ลัทธิไซออนิสต์เกิดขึ้นในยุโรป มีรากฐานแบบยุโรป ผสมผสานความคิดทฤษฎีหลายประการของยุโรปเข้าด้วยกัน
ในช่วงแห่งการกำเนิดและวางรากฐานนี้ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในยุโรปและดุลอำนาจโลก ซึ่งมีผลกระทบต่อลัทธิ ไซออนิสม์อย่างสูง การเปลี่ยนแปลงใหญ่ การปฏิวัติระบบทุนในฝรั่งเศส การปฏิวัติสังคมนิยมในสหภาพโซเวียต การล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมัน การเกิดขึ้นของลัทธินาซีและฟาสซิสต์ในยุโรป สงครามโลก 2 ครั้ง กระแสต่อต้านชาวยิว (Anti-semitism) การฆ่าล้างเผ่าชาวยิว (Holocaust) ซึ่งได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือสำคัญของลัทธิไซออนิสม์ บริบทดังกล่าวขยายความได้ดังนี้
1) การปฏิวัติฝรั่งเศส นโปเลียนและการปลดปล่อยชาวยิว
การปฏิวัติฝรั่งเศส (ค.ศ. 1987) หรือการปฏิวัติทุนนิยม ล้มระบบฟิวดัลและสถาปนาระบบทุนนิยม ได้ก่อผลสะเทือนอย่างสูงในยุโรป รวมทั้งชาวยิวในยุโรปที่เป็นแกนกลางของลัทธิไซออนิสม์และการปลดปล่อยชาวยิว การปฏิวัตินี้ได้สร้างบรรยากาศเสรีประชาธิปไตย ภายใต้คำขวัญ “เสรีภาพ ภราดรภาพ และเสมอภาค” ขึ้น
นโปเลียน (Napoleon Bonaparte ค.ศ. 1769-1821) เป็นนายพลคนสำคัญของกองกำลังปฏิวัติ ต่อมาได้ขึ้นเป็นผู้ปกครองและเป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1799 และสร้างจักรวรรดิฝรั่งเศสขึ้นแข่งกับจักรวรรดิอังกฤษ ในช่วงสงครามนโปเลียน (ค.ศ. 1804-1815) ฝรั่งเศสได้เข้าครอบครองดินแดนผืนใหญ่ในยุโรป ได้แก่ อิตาลี สหพันธรัฐไรน์ ซึ่งรวมส่วนหนึ่งของออสเตรีย เยอรมนี และสเปน เป็นต้น พระเจ้านโปเลียนได้ดำเนินการหลายประการตามอุดมการณ์ประชาธิปไตย 3 ประการดังกล่าว รวมทั้งหลักการปกครองของกฎหมาย ได้ดำเนินการปฏิรูประบบกฎหมาย สร้างประมวลกฎหมายขึ้น ประกันเสรีภาพของพลเมือง เป็นต้น ดังประมวลกฎหมาย ค.ศ. 1804 ได้ให้ เสรีภาพในทางศาสนาแก่พลเมืองทุกคน และที่กล่าวถึงกันมาก ได้แก่ ใน ค.ศ. 1806 และ 1807 พระเจ้านโปเลียนได้รื้อฟื้นระบบสภาศาลสูงสุดของชาวยิวที่เลิกปฏิบัติมานานนับตั้งแต่ ค.ศ. 358 (The Great Sanhedrin) นอกจากนี้ นโปเลียนยังได้มีแนวคิดที่จะให้ชาวยิวตั้งรัฐของตนในดินแดนปาเลสไตน์ แต่จดหมายถึงชาวยิวนี้ไม่ได้ประกาศออกไป และอังกฤษได้ขับฝรั่งเศสออกไปจากบริเวณตะวันออกกลาง ในการดำเนินการดังกล่าวมีส่วนในการปลดปล่อยชาวยิวในยุโรปตะวันตกด้วย
การปลดปล่อยชาวยิว เป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้วที่ชาวยิวถูกกีดกันทั้งทางเศรษฐกิจ-การเมือง-สังคม เป็นพลเมืองชั้นสองที่ถูกบังคับให้อยู่อาศัยในย่านคนยิว (Ghetto) แต่หลังจากยุคนโปเลียนแล้วกำแพงแห่งย่านคนยิวถูกทำลาย ชาวยิวในยุโรปตะวันตกมีเสรีภาพที่จะอยู่ในสังคมยุโรปได้เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของชุมชนชาวยิว อันมีผลทั้งด้านบวกและด้านลบ ด้านบวก ได้แก่ ชาวยิวได้มั่งคั่งขึ้น และมีบทบาทอิทธิพลในสังคมยุโรปมากขึ้น ด้านลบ ได้แก่ ชาวยิวจำนวนไม่น้อยเคร่งศาสนาลดลง กลายเป็นอยู่กับกระแสโลก กลมกลืนกระทั่งหันไปเข้ารีตทางคริสต์
