่งยากในการอธิบาย
ในตอน 3 ผู้เขียนพูดถึงการมองสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง (realism) โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ทุกๆ วันด้วยการคาดการณ์ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นในอนาคต แต่มนุษย์มักคาดการณ์ผิดเสมอ การคาดการณ์ผิดๆ ของมนุษย์มาจาก
1) การรับรู้ที่ผิดพลาดในปัจจุบัน การที่มนุษย์จดจำเรื่องราวเป็นกลุ่มและประสาทสัมผัสของพวกเขา ไม่สามารถที่จะเก็บรายละเอียดของข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้พวกเขาไม่สามารถจดจำรายละเอียดได้ทั้งหมด เช่น บางครั้งภาพที่มนุษย์เห็นไปตกอยู่ในตำแหน่งมืดบอด (blind spot) ซึ่งไม่มีประสาทรับรู้ของการมอง ทำให้สมองต้องทำการคาดเดาว่าอะไรตั้งอยู่ตรงไหนแล้วทำการบันทึกไว้ นอกจากนี้การรับรู้ของมนุษย์นั้นก็มิได้มาจากการมองเห็นทางสรีรวิทยาเพียงอย่างเดียว แต่ยังร่วมกับขบวนการทางจิตวิทยาและขบวนการคิดเป็นการรับรู้ที่แท้จริง การจินตนาการของมนุษย์จึงอาจเกิดขึ้นบนจุดบอดของจิตใจได้เช่นกัน ส่งผลให้พวกเขาจินตนาการอนาคตผิดๆ
2) ความทรงจำที่ผิดพลาดในอดีต การที่สมองของมนุษย์ไม่สามารถจดจำ รายละเอียดทุกอย่างย่อมมีข้อมูลบางอย่าง ถูกละทิ้ง ความไม่สามารถในการบอกสิ่งที่ไม่มีจึงเป็นที่มาของการตัดสินใจผิด เพราะพวกเขาไม่สามารถเลือกสิ่งที่ตนเองไม่รู้จักได้
by: plumtoughmark : ( aRTgazinE artist )
ในตอน 4 ผู้เขียนพูดถึงการคิดถึงแต่เฉพาะเรื่องในปัจจุบัน (presentism) ในขณะที่มนุษย์จินตนาการ พวกเขาต้องนำเอาข้อมูลที่ฝังอยู่ในส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ ในสมองออกมา เช่นเมื่อมนุษย์ถูกถามถึงความยาวของขา นกเพนกวิน ข้อมูลเกี่ยวกับนกเพนกวินจะถูก ดึงจากสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น ทำให้พวกเขาเห็นภาพนกเพนกวินในจินตนาการ หรือตาในสมอง นั่นหมายความว่า มนุษย์จะ ไม่สามารถจินตนาการเกินกว่าความเป็นจริงในปัจจุบัน เพราะพวกเขาต้องยืมเครื่องมือที่เรียกว่าการรับรู้ซึ่งอยู่ในแหล่งเดียวกัน มนุษย์จึงไม่สามารถที่จะจินตนาการถึงนกเพนกวินในขณะที่ตาของพวกเขามองเห็นนกกระจอกเทศอยู่
ยิ่งไปกว่านั้น มนุษย์ไม่สามารถจินตนาการบนความหลากหลายของเวลาได้ พวกเขา จึงต้องจินตนาการถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันก่อน แล้วจึงค่อยคิดต่อไปว่า เวลาที่เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นเป็นเวลาใดอนาคต พวกเขาจึงจินตนาการได้เพียงแค่ใครทำอะไรที่ไหน แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเมื่อไร