อำนาจกับการขบถ
เรื่อง : ธงชัย วินิจจะกูล
ถ้าหากงาน ‘คลาสสิค’ หมายถึงผลงานซึ่งเป็นที่รู้จัก มีคนนิยม หรือทรงอิทธิพลข้ามยุคสมัย บางกรณีข้ามวัฒนธรรมด้วยซ้ำไป ถ้าเช่นนั้น หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ประสบปัจจัยหลายอย่าง (รวมทั้งคุณสมบัติบางประการของงานชิ้นนี้เองด้วย) ที่ฉุดรั้งบั่นทอนชีวิตของผลงานชิ้นนี้ให้สั้นลง และแคบเข้า หรือลดทอนคุณค่าความสำคัญลงไป
กระนั้นก็ตาม หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ยังคงเป็นนิยายที่มีคนรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่งในโลกภาษาอังกฤษ ยังเป็นวรรณกรรมที่อ่านกันตามหลักสูตรของโรงเรียนมัธยมจนถึงมหาวิทยาลัยจำนวนมาก ยังได้รับการตีพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก และยังคงมีบทความ หนังสือ และงานวิจัยเกี่ยวกับหนังสือนี้ตีพิมพ์ออกมาจนทุกวันนี้
หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ก่อนและหลัง 1984
หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ต่างจากผลงานอมตะโดยทั่วไปตรงนี้แหละ กล่าวคือ ในขณะที่ผลงานอมตะส่วนใหญ่ได้รับการต้อนรับข้ามเวลา ข้ามวัฒนธรรม เพราะสามารถสื่อสารถึงลักษณะทั่วไปของมนุษย์ ซึ่งไม่ว่าเมื่อไรก็ย่อมยินดีเสพอาหาร สมอง / วิญญาณมนุษย์ดังกล่าว แต่ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ กลับเสนอด้านลบของสังคมและปัจเจกบุคคล จนหลายแห่งปฏิเสธว่าตนมิได้มีคุณลักษณะอย่างที่ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ กล่าวไว้ แต่ว่ากลับชี้นิ้วไปยังศัตรู คู่ต่อสู้หรือสังคมอื่นว่าเป็นอย่างที่ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ กล่าวไว้ คงมีแต่พวกขบถ หรือพวกแหกคอกในสังคมหนึ่งๆ เท่านั้นที่ยอมรับว่าสังคมของตนเองเป็นอย่างที่ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ว่าไว้เป๊ะเลย หนังสือเล่มนี้ยืนยงมาจนทุกวันนี้เพราะเป็นตัวแบบด้านลบของสังคมทุกแห่ง เป็น ‘ปิศาจ’ ที่คอยหลอกหลอนทุกแห่งตลอดมาว่าใช่เลย ตนเองเป็นอย่างนั้น เป็นมานานแล้ว
มีผู้ประกาศให้ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ จบชีวิตหมดความสำคัญไร้ความหมายมาแล้วหลายครั้ง แต่จนแล้วจนรอดปิศาจตนนี้ยังคงหลอกหลอนเราอยู่จนทุกวันนี้ และดูเหมือนว่าจะยังคงอยู่กับสังคมสมัยใหม่ไปอีกนาน ตั้งแต่แรกหนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ในปี 1949 สงครามเย็น (cold war) และการแบ่งเป็นค่ายโลกเสรีกับค่ายคอมมิวนิสต์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ความเกลียดกลัว คอมมิวนิสต์เข้มข้นขึ้นพอๆ กับกระแสต่อต้านโลกทุนนิยม ฝ่ายโลกเสรีโฆษณาว่า หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ เตือนให้เห็นถึงนรกของสังคมแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ (totalitarianism) ซึ่งกำลังเกิดขึ้นในสังคมคอมมิวนิสต์อย่างสหภาพโซเวียตยุคสตาลิน และจะขยายตัวพร้อมกับอิทธิพลของฝ่ายคอมมิวนิสต์ ในทางกลับกัน ปัญญาชนจำนวนไม่น้อยออกมาต่อต้านโฆษณาชวนเชื่อดังกล่าว โดยย้อนกลับว่า หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ เสนอภาพอันตรายของสังคมทุนนิยมสมัยใหม่ที่อำนาจของเทคโนโลยีพัฒนาจนเกิดเทคโนโลยีแห่งอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้วในกรณีลัทธิฟาสซิสม์ของโลกทุนนิยม