ยังไม่มีการประเมินผลกระทบจริงจัง จากบทบาทของพระเจ้านโปเลียนต่อขบวนการปลดปล่อยชาวยิว ในที่นี้พอสรุปได้ว่า การดำเนินงานของพระองค์มีส่วนช่วยทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพชาวยิวในระดับที่แน่นอน
2) สถานการณ์รัสเซียสมัยพระเจ้าซาร์ และการปฏิวัติสังคมนิยมใน ค.ศ. 1917
สถานการณ์ดังกล่าวมีผลสะเทือนต่อขบวนการไซออนิสม์ค่อนข้างสูงใน 2 ด้านด้วยกัน ได้แก่
ก) การเกิดอพยพชาวยิวไปตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์เป็นครั้งแรก ทั้งนี้สืบเนื่องจากการมีชาวยิวจำนวนมากพำนักอาศัยอยู่ในรัสเซียที่อยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าซาร์ ชาวยิวเหล่านี้มักเป็นผู้รู้หนังสือ เป็นพ่อค้าวาณิชและผู้ให้กู้เงินรายย่อย แต่ถูกกดขี่เป็นคนชั้นสอง ต้องแยกมาอยู่เป็นกลุ่มก้อนต่างหาก จำนวนไม่น้อยยากจน เป็นพื้นฐานที่เหมาะแก่การรับแนวความคิดสังคมนิยมที่กำลังแพร่หลายอยู่ในขณะนั้น และเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวที่สำคัญกลุ่มหนึ่ง ทำให้พระเจ้าซาร์หวาดระแวง และสร้างกระแสต่อต้านชาวยิวขึ้น เช่น การสร้างเอกสารเท็จว่าชาวยิวต้องการจะครองโลกด้วยการแบ่งแยกและทำลาย กระแสการต่อต้านชาวยิวในรัสเซียนี้รุนแรงจนชาวยิวจำนวนมากต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างแดน ได้แก่ ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ประมาณว่าระหว่าง ค.ศ. 1881-1915 ชาวยิวราว 3.5 ล้านคน อพยพจากเมืองเกิดในรัสเซียไปหาที่อยู่ใหม่ โดยไปที่สหรัฐราว 2 ล้านคน ไปยังยุโรปตะวันตก และที่ไปตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์ราว 2.5 หมื่นคน ถือเป็นการอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานของชาวยิวในปาเลสไตน์ครั้งแรก (First Aliyah) ใน ค.ศ. 1881 ต่อมามีการอพยพชาวยิวจากยุโรปตะวันออกไปตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์อีกหลายครั้งระหว่าง ค.ศ. 1904-1929
ข) การทำให้แนวคิดแบบสังคมนิยมเข้าไปอยู่ในหมู่ชาวยิว เกิดลัทธิไซออนิสต์แบบสังคมนิยม (Socialist Zionism ซึ่งนิยมเรียกว่า Worker Zionism) อนึ่ง เป็นที่สังเกตว่าพรรคบอลเชวิกที่นำการปฏิวัติสังคมนิยมในรัสเซียนั้น มีสมาชิกชั้นนำเป็นคนเชื้อสายยิวจำนวนไม่น้อย นอกจากนี้ยังมีคนเชื้อสายยิวที่เป็นนักทฤษฎีและนักปฏิวัติสังคมนิยมที่โดดเด่นมาก เช่น คาร์ล มาร์กซ์ ผู้ได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งสังคมนิยมสมัยใหม่” ลีออน ทรอต สกี (ค.ศ. 1879-1940) นักปฏิวัติสำคัญของรัสเซียรองจากเลนิน โรซา ลุกเซมเบิร์ก สตรีนักปฏิวัติชาวโปแลนด์ (ค.ศ. 1871-1919) จนเกิดการสร้างภาพขึ้นว่าชาวยิวคิดลัทธิสังคมนิยม-คอมมิวนิสต์เพื่อครองโลก และผูกโยงขบวนการไซออนิสม์เข้ากับลัทธิคอมมิวนิสต์ การสร้างกระแสนี้หนักหน่วงในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันเห็นได้ว่าเป็นการวาดภาพและสร้างกระแสที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะอิสราเอลปัจจุบันเดินหนทางเสรีนิยมใหม่ หากย้อนไปถึงมาร์กซ์ ก็พบว่ามาร์กซ์เองเห็นว่าการปลดปล่อยทางสังคมของชาวยิวนั้นคือการปลดปล่อยสังคมยิวออกจากศาสนายูดาห์ ขณะที่ขบวนการ ไซออนิสม์นั้นนำเอาศาสนายูดาห์เป็นส่วนสำคัญของการเคลื่อนไหว