การที่มนุษย์ต้องคิดถึงแต่เฉพาะเรื่องในปัจจุบันเมื่อพวกเขาต้องจินตนาการจึงกลายเป็นข้อจำกัด ที่ส่งผลให้พวกเขาตัดสินใจผิดเกี่ยวกับอนาคต ที่เป็นเช่นนี้เพราะแทนที่พวกเขาจะพิจารณาเปรียบเทียบกัน แต่เรื่องอนาคตโดยไม่ใช้ความรู้สึกในปัจจุบันเป็นตัวเปรียบเทียบตัดสิน พวกเขากลับต้องเปรียบเทียบปัจจุบันกับอดีตแทนที่จะเปรียบเทียบกับสิ่งที่อาจเป็นไปได้ในอนาคต นี่คือเหตุผลที่มนุษย์มักชอบสิ่งของชิ้นใหม่เพียงชั่วคราวแล้วหยุดชอบมันหลังได้มันมาระยะหนึ่ง เช่น เมื่อผู้คนจะซื้อแว่นตาใหม่ พวกเขาจะเปรียบเทียบแว่นใหม่นี้กับแว่นเก่าที่พวกเขามี แต่เมื่อพวกเขาใส่แว่นนี้สักระยะหนึ่ง พวกเขาจะหยุดเปรียบเทียบมันกับของเก่าที่เคยมี
ในตอน 5 ผู้เขียนพูดถึงวิธีการหาเหตุผลให้ตัวเองหรือการหาทางออก เป็นที่ทราบกันดีว่า ผลงานทางวิทยาศาสตร์จะน่าเชื่อถือก็ต่อเมื่อ นักวิจัยใช้เทคนิคที่ดีในการวิจัยและหาข้อสรุปไม่ว่าผลที่ได้มานั้น จะตรงกับสิ่งที่พวกเขาอยากให้เป็นหรือไม่ก็ตาม แต่ผลงานทางวิทยาศาสตร์จะขาดความน่าเชื่อถือ หากนักวิจัยใช้เทคนิคที่ทำให้ผลลัพธ์เป็นไปอย่างที่พวกเขาต้องการให้เกิดขึ้น ไม่ว่าเทคนิคนั้นจะถูกต้องหรือไม่ก็ตาม
ฉะนั้นความคิดของมนุษย์จะน่าเชื่อถือก็ต่อเมื่อความคิดของพวกเขามีฐานแบบนักวิจัยที่ดี แต่ความจริงจากการศึกษากลับพบว่าขณะที่มนุษย์เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ความจริงในเรื่องเกี่ยวกับตัวเอง พวกเขาจะจดจำหรือสนใจแต่สิ่งที่ตรงกับความคิดของตนเท่านั้น นั่นหมายความว่าความคิดของมนุษย์มักเป็นแบบนักวิจัยที่ไม่ดีซึ่งตรงกับหลักฐานทางสรีรวิทยา คือ ตาและสมองจะมีสัญญาต่อกันโดยที่สมองจะเชื่อในสิ่งที่ตามองเห็น และตาจะพยายามมองเฉพาะสิ่งที่สมองต้องการให้เห็นเพื่อเป็นการยืนยันในความถูกต้องของกันและกัน
เมื่อธรรมชาติของมนุษย์เป็นเช่นนี้ ในขั้นตอนของการเก็บข้อมูลและตีความนั้น มนุษย์ จึงมักนำความจริงที่ได้รับมาปรุงแต่ง ให้เข้ากับความเชื่อของตัวเอง ซึ่งก็คือกลไกการป้องกันทางจิตหรือภูมิคุ้มกันทางจิตนั่นเอง นี่คือเหตุผลที่เมื่อใดมนุษย์ไม่มีความสุข ระบบภูมิคุ้มกันจะปรุงแต่งความจริงนั้นใหม่แล้วเปลี่ยนให้เป็น มุมมองที่ดีขึ้น หรือแม้แต่ประสบการณ์ที่ เลวร้ายหรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ภูมิคุ้มกันทางจิตจะทำงานเพื่อให้พวกเขาเกิดมุมมองที่เป็นบวก ทั้งหมดนี้เป็นวิธีการหาทางออกหรือวิธีการหาเหตุผลให้ตนเองของมนุษย์นั่นเอง
