Benedict Anderson
ศ.ดร.เบเนดิคต์ แอนเดอร์สัน หรือ "อาจารย์เบน แอนเดอร์สัน" กูรูใหญ่มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ เจ้าของทฤษฎี Imagined Communities เป็น นักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาการเมืองไทยมานานอย่าง ลึกซึ้ง นอกจากนี้อาจารย์เบนยังเป็นนักรัฐศาสตร์ ที่สนใจวัฒนธรรมภาษา ปัจจุบันอาจารย์เบนศึกษาภาษาชวาจนเชี่ยวชาญ พูดภาษาตากาล็อกได้ และตอนนี้เริ่มฝึกภาษาไทยได้มากแล้ว
อาจารย์เบนมักพูดติดตลกว่า "ผมเป็นขบถ ผมไม่ใช่อังกฤษ แต่ผมเป็นไอริช (ครับ)"
กล่าวกันว่า งานการศึกษารัฐสมบูรณาญาสิทธิ์สยามและชาตินิยมราชการไทยทั้งหมด งานที่ เกี่ยวกับรัฐ-ชาติไทยไม่ว่าของนิธิ เอียวศรีวงศ์ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ธงชัย วินิจจะกูล เกษียร เตชะพีระ ล้วนได้รับอิทธิพลหรืออยู่ในกรอบครรลองมุมมองแนวคิดของงานแม่บท ของอาจารย์เบน แอนเดอร์สัน แทบทั้งสิ้น
อาจารย์รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ เคยบอกว่า ภาษาอังกฤษของอาจารย์เบนเป็นภาษาที่อ่านยาก ส่วนอาจารย์นิธิบอกว่า ภาษาอังกฤษของอาจารย์เบนยากที่จะแปลเป็นภาษาไทยต่างหาก
ปัจจุบันอาจารย์เบนบินข้ามไปข้ามมา ระหว่างยุโรปกับเอเชีย เพื่อไปบรรยายตามงานต่างๆ มากมาย
เมื่อเร็วๆ นี้อาจารย์เบนบินลัดฟ้ามาเมืองไทยเพื่อเป็นแขกรับเชิญของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (สบร.) ให้มาพูดในหัวข้อเรื่อง "ศิลปะแห่งการคอร์รัปชั่น" (The Art of Corruption)
"เบน" กล่าวว่า ความคิดว่าด้วยการคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการขยายตัว ของอารยธรรมกระฎุมพีหรือชนชั้นนายทุน ซึ่งหมายความว่าเมื่อมองกลับไปภายในยุคสมัยของวัฒนธรรมศักดินา (หมายถึงสมัยที่ใช้พื้นที่กรรมสิทธิ์ในการกำหนดยศถาบรรดาศักดิ์ในยุโรป ซึ่งเริ่มมีครั้งแรกในศตวรรษที่ 11) นับว่าความหมายของคำว่า คอร์รัปชั่นที่เราใช้ในปัจจุบัน อาจจะดูแปลกไปสำหรับยุคนั้น
"เบน" มองว่ายุคสมัยที่ความหมายของคอร์รัปชั่นเป็นเช่นตอนนี้ วัฒนธรรมนายทุน มันมีทั้งมติมหาชนและสื่อมวลชน และที่สำคัญ คือ ในหนังสือพิมพ์มีการ์ตูนการเมืองซึ่งมีบทบาทสำคัญตัวหนึ่งที่สะท้อนวัฒนธรรมนายทุนที่จะ วิพากษ์วิจารณ์ผู้ปกครองในเรื่องการคอร์รัปชั่น ในกรณีหนังสือพิมพ์ของลอนดอนก็มี Rolandson ส่วนปารีสก็มี Daumier และของเบอร์ลินก็มี Grosz เป็นผู้วาดการ์ตูนการเมือง
ในสังคมนายทุน ความขี้เกียจและการต้องการทางลัดทำให้เกิดการคอร์รัปชั่นอย่างหนึ่งในลักษณะที่ว่าไม่อยากทำงาน แต่อยากได้สถานะทางสังคม อยากได้เงินเดือน และอยากมีความ ยิ่งใหญ่ในการงาน เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าเราจะขยันขันแข็งไปทำไมก็ในเมื่อเราสามารถ เล่นหุ้นกันได้อย่างสบายๆ เพราะเพื่อนเราเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือถ้าอยากได้อะไรง่ายๆ ก็เพียงจ่ายค่าคอมมิสชั่น