ตั้งแต่แรกเริ่ม หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ อิงประวัติศาสตร์และภูมิหลังที่เป็นจริงมากเกินไป หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นนิยายแห่งอนาคตที่ “too historical” คือแทนที่จะพูดถึงมนุษย์และสังคมอย่างข้ามกาลเวลาอย่างอมตะนิยายอื่นๆ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ กลับมีนัยประวัติศาสตร์มากไป ตั้งแต่ชื่อของมันที่บ่งบอกหลักหมายทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนแน่นอนเกินไป ภูมิหลังของหนังสือผูกพันกับสงคราม 2 ค่าย ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และสาระสำคัญของหนังสือสะท้อนความกังวลต่อโลกยุคหลังสงครามอย่างชัดเจน
หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ จึงถูกใช้เป็นอาวุธของฝ่ายหนึ่งเพื่อชี้ให้เห็นความเลวของอีกฝ่าย ปัญญาชนขบถของโลกเสรีใช้เปรียบเทียบให้เห็นการผูกขาดข่าวสารอย่างซับซ้อนแนบเนียนของทุนมหึมาทั้งหลาย หรือให้เห็นการครอบงำเบ็ดเสร็จในโลกทุนนิยมสมัยหลังๆ แต่แนบเนียนยิ่งกว่า หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ส่วนปัญญาชนขบถของโลกสังคมนิยมในยุโรปตะวันออกถือว่า หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ บอกกล่าวล่วงหน้าถึงอันตรายของเทคโนโลยีในมือของเผด็จการโดยพรรค
ณ ปี 1984 ขณะที่การประจันหน้าของ 2 ค่ายอยู่ในภาวะตึงเครียดมาก ถึงจุดที่แต่ละฝ่ายอาจกดปุ่มส่งอาวุธนิวเคลียร์ไปทำลายค่ายตรงข้าม ณ นาทีใดนาทีหนึ่ง หนังสือเล่มนี้ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาอย่างกว้างขวาง แต่นอกจากจะเป็นเครื่องมือให้กับการโฆษณาชวนเชื่อของโลกเสรีแล้ว ปัญญาชนทั้งขบถไม่ขบถทั้งหลายในโลกภาษาอังกฤษซึ่งมีผู้อ่านกว้างขวางกว่าหันมาพิจารณามุมอื่นๆ ของหนังสือมากขึ้น ที่สำคัญได้แก่ คำถามว่าจริงหรือที่เทคโนโลยีเป็นปัจจัยก่อให้เกิดอำนาจเบ็ดเสร็จอย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ หรือในทางกลับกัน อำนาจเบ็ดเสร็จจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงหรือไม่ ดูตัวอย่างสังคมปิดเทคโนโลยีต่ำ แต่เผด็จการเบ็ดเสร็จอย่าง พม่า เกาหลีเหนือ หรือกัมพูชายุคเขมรแดงเป็นต้น การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเป็นอันตรายต่อสังคมสมัยใหม่จริงหรือ มีปัจจัยอะไรอื่นอีกไหมที่จะป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเช่นนั้นได้
และประเด็นอื่นๆ อีกมาก