ในตอน 6 ผู้เขียนพูดถึงความเป็นไปได้ ในการแก้ปัญหา (corrigibility) เขาเริ่มต้นด้วยการเล่าถึงวิธีการฝึกให้เด็กหัดเข้าห้องน้ำ หลังจากที่ผู้ใหญ่ใช้ความพยายามในการช่วยฝึกและเด็กได้ปฏิบัติอยู่ชั่วระยะหนึ่ง เด็กทุกคนก็จะเข้าห้องน้ำเองเป็น นั่นหมายความว่าการฝึกหัดและการฝึกตามคำสอนเป็นหนทางแห่งการเรียนรู้และน่าจะทำให้มนุษย์ทำผิดพลาดน้อยลง แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่
การที่มนุษย์ทำผิดไม่ใช่เพราะพวกเขาไม่สามารถจดจำได้ แต่เป็นเพราะความทรงจำ มิได้ทำหน้าที่อย่างนักเขียนที่ซื่อสัตย์ ซึ่งจะจดจารประสบการณ์ของผู้คนได้อย่างครบถ้วน ความทรงจำกลับทำหน้าที่อย่างบรรณาธิการที่ตัดต่อ และจดจำเฉพาะส่วนที่สำคัญของประสบการณ์ แล้วทำการเรียงร้อยเป็นเรื่องราวใหม่ทุกครั้งที่มนุษย์กลับไปอ่านมัน แม้ว่าบรรณาธิการ จะมีความเฉลียวฉลาดพอที่จะทราบว่า เรื่องราวใดมีความสำคัญและส่วนใดของเรื่องราวสามารถละทิ้งไปได้ แต่ความทรงจำยังมีความตลบตะแลงเล็กๆ น้อยๆ จึงเป็นสาเหตุให้บรรยายอดีตผิดไป เลยเป็นเหตุให้จินตนาการอนาคตผิดไปด้วย
นอกจากนี้ มนุษย์มักคิดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ จะเป็นเรื่องที่พวกเขาสามารถจดจำได้ง่าย แต่แท้ที่จริงแล้วเหตุการณ์ที่ผิดปกติต่างหากที่พวกเขาจดจำได้แม่นยำ ยิ่งไปกว่านั้นการที่มนุษย์มีแนวโน้ม ที่จะจดจำได้แต่ตอนจบของเรื่องราว และตีความไปตามนั้น อีกทั้งมักจดจำแต่ส่วนที่ดีที่สุดหรือแย่ที่สุด ในแต่ละประสบการณ์แทนที่จะจดจำเวลาส่วนใหญ่ของประสบการณ์นั้นๆ จึงเป็นเหตุ ที่ทำให้พวกเขาทำผิดซ้ำสอง เช่น ผู้คนมักจดจำประสบการณ์ของทิวทัศน์ที่งดงามน่าประทับใจได้ในวันหนึ่งของการพักร้อน แต่หลงลืมเรื่องอื่นๆ ไปเสีย พวกเขาเลยกลับ ไปยังที่นั่นอีกและพบกับประสบการณ์ความคับคั่งของผู้คนเช่นที่เคยประสบมาในปีก่อนๆ
ความทรงจำเป็นกระบวนการของการสร้างใหม่จากข้อมูลทีละเล็กละน้อย แล้วกลายเป็นภาพขึ้นในจิตใจ ซึ่งจะผุดขึ้นมาเมื่อมนุษย์คิดถึงมัน สมองของมนุษย์จะใช้ทั้งข้อเท็จจริงและทฤษฎีมาใช้ในการคาดเดาสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต และยังใช้ข้อมูลเดียวกันนี้ไปในการคาดเดาความรู้สึกที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตด้วย แต่ความรู้สึกในอดีตนี้กลับมิได้ถูกบันทึกไว้ให้พวกเขาจดจำ การที่สมองของมนุษย์ให้ความเชื่อถือทฤษฎี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทฤษฎีผิดๆ มากกว่าข้อเท็จจริงในการสร้างความทรงจำว่า พวกเขารู้สึกเช่นใดจึงเป็นเหตุให้มนุษย์ จดจำความรู้สึกของตนเองผิดไป