เมื่อเวลาผ่านไปการคอร์รัปชั่นมันไม่ได้จำกัดพื้นที่อยู่เฉพาะพื้นที่ทางการเมือง แต่ออกไปสู่สังคมที่กว้างกว่านั้น อย่างเช่น สังคมศิลปะ ศิลปินในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นเรื่องที่ฉาวโฉ่มากว่าการคอร์รัปชั่นในวงการทำให้ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม นักแสดงยอดเยี่ยมฝ่ายหญิงฝ่ายชาย ซึ่งการคอร์รัปชั่นในฟิลิปปินส์นี้เกิดจากความ ขี้เกียจของคนเหล่านี้ เพราะไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องทำงานหนัง ต้องถ่ายหนังให้ดี กำกับฯหนังให้ดี เพราะว่ายังไงก็ตามเพื่อนของเราเป็นกรรมการอยู่ในนั้น ในอินโดนีเซียก็เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดารางวัลวรรณกรรมทั้งหลายที่มาจากเส้นสายหรือเพื่อนฝูง
สิ่งสำคัญที่การคอร์รัปชั่นเข้าสู่วงการศิลปะ ก็เพราะว่ามันมีเรื่องของเงินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยสูง ทั้งการประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรม หรือ เรื่องอื่นๆ เมื่อมีเงินเข้ามาเกี่ยวข้องมันก็จะเกิดการคอร์รัปชั่นกันขึ้นมา
"เบน" มองว่าปัจจุบันการคอร์รัปชั่นได้แทรกซึมเข้าไปในวงกว้างของสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะในระดับชนชั้นกลางมันจะมีรูปแบบการคอร์รัปชั่นของชนชั้นกลาง ซึ่งชนชั้นกลางเหล่านี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ใครๆ เขาก็ทำกันอย่างเช่น คุณย่า คุณยาย ของเราไม่สบายต้องไป โรงพยาบาลดีๆ ลูกของฉันถึงไม่ฉลาดแต่ก็ควร เข้าโรงเรียนดีๆ หรือจ่ายเงินให้กับตำรวจจราจร เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดในการขับรถด้วยความคิด ในแบบที่ว่า "ใครๆ เขาก็ทำกัน"
ส่วนฝ่ายที่คอร์รัปชั่นนั้นอาจจะไม่ได้ตั้งใจจะคอร์รัปชั่นตั้งแต่แรกอย่างเช่น ตำรวจชั้นผู้น้อยที่ตั้งใจจะทำงานด้วยความซื่อสัตย์ แต่อาจจะโดนลงโทษอย่างไม่รู้ตัวโดยผู้บังคับบัญชาถ้าพวกเขา ไม่รับส่วยบนถนนเพื่อส่งให้ผู้บังคับบัญชาหรือไม่ ก็โดนต่อต้านจากเพื่อนฝูงซึ่งนั่นอาจจะเป็นสาเหตุ ที่ทำให้เขาเลือกที่จะคอร์รัปชั่น
"ถ้าการคอร์รัปชั่นสามารถที่จะจินตนาการว่าเป็นพระเจ้า มันคงจะจินตนาการได้ไม่ยากนัก งานของพระเจ้าองค์นี้คงจะส่งเสริมชีวิตสำหรับคนที่ไม่มีเวลามากพอและคิดว่าใครเขาก็ทำกัน ซึ่งมันอาจจะทำให้คุณยายของเรามีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงบั้นปลายชีวิต บรรดาลูกๆ แม้จะไม่ฉลาดนักแต่ก็สามารถที่จะอยู่บ้านอย่างสบายโดยที่ไม่ต้องเรียนในมหาวิทยาลัย"