หลายคนเห็นว่า หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ หมดความหมายลงในปี 1984 นั่นเอง เพราะสังคมเผด็จการเบ็ดเสร็จด้วยอำนาจเทคโนโลยีไม่ได้เกิดขึ้นในขอบเขตทั่วโลกอย่างที่ออร์เวลล์ได้พยากรณ์ไว้ ไม่กี่ปีต่อมาเมื่อค่ายสังคมนิยมพังทลายลงทั่วยุโรปตะวันออกแม้แต่ในสหภาพโซเวียตเอง ส่วนจีนกำลังเร่งปรับตัวสู่ทุนนิยมสมัยใหม่เร็วยิ่งกว่าหลายประเทศในค่ายโลกเสรี ภาวะเช่นนี้ทำให้มีผู้ออกมาประกาศว่า หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ หมดความหมายเสียแล้ว เพราะความจริงปรากฏตำตาเราว่า ยิ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่และทุนนิยมพัฒนาขึ้นทั่วทั้งโลก กลับยิ่งเอื้ออำนวยต่อเสรีภาพ และประชาธิปไตยจนแผ่กว้างอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ถึงขนาดที่นักวิชาการออกมาประกาศว่า ประวัติศาสตร์สิ้นสุดลงแล้ว ในแง่ที่เป็นการประกาศชัยชนะของทุนนิยมเสรี
สำหรับอีกหลายคนทศวรรษ 1990 ยิ่งพิสูจน์ว่าเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต เป็นเครื่องมือปลดปล่อยปัจเจกชนและเปิดโอกาสให้ชนกลุ่มน้อยในทุกสังคมทั่วโลกสามารถสร้างพื้นที่ของตนได้ มีช่องทางดำรงอยู่ได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องพึ่งทุนนิยมขนาดใหญ่ ไม่ต้องเข้าไปอิงแอบเป็นติ่งขององค์กรหรือพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ปัจเจกชนและเสียงข้างน้อยเหล่านี้สามารถมีส่วนร่วมทางการเมือง ทั้งหนุนและบ่อนทำลายอำนาจได้ง่ายขึ้น ส่งผลกระทบกว้างขวางขึ้นกว่ายุคก่อนคอมพิวเตอร์และก่อนอินเตอร์เน็ต
เทคโนโลยีขั้นสูงในระยะหลังมานี้ เป็นเครื่องมือเพื่อต่อสู้กับอำนาจ ไม่ใช่เครื่องมือของอำนาจแต่ฝ่ายเดียวอีกต่อไป ออร์เวลล์ผิด พยากรณ์ผิด เข้าใจเทคโนโลยีกับอำนาจอย่างผิดๆ
แต่จนแล้วจนรอด ผู้คนยังคงอ่าน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ มากมายอยู่เช่นเคย หนังสือเกี่ยวกับ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ล่าสุดเล่มหนึ่งถึงกับเสนอว่า หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ช่างเหมาะกับโลกยุคหลังเหตุการณ์ 9/11 มากกว่าโลกในปี 1984 เสียอีก
หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ โดนจับใส่บริบททางประวัติศาสตร์อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าในปี 1949 หรือตลอดยุคสงครามเย็น หรือในปี 1984 หรือหลังสงครามเย็นสิ้นสุดลงและหลังจากนั้น การอ่าน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ให้เข้ากับบริบททางประวัติ-ศาสตร์เป็นการจับ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ให้หยุดนิ่ง ทำให้ความหมายของหนังสือสิ้นสุดลงเพราะตายตัว แต่ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ สามารถหลุดรอดออกนอกบริบทประวัติศาสตร์ได้สำเร็จเรื่อยมา ชีวิตของ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ จึงดำเนินต่อ มาไกลเกินกว่าที่ออร์เวลล์จะคาดคิดได้
จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) นามปากกาของ เอริก อาร์เทอร์ แบลร์ (Eric Arthur Blair) นักเขียนชาวอังกฤษ (25 มิถุนายน พ.ศ. 2446 - 21 มกราคม พ.ศ. 2493)
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
คำตอบ: แม้ว่า หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ จะเป็นวรรณกรรมว่าด้วยการเมืองและอำนาจที่สามารถถูกจับผิดใส่บริบทต่างๆ กันได้อยู่เรื่อย แต่เอาเข้าจริงประเด็นเรื่องการเมืองและอำนาจอย่างที่ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ เสนอกลับเป็นปัญหาที่ยังคงเกิดขึ้นอยู่เรื่อยในรูปการต่างๆ กันในการเมืองสมัยใหม่หลายแห่งในโลกตราบจนทุกวันนี้