รายงานโดย :บริบท
ในช่วงแห่งการกำเนิดและวางรากฐานนี้ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในยุโรปและดุลอำนาจโลก ซึ่งมีผลกระทบต่อลัทธิ ไซออนิสม์อย่างสูง การเปลี่ยนแปลงใหญ่ การปฏิวัติระบบทุนในฝรั่งเศส การปฏิวัติสังคมนิยมในสหภาพโซเวียต การล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมัน การเกิดขึ้นของลัทธินาซีและฟาสซิสต์ในยุโรป สงครามโลก 2 ครั้ง กระแสต่อต้านชาวยิว (Anti-semitism) การฆ่าล้างเผ่าชาวยิว (Holocaust) ซึ่งได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือสำคัญของลัทธิไซออนิสม์ บริบทดังกล่าวขยายความได้ดังนี้
1) การปฏิวัติฝรั่งเศส นโปเลียนและการปลดปล่อยชาวยิว
การปฏิวัติฝรั่งเศส (ค.ศ. 1987) หรือการปฏิวัติทุนนิยม ล้มระบบฟิวดัลและสถาปนาระบบทุนนิยม ได้ก่อผลสะเทือนอย่างสูงในยุโรป รวมทั้งชาวยิวในยุโรปที่เป็นแกนกลางของลัทธิไซออนิสม์และการปลดปล่อยชาวยิว การปฏิวัตินี้ได้สร้างบรรยากาศเสรีประชาธิปไตย ภายใต้คำขวัญ “เสรีภาพ ภราดรภาพ และเสมอภาค” ขึ้น
นโปเลียน (Napoleon Bonaparte ค.ศ. 1769-1821) เป็นนายพลคนสำคัญของกองกำลังปฏิวัติ ต่อมาได้ขึ้นเป็นผู้ปกครองและเป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1799 และสร้างจักรวรรดิฝรั่งเศสขึ้นแข่งกับจักรวรรดิอังกฤษ ในช่วงสงครามนโปเลียน (ค.ศ. 1804-1815) ฝรั่งเศสได้เข้าครอบครองดินแดนผืนใหญ่ในยุโรป ได้แก่ อิตาลี สหพันธรัฐไรน์ ซึ่งรวมส่วนหนึ่งของออสเตรีย เยอรมนี และสเปน เป็นต้น พระเจ้านโปเลียนได้ดำเนินการหลายประการตามอุดมการณ์ประชาธิปไตย 3 ประการดังกล่าว รวมทั้งหลักการปกครองของกฎหมาย ได้ดำเนินการปฏิรูประบบกฎหมาย สร้างประมวลกฎหมายขึ้น ประกันเสรีภาพของพลเมือง เป็นต้น ดังประมวลกฎหมาย ค.ศ. 1804 ได้ให้ เสรีภาพในทางศาสนาแก่พลเมืองทุกคน และที่กล่าวถึงกันมาก ได้แก่ ใน ค.ศ. 1806 และ 1807 พระเจ้านโปเลียนได้รื้อฟื้นระบบสภาศาลสูงสุดของชาวยิวที่เลิกปฏิบัติมานานนับตั้งแต่ ค.ศ. 358 (The Great Sanhedrin) นอกจากนี้ นโปเลียนยังได้มีแนวคิดที่จะให้ชาวยิวตั้งรัฐของตนในดินแดนปาเลสไตน์ แต่จดหมายถึงชาวยิวนี้ไม่ได้ประกาศออกไป และอังกฤษได้ขับฝรั่งเศสออกไปจากบริเวณตะวันออกกลาง ในการดำเนินการดังกล่าวมีส่วนในการปลดปล่อยชาวยิวในยุโรปตะวันตกด้วย
การปลดปล่อยชาวยิว เป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้วที่ชาวยิวถูกกีดกันทั้งทางเศรษฐกิจ-การเมือง-สังคม เป็นพลเมืองชั้นสองที่ถูกบังคับให้อยู่อาศัยในย่านคนยิว (Ghetto) แต่หลังจากยุคนโปเลียนแล้วกำแพงแห่งย่านคนยิวถูกทำลาย ชาวยิวในยุโรปตะวันตกมีเสรีภาพที่จะอยู่ในสังคมยุโรปได้เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของชุมชนชาวยิว อันมีผลทั้งด้านบวกและด้านลบ ด้านบวก ได้แก่ ชาวยิวได้มั่งคั่งขึ้น และมีบทบาทอิทธิพลในสังคมยุโรปมากขึ้น ด้านลบ ได้แก่ ชาวยิวจำนวนไม่น้อยเคร่งศาสนาลดลง กลายเป็นอยู่กับกระแสโลก กลมกลืนกระทั่งหันไปเข้ารีตทางคริสต์
ยังไม่มีการประเมินผลกระทบจริงจัง จากบทบาทของพระเจ้านโปเลียนต่อขบวนการปลดปล่อยชาวยิว ในที่นี้พอสรุปได้ว่า การดำเนินงานของพระองค์มีส่วนช่วยทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพชาวยิวในระดับที่แน่นอน