แต่สำหรับคนยากจน ขอทาน โสเภณี คนว่างงาน คนติดยา จะดูเป็นเรื่องสกปรกในเมืองใหญ่ไปเลย ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าถ้านักแสดง สาวเซ็กซี่สักคนจะได้รับรางวัลจากการแสดงจะไม่ใช่เรื่องน่าแปลกแต่อย่างใด โดยที่เธอมีดีเพียงแค่ความเซ็กซี่ แต่การแสดงไม่เอาอ่าว ก็ใครจะ ไปดูหนังเพื่อชมเฉพาะการแสดงของเธอกันล่ะ
หมายความว่าถ้าสังคมนั้นเต็มไปด้วยการคอร์รัปชั่น เรื่องความขยันหรือฝีมือไม่ใช่เรื่อง ที่จะต้องพูดถึงอีกต่อไป ก็ในเมื่อพระเจ้าที่ชื่อ "คอร์รัปชั่น" พร้อมที่จะช่วยเหลือชนชั้นกลางให้ได้อะไรง่ายๆ ตลอดเวลา ซึ่งในขณะเดียวกันกลไกนี้ก็จะทำให้กลุ่มคนที่เข้าถึงทรัพยากรได้ยากอย่างคนชายขอบที่ยกตัวอย่างในข้างต้นดูจะมีความเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ ในสายตาของชนชั้นกลางซึ่งเป็นชนชั้นที่ "พระเจ้า" เรียกว่าการคอร์รัปชั่นดูแลอยู่
"เบน" ตั้งข้อสังเกตทิ้งท้ายว่า คนอินโดนีเซียกับคนไทยคล้ายกันอย่างหนึ่ง ชอบใช้คำว่าขี้เกียจอยู่บ่อยๆ เช่น ขี้เกียจไปทำงาน ขี้เกียจไปงานปาร์ตี้ เช่น คนไทยจะพูดว่า "กูขี้เกียจไปงานศพ ให้เมียกูไปแทนดีกว่า"
หรือผมขี้เกียจไปเยี่ยมคุณลุงที่โรงพยาบาล รถอาจติดเป็นบ้า "น่าแปลกใจว่าภาษาไทยกับภาษาอินโดนีเซียมันไม่เกี่ยวกันเลย คนละตระกูลภาษาแต่ทำไมการแสดงออกมามันช่างเหมือนกันเหลือเกิน
ศ.ดร.เบเนดิคต์ แอนเดอร์สัน หรือ "อาจารย์เบน แอนเดอร์สัน" กูรูใหญ่มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ เจ้าของทฤษฎี Imagined Communities เป็น นักรัฐศาสตร์ที่ศึกษาการเมืองไทยมานานอย่าง ลึกซึ้ง นอกจากนี้อาจารย์เบนยังเป็นนักรัฐศาสตร์ ที่สนใจวัฒนธรรมภาษา ปัจจุบันอาจารย์เบนศึกษาภาษาชวาจนเชี่ยวชาญ พูดภาษาตากาล็อกได้ และตอนนี้เริ่มฝึกภาษาไทยได้มากแล้ว
อาจารย์เบนมักพูดติดตลกว่า "ผมเป็นขบถ ผมไม่ใช่อังกฤษ แต่ผมเป็นไอริช (ครับ)"
กล่าวกันว่า งานการศึกษารัฐสมบูรณาญาสิทธิ์สยามและชาตินิยมราชการไทยทั้งหมด งานที่ เกี่ยวกับรัฐ-ชาติไทยไม่ว่าของนิธิ เอียวศรีวงศ์ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ธงชัย วินิจจะกูล เกษียร เตชะพีระ ล้วนได้รับอิทธิพลหรืออยู่ในกรอบครรลองมุมมองแนวคิดของงานแม่บท ของอาจารย์เบน แอนเดอร์สัน แทบทั้งสิ้น
อาจารย์รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ เคยบอกว่า ภาษาอังกฤษของอาจารย์เบนเป็นภาษาที่อ่านยาก ส่วนอาจารย์นิธิบอกว่า ภาษาอังกฤษของอาจารย์เบนยากที่จะแปลเป็นภาษาไทยต่างหาก
ปัจจุบันอาจารย์เบนบินข้ามไปข้ามมา ระหว่างยุโรปกับเอเชีย เพื่อไปบรรยายตามงานต่างๆ มากมาย
เมื่อเร็วๆ นี้อาจารย์เบนบินลัดฟ้ามาเมืองไทยเพื่อเป็นแขกรับเชิญของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (สบร.) ให้มาพูดในหัวข้อเรื่อง "ศิลปะแห่งการคอร์รัปชั่น" (The Art of Corruption)