อย่างไรก็ดีความก้าวหน้าในปัจจุบันทำให้ความรู้ต่างๆ สามารถถ่ายทอดได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ความรู้มือสองเหล่านี้น่าจะมีส่วนทำให้มนุษย์คิดผิดน้อยลง เพราะพวกเขาน่าจะสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ และความผิดพลาดของผู้อื่น แต่ความจริงก็คือมนุษย์ยังคงคิดผิดอยู่เสมอเพราะพวกเขา มักยอมรับคำแนะนำที่ผิดๆ และเชื่อมันมาก เกินไป หรือได้ยินคำแนะนำที่ถูกต้องแต่ กลับปฏิเสธ ซ้ำร้ายพวกเขายังคิดว่าตนเองต่างจากคนอื่นทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว พวกเขาก็เหมือนคนอื่นๆ ความคิดเช่นนี้ ส่งผลให้มนุษย์ไม่ยอมหยิบยืมความคิดของ ผู้อื่นมาช่วยในการจินตนาการ
ผู้เขียนสรุปในตอนท้ายว่า ประสบการณ์ของมนุษย์สอนพวกเขาว่าความทรงจำเป็นเพื่อนที่ไม่ซื่อสัตย์ การฝึกหัดและการถูกฝึกสอนอาจทำให้พวกเขาเรียนรู้ได้หลายอย่าง แต่ยังไม่เพียงพอที่จะพาพวกเขาออกจากปัจจุบันเพื่อไปยังอนาคตได้ และที่สำคัญก็คือ แม้พวกเขาจะมีข้อมูลมากมายที่สามารถช่วยเหลือให้พวกเขาสามารถทำนายอนาคตได้อย่างถูกต้อง แต่พวกเขามักไม่ยอมรับว่าข้อมูลนั้นอยู่แค่เอื้อม
ยิ่งไปกว่านั้น มนุษย์ไม่สามารถจินตนาการบนความหลากหลายของเวลาได้ พวกเขา จึงต้องจินตนาการถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันก่อน แล้วจึงค่อยคิดต่อไปว่า เวลาที่เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นเป็นเวลาใดอนาคต พวกเขาจึงจินตนาการได้เพียงแค่ใครทำอะไรที่ไหน แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเมื่อไร การที่มนุษย์ต้องคิดถึงแต่เฉพาะเรื่องในปัจจุบันเมื่อพวกเขาต้องจินตนาการจึงกลายเป็นข้อจำกัด ที่ส่งผลให้พวกเขาตัดสินใจผิดเกี่ยวกับอนาคต ที่เป็นเช่นนี้เพราะแทนที่พวกเขาจะพิจารณาเปรียบเทียบกัน แต่เรื่องอนาคตโดยไม่ใช้ความรู้สึกในปัจจุบันเป็นตัวเปรียบเทียบตัดสิน พวกเขากลับต้องเปรียบเทียบปัจจุบันกับอดีตแทนที่จะเปรียบเทียบกับสิ่งที่อาจเป็นไปได้ในอนาคต นี่คือเหตุผลที่มนุษย์มักชอบสิ่งของชิ้นใหม่เพียงชั่วคราวแล้วหยุดชอบมันหลังได้มันมาระยะหนึ่ง เช่น เมื่อผู้คนจะซื้อแว่นตาใหม่ พวกเขาจะเปรียบเทียบแว่นใหม่นี้กับแว่นเก่าที่พวกเขามี แต่เมื่อพวกเขาใส่แว่นนี้สักระยะหนึ่ง พวกเขาจะหยุดเปรียบเทียบมันกับของเก่าที่เคยมี
ในตอน 5 ผู้เขียนพูดถึงวิธีการหาเหตุผลให้ตัวเองหรือการหาทางออก เป็นที่ทราบกันดีว่า ผลงานทางวิทยาศาสตร์จะน่าเชื่อถือก็ต่อเมื่อ นักวิจัยใช้เทคนิคที่ดีในการวิจัยและหาข้อสรุปไม่ว่าผลที่ได้มานั้น จะตรงกับสิ่งที่พวกเขาอยากให้เป็นหรือไม่ก็ตาม แต่ผลงานทางวิทยาศาสตร์จะขาดความน่าเชื่อถือ หากนักวิจัยใช้เทคนิคที่ทำให้ผลลัพธ์เป็นไปอย่างที่พวกเขาต้องการให้เกิดขึ้น ไม่ว่าเทคนิคนั้นจะถูกต้องหรือไม่ก็ตาม