สังคมแบบ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่
หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ เป็นวรรณกรรมประเภท dystopia บางที่เรียกว่า negative utopia หมายถึงตรงข้ามกับสังคมอุดมคติ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ เป็นเรื่องของสังคมเผด็จการเบ็ด เสร็จโดยผู้ปกครองกลุ่มเล็กๆ ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นใคร มีอำนาจล้นฟ้าเด็ดขาดอย่างสัมบูรณ์ในการควบคุมบงการประชาชนทั้งสังคม ออร์เวลล์สร้างภาพว่าสังคม หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (โอชันเนีย) ทำเช่นนี้ได้เพราะเทคโนโลยีขั้นสูงอยู่ในมือผู้มีอำนาจ ผู้อ่าน ณ ปีปัจจุบันอาจรู้สึกขบขันต่อภาพพจน์ของเทคโนโลยีล้ำยุคตามจินตนาการของออร์เวลล์ เพราะดูจะเป็นเทคโนโลยีโบราณเสียเหลือเกิน ทำนองเดียวกับเทคโนโลยีโบราณของยานอวกาศเอ็นเตอร์ไพรซ์ในศตวรรษที่ 24 เทคโนโลยีของผู้มีอำนาจในโอชันเนียที่สำคัญที่สุดคือจอทีวีที่ใช้สอดส่องผู้คนทุกซอกมุมของชีวิต ออร์เวลล์ยังนึกไม่ถึงสมองกล สมาร์ทการ์ด ระบบดาวเทียมสื่อสารที่ใช้สำหรับสอดแนมและเฝ้าดูมนุษย์บนผิวโลกและอื่นๆ อีกมากมาย
หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ไม่ใช่นิยายวิทยาศาสตร์เลยสักนิดเดียว ทำนองเดียวกับ Animal Farm อันโด่งดังอีกเล่มของออร์เวลล์ก็ไม่ใช่นิยายเด็ก แต่เป็นเรื่องเครียดและโหดร้ายเพื่อเสียดสีการเมืองของระบอบสตาลิน (เคยมีผู้ผลิตเป็นภาพยนตร์การ์ตูน ปรากฏว่าล้มเหลวไม่เป็นท่าเพราะไม่ใช่สำหรับเด็ก)
ประเด็นสำคัญของ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ล้วนแต่เป็นคำถามของสังคมและรัฐสมัยใหม่ยุคของเราในปัจจุบันทั้งนั้น ได้แก่ อำนาจของรัฐทำอะไรกับผู้คน ทำได้อย่างไร การควบคุมความคิดขนาดนั้นเป็นไปได้หรือ จะเกิดอะไรขึ้นกับผู้คนและต่ออำนาจของรัฐเอง มนุษย์จริงๆ จะยอมหรือ ถ้ายอม มนุษย์จะกลายเป็นอะไร ถ้าไม่ยอมมนุษย์จะตอบโต้อย่างไร
หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ไม่ได้กล่าวถึงการควบคุมด้วยกำลัง หรือการใช้อำนาจทางกายสักเท่าไร ที่สำคัญกว่าคือการควบคุมความคิดจิตใจอย่างเบ็ดเสร็จ โอชันเนียมี Big Brother เป็นรูปธรรมของอำนาจที่เฝ้าจับตามองประชาชนทุกๆ คนอยู่ตลอดเวลา ทุกนาที ทุกซอกมุมของชีวิต นับจากลืมตาตื่นจนนอนตาหลับ Big Brother ปรากฏอยู่ทุกแห่งราวกับพระเจ้า เผยตัวเป็นรูปธรรมบนจอทีวีทุกขณะจิตของชีวิต
ขบถอย่างวินสตันโดนทรมานและโดน ‘ล้างสมอง’ ในท้ายที่สุด แต่น่าคิดมากกว่าคือ คนทั่วไปในสังคมนั้นที่เชื่อฟังอำนาจอย่างสงบราบคาบ อำนาจควบคุมสังคมได้ด้วยการควบคุมความคิด สามารถ ‘ล้างสมอง’ ได้โดยไม่ต้องทรมานเลยสักนิด
ออร์เวลล์ให้ความสำคัญกับการควบคุมข่าวสาร ควบคุมความรู้ประวัติศาสตร์และควบคุมภาษา (ศัพท์และความหมาย) แถมด้วยพิธีกรรมแวดล้อมอีกจำนวนหนึ่งเช่นการประณามศัตรูร่วมกันในที่สาธารณะเป็นต้น ในสังคม หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ อำนาจบงการข่าวสารที่สาธารณชนพึงรับรู้และไม่ต้องรู้ บงการสาระของข่าวสารจนถึงรายละเอียด เปลี่ยนกลับไปกลับมาชั่วข้ามวันก็ได้ จากมิตรเป็นศัตรูหรือกลับกันก็ยังได้