"เบน" กล่าวว่า ความคิดว่าด้วยการคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการขยายตัว ของอารยธรรมกระฎุมพีหรือชนชั้นนายทุน ซึ่งหมายความว่าเมื่อมองกลับไปภายในยุคสมัยของวัฒนธรรมศักดินา (หมายถึงสมัยที่ใช้พื้นที่กรรมสิทธิ์ในการกำหนดยศถาบรรดาศักดิ์ในยุโรป ซึ่งเริ่มมีครั้งแรกในศตวรรษที่ 11) นับว่าความหมายของคำว่า คอร์รัปชั่นที่เราใช้ในปัจจุบัน อาจจะดูแปลกไปสำหรับยุคนั้น
"เบน" มองว่ายุคสมัยที่ความหมายของคอร์รัปชั่นเป็นเช่นตอนนี้ วัฒนธรรมนายทุน มันมีทั้งมติมหาชนและสื่อมวลชน และที่สำคัญ คือ ในหนังสือพิมพ์มีการ์ตูนการเมืองซึ่งมีบทบาทสำคัญตัวหนึ่งที่สะท้อนวัฒนธรรมนายทุนที่จะ วิพากษ์วิจารณ์ผู้ปกครองในเรื่องการคอร์รัปชั่น ในกรณีหนังสือพิมพ์ของลอนดอนก็มี Rolandson ส่วนปารีสก็มี Daumier และของเบอร์ลินก็มี Grosz เป็นผู้วาดการ์ตูนการเมือง
ในสังคมนายทุน ความขี้เกียจและการต้องการทางลัดทำให้เกิดการคอร์รัปชั่นอย่างหนึ่งในลักษณะที่ว่าไม่อยากทำงาน แต่อยากได้สถานะทางสังคม อยากได้เงินเดือน และอยากมีความ ยิ่งใหญ่ในการงาน เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าเราจะขยันขันแข็งไปทำไมก็ในเมื่อเราสามารถ เล่นหุ้นกันได้อย่างสบายๆ เพราะเพื่อนเราเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือถ้าอยากได้อะไรง่ายๆ ก็เพียงจ่ายค่าคอมมิสชั่น
เมื่อเวลาผ่านไปการคอร์รัปชั่นมันไม่ได้จำกัดพื้นที่อยู่เฉพาะพื้นที่ทางการเมือง แต่ออกไปสู่สังคมที่กว้างกว่านั้น อย่างเช่น สังคมศิลปะ ศิลปินในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นเรื่องที่ฉาวโฉ่มากว่าการคอร์รัปชั่นในวงการทำให้ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม นักแสดงยอดเยี่ยมฝ่ายหญิงฝ่ายชาย ซึ่งการคอร์รัปชั่นในฟิลิปปินส์นี้เกิดจากความ ขี้เกียจของคนเหล่านี้ เพราะไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องทำงานหนัง ต้องถ่ายหนังให้ดี กำกับฯหนังให้ดี เพราะว่ายังไงก็ตามเพื่อนของเราเป็นกรรมการอยู่ในนั้น ในอินโดนีเซียก็เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดารางวัลวรรณกรรมทั้งหลายที่มาจากเส้นสายหรือเพื่อนฝูง
สิ่งสำคัญที่การคอร์รัปชั่นเข้าสู่วงการศิลปะ ก็เพราะว่ามันมีเรื่องของเงินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยสูง ทั้งการประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรม หรือ เรื่องอื่นๆ เมื่อมีเงินเข้ามาเกี่ยวข้องมันก็จะเกิดการคอร์รัปชั่นกันขึ้นมา