ฉะนั้นความคิดของมนุษย์จะน่าเชื่อถือก็ต่อเมื่อความคิดของพวกเขามีฐานแบบนักวิจัยที่ดี แต่ความจริงจากการศึกษากลับพบว่าขณะที่มนุษย์เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ความจริงในเรื่องเกี่ยวกับตัวเอง พวกเขาจะจดจำหรือสนใจแต่สิ่งที่ตรงกับความคิดของตนเท่านั้น นั่นหมายความว่าความคิดของมนุษย์มักเป็นแบบนักวิจัยที่ไม่ดีซึ่งตรงกับหลักฐานทางสรีรวิทยา คือ ตาและสมองจะมีสัญญาต่อกันโดยที่สมองจะเชื่อในสิ่งที่ตามองเห็น และตาจะพยายามมองเฉพาะสิ่งที่สมองต้องการให้เห็นเพื่อเป็นการยืนยันในความถูกต้องของกันและกัน
เมื่อธรรมชาติของมนุษย์เป็นเช่นนี้ ในขั้นตอนของการเก็บข้อมูลและตีความนั้น มนุษย์ จึงมักนำความจริงที่ได้รับมาปรุงแต่ง ให้เข้ากับความเชื่อของตัวเอง ซึ่งก็คือกลไกการป้องกันทางจิตหรือภูมิคุ้มกันทางจิตนั่นเอง นี่คือเหตุผลที่เมื่อใดมนุษย์ไม่มีความสุข ระบบภูมิคุ้มกันจะปรุงแต่งความจริงนั้นใหม่แล้วเปลี่ยนให้เป็น มุมมองที่ดีขึ้น หรือแม้แต่ประสบการณ์ที่ เลวร้ายหรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ภูมิคุ้มกันทางจิตจะทำงานเพื่อให้พวกเขาเกิดมุมมองที่เป็นบวก ทั้งหมดนี้เป็นวิธีการหาทางออกหรือวิธีการหาเหตุผลให้ตนเองของมนุษย์นั่นเอง
ในตอน 6 ผู้เขียนพูดถึงความเป็นไปได้ ในการแก้ปัญหา (corrigibility) เขาเริ่มต้นด้วยการเล่าถึงวิธีการฝึกให้เด็กหัดเข้าห้องน้ำ หลังจากที่ผู้ใหญ่ใช้ความพยายามในการช่วยฝึกและเด็กได้ปฏิบัติอยู่ชั่วระยะหนึ่ง เด็กทุกคนก็จะเข้าห้องน้ำเองเป็น นั่นหมายความว่าการฝึกหัดและการฝึกตามคำสอนเป็นหนทางแห่งการเรียนรู้และน่าจะทำให้มนุษย์ทำผิดพลาดน้อยลง แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่
การที่มนุษย์ทำผิดไม่ใช่เพราะพวกเขาไม่สามารถจดจำได้ แต่เป็นเพราะความทรงจำ มิได้ทำหน้าที่อย่างนักเขียนที่ซื่อสัตย์ ซึ่งจะจดจารประสบการณ์ของผู้คนได้อย่างครบถ้วน ความทรงจำกลับทำหน้าที่อย่างบรรณาธิการที่ตัดต่อ และจดจำเฉพาะส่วนที่สำคัญของประสบการณ์ แล้วทำการเรียงร้อยเป็นเรื่องราวใหม่ทุกครั้งที่มนุษย์กลับไปอ่านมัน แม้ว่าบรรณาธิการ จะมีความเฉลียวฉลาดพอที่จะทราบว่า เรื่องราวใดมีความสำคัญและส่วนใดของเรื่องราวสามารถละทิ้งไปได้ แต่ความทรงจำยังมีความตลบตะแลงเล็กๆ น้อยๆ จึงเป็นสาเหตุให้บรรยายอดีตผิดไป เลยเป็นเหตุให้จินตนาการอนาคตผิดไปด้วย