ประวัติศาสตร์มีความสำคัญต่อสังคมเผด็จการเบ็ดเสร็จเพราะเป็นความรู้เพื่ออธิบายและให้ความชอบธรรมแก่ปัจจุบัน (ซึ่งเปลี่ยนได้ชั่ววันข้ามคืน) ดังนั้นเมื่อปัจจุบันเปลี่ยน อดีตจึงต้องเปลี่ยนด้วย เพื่อให้สมเหตุสมผลกัน ออร์เวลล์สร้างวาทะอมตะที่ใช้กันต่อมาอย่างแพร่หลาย ในรูปต่างๆ นั่นคือคำขวัญของอำนาจในโอชันเนียที่ว่า “ผู้ที่ควบคุมปัจจุบันย่อมบงการอดีตได้ ผู้ที่ควบคุมอดีตได้ย่อมบงการอนาคตได้”
ออร์เวลล์เล่นตลกกับชื่อและคำที่แพร่หลายในโอชันเนีย อาทิเช่น เขาเรียกหน่วยงานที่รับผิดชอบการผลิตข่าวสารและแก้ไขประวัติศาสตร์ว่า กระทรวงแห่งความจริง (Ministry of Truth) แต่แล้วกลับถากถางชื่อนั้นเสียเอง เพราะชื่อย่อของกระทรวงดังกล่าวคือ Minitru ในทำนองเดียวกัน เขาให้ความสำคัญกับการควบคุมภาษา คำ และความหมายในโอชันเนียว่าเป็นกุญแจสำคัญดอกหนึ่งในการควบคุมความ คิดของคน ศัพท์ที่ออร์เวลล์สร้างขึ้นสำหรับการเล่นตลกกับภาษาได้แก่ Newspeak และ Doublethink ในตัวมันเองเป็นตัวอย่างที่ดีของ Newspeak และ Doublethink นั่นคือความหมายตรงตัวและความหมายตามนัยตรงข้ามกันลิบลับ หรือสามารถบังคับให้ความหมายดีกลายเป็นเลว เลวกลายเป็นดี สงครามคือสันติภาพ ขาวดำสลับกันไปหมด
ออร์เวลล์ออกจะล้ำยุคกว่าใครอื่นเล็กน้อยที่เน้นความสำคัญของการควบคุมภาษา คำ และความหมาย ว่าเป็นกุญแจสำคัญในการควบคุมความคิดคน เหตุผลประเภทที่ว่า ถ้าไม่มีศัพท์สักคำเดียวเกี่ยวกับการขบถต่อสังคม ก็จะไม่มีการขบถต่อสังคม อาจฟังดูเป็นเหตุผลที่ตลกดี และคงจะยิ่งเป็นเหตุผลไร้สาระสำหรับผู้อ่านในยุคก่อนที่วิตเกินชไตน์และปรัชญาภาษาจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีทางสังคมอย่างทุกวันนี้
ในทางกลับกัน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ อาจดูเชยแหลกสำหรับโลกยุคสมองกลและอินเตอร์เน็ต เทคโนโลยีที่ล้ำยุคและแทรกซึมทุกอณูชีวิตใน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ คือ จอทีวี ซึ่งดูจะทำอะไรไม่ได้มากไปกว่าจ้องมองเราทุกฝีก้าว เป็นสัญญาณของการควบคุมสอดส่องโดยอำนาจ อำนาจแบบ Big Brother เป็นอำนาจแบบหยาบ ไม่เนียน ไม่มีเสน่ห์ชวนคล้อยตาม เชื่อฟัง หลงใหล หรือจงรักภักดี การควบคุมความคิดอย่างที่โอชันเนียกระทำดูหักหาญ บีบบังคับ สร้างความกลัว ไม่ซับซ้อนซ่อนเล่ห์อะไรเลย ไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์ปุถุชนจะตื้นเขินขนาดนั้น แต่ครั้นจะดูเบาจอทีวีก็คงไม่ได้ ในสังคมมุขปาฐะที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศไทย จอทีวีดูจะมีอิทธิพลต่อการควบคุมข่าวสาร สร้างความรู้ (อย่างที่อำนาจต้องการ) และสร้าง Newspeak และ Doublethink มากมหาศาลอย่างที่เราคาดไม่ถึง เพราะทีวีเป็นเทคโนโลยีมุข- ปาฐะแบบล้ำยุคทันสมัยที่สุด แถมยังเป็นการสื่อสารทางเดียว เหมาะเจาะที่สุดสำหรับอำนาจจะใช้ล้างสมองประชาชน แม้แต่ภาคประชาชนก็ยังนิยมใช้ทีวีในการยัดเยียดความคิดของตนให้สาธารณชนไม่ต่างจากรัฐแบบมุขปาฐะสักเท่าไร
หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ได้ฝากคำสำคัญๆ ไว้ในโลกภาษาอังกฤษ หลายคำที่ยังคงรู้จักแพร่หลายและใช้อยู่จนทุกวันนี้ อาทิเช่น Big Brother, Newspeak, Doublethink เป็นต้น แต่มรดกที่ทำให้ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ไม่หมดอายุไปง่ายๆ กลับไม่ใช่คำเก๋ๆ ในภาษาอังกฤษเหล่านั้น แต่คือสาระสำคัญของหนังสือเกี่ยวกับอำนาจในสังคมการเมืองสมัยใหม่ ได้แก่ ปัญหาเรื่องอำนาจกับสังคมและสาธารณชน เรื่องเทคโนโลยีระดับสูงในการควบคุมกล่อมเกลาความคิดประชาชนด้วยข่าวสาร ประวัติศาสตร์และภาษา และปัญหาเรื่องสังคมส่วนรวมกับปัจเจกชนและการขบถ จินตนาการของออร์เวลล์ในแทบทุกประเด็นที่กล่าวมาค่อนข้างทื่อและไม่ซับซ้อน บางคนว่าออร์เวลล์คาดการณ์ผิดพลาดหมด ตื้นเขินไปหน่อย บางคนว่าออร์เวลล์ถูก แต่ความเป็นจริงแนบเนียน ซับซ้อนเกินกว่าที่จะคาดการณ์ได้ชัดเจน แต่แทบทุกประเด็นคือปัญหาใหญ่ที่ยังคงเป็นหัวใจของการถกเถียงเกี่ยวกับการเมืองของโลกสมัยใหม่ เราลองมาพิจารณาประเด็นเหล่านี้ดู
โฉมหน้าสองแบบของอำนาจ
จินตภาพของ Big Brother ใน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ชวนให้เรานึกถึงอำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จแบบไหน? ลองนึกดู หากมีหน้าสตาลินอยู่บนจอทีวีทุกซอกมุมในสังคมรวมทั้งในบ้านเราเอง เราอาจคิดว่าออร์เวลล์สร้างภาพน่าสะพรึงกลัวแบบเชยๆ แต่ปรากฏการณ์เช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องเหลือเชื่อหรือเป็นไปไม่ได้ ลองนึกบรรยากาศเหมือนเดินอยู่ใจกลางปราสาทบายนที่มีใบหน้าของอวโลกิเตศวรฉบับชัยวรมันที่ 7 จ้องมองเราอยู่ทุกฝีก้าว ถึงแม้จะเป็นพระโพธิสัตว์ที่ยิ้มน้อยๆ ก็ยังน่ากลัวขนหัวลุก จากนั้นลองนึกถึงชีวิตปกติที่ไปที่ไหนก็มีท่านผู้นำหรือผู้มีบารมีที่คนทั้งประเทศเคารพเทิดทูนสรรเสริญวันละหลายเวลา Big Brother อาจก่อความกลัวมากกว่าความย่ำเกรง ในขณะที่ท่านผู้นำผู้มีบารมีในความเป็นจริงก่อให้เกิดความยำเกรงและสยบยอมจงรักภักดีต่ออำนาจก็เป็นได้
ในโลกที่เป็นจริงจึงอาจไม่มี Big Brother จ้องจับผิดเราโต้งๆ ตลอดเวลา แต่เราคิดว่าสังคมที่เป็นจริงไม่มี Big Brother คอยสอดส่องเราอยู่เงียบๆ กระนั้นหรือ แถม Big Brother ของจริงอาจสั่งสมประสบการณ์ว่าจะมัวเฝ้าดูเราทุกฝีก้าวย่อมเสียเวลาเปล่า อำนาจที่มีประสิทธิภาพไม่ต้องทำตัวเป็นแค่ยามเฝ้าธนาคารหรือห้างสรรพสินค้า การเฝ้ามองอย่างได้ผลและมีประสิทธิภาพกว่าสามารถทำได้ในรูปแบบอื่นๆ เช่น เฝ้าดูการเคลื่อนไหวของเงิน ดูคนเพียงไม่กี่คนหรือการประชุมเฉพาะเฉพาะแห่ง เป็นต้น
เราไม่โดนควบคุมบงการ หรือเราโดนแบบไม่รู้ตัว ไม่โฉ่งฉางอย่าง Big Brother? หากเราบอกปัดจินตนาการเกี่ยวกับ Big Brother ไปอย่างง่ายๆ เพียงเพราะไม่มีจอทีวีหน้าสตาลินอยู่ในบ้านเรา เราอาจจะเข้าใจ 1984 พลาดไปอย่างน่าเสียดาย
จินตภาพของผู้มีอำนาจที่อยู่ข้างหลัง Big Brother ใน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ชวนให้เรานึกถึงกลุ่มคน องค์กร ประเภทไหนกัน?