"เบน" มองว่าปัจจุบันการคอร์รัปชั่นได้แทรกซึมเข้าไปในวงกว้างของสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะในระดับชนชั้นกลางมันจะมีรูปแบบการคอร์รัปชั่นของชนชั้นกลาง ซึ่งชนชั้นกลางเหล่านี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ใครๆ เขาก็ทำกันอย่างเช่น คุณย่า คุณยาย ของเราไม่สบายต้องไป โรงพยาบาลดีๆ ลูกของฉันถึงไม่ฉลาดแต่ก็ควร เข้าโรงเรียนดีๆ หรือจ่ายเงินให้กับตำรวจจราจร เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดในการขับรถด้วยความคิด ในแบบที่ว่า "ใครๆ เขาก็ทำกัน"
ส่วนฝ่ายที่คอร์รัปชั่นนั้นอาจจะไม่ได้ตั้งใจจะคอร์รัปชั่นตั้งแต่แรกอย่างเช่น ตำรวจชั้นผู้น้อยที่ตั้งใจจะทำงานด้วยความซื่อสัตย์ แต่อาจจะโดนลงโทษอย่างไม่รู้ตัวโดยผู้บังคับบัญชาถ้าพวกเขา ไม่รับส่วยบนถนนเพื่อส่งให้ผู้บังคับบัญชาหรือไม่ ก็โดนต่อต้านจากเพื่อนฝูงซึ่งนั่นอาจจะเป็นสาเหตุ ที่ทำให้เขาเลือกที่จะคอร์รัปชั่น
"ถ้าการคอร์รัปชั่นสามารถที่จะจินตนาการว่าเป็นพระเจ้า มันคงจะจินตนาการได้ไม่ยากนัก งานของพระเจ้าองค์นี้คงจะส่งเสริมชีวิตสำหรับคนที่ไม่มีเวลามากพอและคิดว่าใครเขาก็ทำกัน ซึ่งมันอาจจะทำให้คุณยายของเรามีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงบั้นปลายชีวิต บรรดาลูกๆ แม้จะไม่ฉลาดนักแต่ก็สามารถที่จะอยู่บ้านอย่างสบายโดยที่ไม่ต้องเรียนในมหาวิทยาลัย"
แต่สำหรับคนยากจน ขอทาน โสเภณี คนว่างงาน คนติดยา จะดูเป็นเรื่องสกปรกในเมืองใหญ่ไปเลย ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าถ้านักแสดง สาวเซ็กซี่สักคนจะได้รับรางวัลจากการแสดงจะไม่ใช่เรื่องน่าแปลกแต่อย่างใด โดยที่เธอมีดีเพียงแค่ความเซ็กซี่ แต่การแสดงไม่เอาอ่าว ก็ใครจะ ไปดูหนังเพื่อชมเฉพาะการแสดงของเธอกันล่ะ
หมายความว่าถ้าสังคมนั้นเต็มไปด้วยการคอร์รัปชั่น เรื่องความขยันหรือฝีมือไม่ใช่เรื่อง ที่จะต้องพูดถึงอีกต่อไป ก็ในเมื่อพระเจ้าที่ชื่อ "คอร์รัปชั่น" พร้อมที่จะช่วยเหลือชนชั้นกลางให้ได้อะไรง่ายๆ ตลอดเวลา ซึ่งในขณะเดียวกันกลไกนี้ก็จะทำให้กลุ่มคนที่เข้าถึงทรัพยากรได้ยากอย่างคนชายขอบที่ยกตัวอย่างในข้างต้นดูจะมีความเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ ในสายตาของชนชั้นกลางซึ่งเป็นชนชั้นที่ "พระเจ้า" เรียกว่าการคอร์รัปชั่นดูแลอยู่
"เบน" ตั้งข้อสังเกตทิ้งท้ายว่า คนอินโดนีเซียกับคนไทยคล้ายกันอย่างหนึ่ง ชอบใช้คำว่าขี้เกียจอยู่บ่อยๆ เช่น ขี้เกียจไปทำงาน ขี้เกียจไปงานปาร์ตี้ เช่น คนไทยจะพูดว่า "กูขี้เกียจไปงานศพ ให้เมียกูไปแทนดีกว่า"
หรือผมขี้เกียจไปเยี่ยมคุณลุงที่โรงพยาบาล รถอาจติดเป็นบ้า "น่าแปลกใจว่าภาษาไทยกับภาษาอินโดนีเซียมันไม่เกี่ยวกันเลย คนละตระกูลภาษาแต่ทำไมการแสดงออกมามันช่างเหมือนกันเหลือเกิน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น