นอกจากนี้ มนุษย์มักคิดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ จะเป็นเรื่องที่พวกเขาสามารถจดจำได้ง่าย แต่แท้ที่จริงแล้วเหตุการณ์ที่ผิดปกติต่างหากที่พวกเขาจดจำได้แม่นยำ ยิ่งไปกว่านั้นการที่มนุษย์มีแนวโน้ม ที่จะจดจำได้แต่ตอนจบของเรื่องราว และตีความไปตามนั้น อีกทั้งมักจดจำแต่ส่วนที่ดีที่สุดหรือแย่ที่สุด ในแต่ละประสบการณ์แทนที่จะจดจำเวลาส่วนใหญ่ของประสบการณ์นั้นๆ จึงเป็นเหตุ ที่ทำให้พวกเขาทำผิดซ้ำสอง เช่น ผู้คนมักจดจำประสบการณ์ของทิวทัศน์ที่งดงามน่าประทับใจได้ในวันหนึ่งของการพักร้อน แต่หลงลืมเรื่องอื่นๆ ไปเสีย พวกเขาเลยกลับ ไปยังที่นั่นอีกและพบกับประสบการณ์ความคับคั่งของผู้คนเช่นที่เคยประสบมาในปีก่อนๆ
ความทรงจำเป็นกระบวนการของการสร้างใหม่จากข้อมูลทีละเล็กละน้อย แล้วกลายเป็นภาพขึ้นในจิตใจ ซึ่งจะผุดขึ้นมาเมื่อมนุษย์คิดถึงมัน สมองของมนุษย์จะใช้ทั้งข้อเท็จจริงและทฤษฎีมาใช้ในการคาดเดาสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต และยังใช้ข้อมูลเดียวกันนี้ไปในการคาดเดาความรู้สึกที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตด้วย แต่ความรู้สึกในอดีตนี้กลับมิได้ถูกบันทึกไว้ให้พวกเขาจดจำ การที่สมองของมนุษย์ให้ความเชื่อถือทฤษฎี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทฤษฎีผิดๆ มากกว่าข้อเท็จจริงในการสร้างความทรงจำว่า พวกเขารู้สึกเช่นใดจึงเป็นเหตุให้มนุษย์ จดจำความรู้สึกของตนเองผิดไป
อย่างไรก็ดีความก้าวหน้าในปัจจุบันทำให้ความรู้ต่างๆ สามารถถ่ายทอดได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ความรู้มือสองเหล่านี้น่าจะมีส่วนทำให้มนุษย์คิดผิดน้อยลง เพราะพวกเขาน่าจะสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ และความผิดพลาดของผู้อื่น แต่ความจริงก็คือมนุษย์ยังคงคิดผิดอยู่เสมอเพราะพวกเขา มักยอมรับคำแนะนำที่ผิดๆ และเชื่อมันมาก เกินไป หรือได้ยินคำแนะนำที่ถูกต้องแต่ กลับปฏิเสธ ซ้ำร้ายพวกเขายังคิดว่าตนเองต่างจากคนอื่นทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว พวกเขาก็เหมือนคนอื่นๆ ความคิดเช่นนี้ ส่งผลให้มนุษย์ไม่ยอมหยิบยืมความคิดของ ผู้อื่นมาช่วยในการจินตนาการ
ผู้เขียนสรุปในตอนท้ายว่า ประสบการณ์ของมนุษย์สอนพวกเขาว่าความทรงจำเป็นเพื่อนที่ไม่ซื่อสัตย์ การฝึกหัดและการถูกฝึกสอนอาจทำให้พวกเขาเรียนรู้ได้หลายอย่าง แต่ยังไม่เพียงพอที่จะพาพวกเขาออกจากปัจจุบันเพื่อไปยังอนาคตได้ และที่สำคัญก็คือ แม้พวกเขาจะมีข้อมูลมากมายที่สามารถช่วยเหลือให้พวกเขาสามารถทำนายอนาคตได้อย่างถูกต้อง แต่พวกเขามักไม่ยอมรับว่าข้อมูลนั้นอยู่แค่เอื้อม
(Staff photo illustration Georgia Bellas/Harvard News Office)
|
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น