2) สถานการณ์รัสเซียสมัยพระเจ้าซาร์ และการปฏิวัติสังคมนิยมใน ค.ศ. 1917
สถานการณ์ดังกล่าวมีผลสะเทือนต่อขบวนการไซออนิสม์ค่อนข้างสูงใน 2 ด้านด้วยกัน ได้แก่
ก) การเกิดอพยพชาวยิวไปตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์เป็นครั้งแรก ทั้งนี้สืบเนื่องจากการมีชาวยิวจำนวนมากพำนักอาศัยอยู่ในรัสเซียที่อยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าซาร์ ชาวยิวเหล่านี้มักเป็นผู้รู้หนังสือ เป็นพ่อค้าวาณิชและผู้ให้กู้เงินรายย่อย แต่ถูกกดขี่เป็นคนชั้นสอง ต้องแยกมาอยู่เป็นกลุ่มก้อนต่างหาก จำนวนไม่น้อยยากจน เป็นพื้นฐานที่เหมาะแก่การรับแนวความคิดสังคมนิยมที่กำลังแพร่หลายอยู่ในขณะนั้น และเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวที่สำคัญกลุ่มหนึ่ง ทำให้พระเจ้าซาร์หวาดระแวง และสร้างกระแสต่อต้านชาวยิวขึ้น เช่น การสร้างเอกสารเท็จว่าชาวยิวต้องการจะครองโลกด้วยการแบ่งแยกและทำลาย กระแสการต่อต้านชาวยิวในรัสเซียนี้รุนแรงจนชาวยิวจำนวนมากต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างแดน ได้แก่ ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ประมาณว่าระหว่าง ค.ศ. 1881-1915 ชาวยิวราว 3.5 ล้านคน อพยพจากเมืองเกิดในรัสเซียไปหาที่อยู่ใหม่ โดยไปที่สหรัฐราว 2 ล้านคน ไปยังยุโรปตะวันตก และที่ไปตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์ราว 2.5 หมื่นคน ถือเป็นการอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานของชาวยิวในปาเลสไตน์ครั้งแรก (First Aliyah) ใน ค.ศ. 1881 ต่อมามีการอพยพชาวยิวจากยุโรปตะวันออกไปตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์อีกหลายครั้งระหว่าง ค.ศ. 1904-1929
ข) การทำให้แนวคิดแบบสังคมนิยมเข้าไปอยู่ในหมู่ชาวยิว เกิดลัทธิไซออนิสต์แบบสังคมนิยม (Socialist Zionism ซึ่งนิยมเรียกว่า Worker Zionism) อนึ่ง เป็นที่สังเกตว่าพรรคบอลเชวิกที่นำการปฏิวัติสังคมนิยมในรัสเซียนั้น มีสมาชิกชั้นนำเป็นคนเชื้อสายยิวจำนวนไม่น้อย นอกจากนี้ยังมีคนเชื้อสายยิวที่เป็นนักทฤษฎีและนักปฏิวัติสังคมนิยมที่โดดเด่นมาก เช่น คาร์ล มาร์กซ์ ผู้ได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งสังคมนิยมสมัยใหม่” ลีออน ทรอต สกี (ค.ศ. 1879-1940) นักปฏิวัติสำคัญของรัสเซียรองจากเลนิน โรซา ลุกเซมเบิร์ก สตรีนักปฏิวัติชาวโปแลนด์ (ค.ศ. 1871-1919) จนเกิดการสร้างภาพขึ้นว่าชาวยิวคิดลัทธิสังคมนิยม-คอมมิวนิสต์เพื่อครองโลก และผูกโยงขบวนการไซออนิสม์เข้ากับลัทธิคอมมิวนิสต์ การสร้างกระแสนี้หนักหน่วงในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันเห็นได้ว่าเป็นการวาดภาพและสร้างกระแสที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะอิสราเอลปัจจุบันเดินหนทางเสรีนิยมใหม่ หากย้อนไปถึงมาร์กซ์ ก็พบว่ามาร์กซ์เองเห็นว่าการปลดปล่อยทางสังคมของชาวยิวนั้นคือการปลดปล่อยสังคมยิวออกจากศาสนายูดาห์ ขณะที่ขบวนการ ไซออนิสม์นั้นนำเอาศาสนายูดาห์เป็นส่วนสำคัญของการเคลื่อนไหว
รายงานโดย :บริบท
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น