นอกจากโฉมหน้าสาธารณะของอำนาจในรูปของ Big Brother บนจอทีวีแล้ว เรารู้จัก “พรรค” ที่ครองอำนาจในโอชันเนียผ่านโอไบรอัน เขาเป็นมนุษย์มีเลือดเนื้อ ดูเผินๆ น่าคบได้ ใจกว้าง และมีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีเสน่ห์ ชวนคล้อยตาม ต้อนรับความแตกต่างและสนับสนุนให้แสดงออก คุณลักษณะของโอไบรอันตรงข้ามกับภาพพจน์ของ Big Brother โดยสิ้นเชิง แต่ลงท้าย ผู้อ่านคงตระหนักตรงกันว่า โอไบรอันร้ายและ “น่ากลัว” กว่า Big Brother เสียอีก เพราะโฉมหน้าของอำนาจในรูปของโอไบรอันลึกลับซับซ้อนอ่านยากกว่าใบหน้าบนจอทีวีมากนัก
โอไบรอันเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นผู้มีอำนาจในโอชัน-เนีย แต่ในเวลาเดียวกัน เขารู้เรื่องพวกขบถดี และทำท่าเหมือนจะมีส่วนร่วมกับพวกขบถด้วยซ้ำไป เขาเป็นพวกต่อต้านอำนาจจากภายในศูนย์กลางใช่ไหม จึงเกี่ยวดองกับทั้งสองข้าง? หรือว่าเขาก็เป็นเหมือนปัญญาชนสาธารณะที่มีชื่อเสียงตามปกติที่มักพร่ำสอนเรื่องการต่อต้านอำนาจ แต่เอาเข้าจริง กลับทำหน้าที่กล่อมเกลาให้พวกขบถยอมสยบต่ออำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยามที่พวกขบถเกิดเอาจริงขึ้นมา? หรือเขาเป็นผู้มีอำนาจที่ทำตัวเป็นสปายสายลับมาแทรกซึมพวกการขบถ? หรือเพราะมือถือสากปากถือศีล? เขาจงใจหลอกลวงวินสตัน หรือเขาไม่ได้หลอกใครอื่นเลย แต่หลอก ตัวเองคนเดียวจึงตีสองหน้าได้อย่างจริงใจไม่ขัดเขิน?
ถ้าเราไม่ถือว่าโอไบรอันเป็นบุคคล แต่ออร์เวลล์ใช้ตัวละครนี้เป็น “บุคลาธิษฐาน” (personification) ของสิ่งนามธรรมที่เราเรียกว่าอำนาจ จากนั้นลองคิดถึงอำนาจอีกครั้งว่า ด้านหนึ่งแสดงตัวเป็น Big Brother บนจอทีวี อีกรูปหนึ่งแสดงตัวเป็นโอไบรอัน เราอาจเข้าในดีขึ้นว่า อำนาจมีรูปร่างหน้าตาโดยรวมอย่างไร
นั่นคือ อำนาจมีทั้งโฉมหน้าที่น่ากลัว จ้องจับผิด เล่นงานเราอยู่ทุกขณะชีวิตอย่าง Big Brother แต่อีกด้านของอำนาจ คือคนอย่างเราๆ ท่านๆ นี่แหละ เพียงแต่อ้างความรู้ดีกว่ามากกว่า อ้างความเชี่ยวชาญกว่า หรือคุณสมบัติเฉพาะทางอื่นๆ อำนาจที่ “เนียน” จะดูคมคายมมีเสน่ห์ชวนหลงใหล ชวนให้เราใจอ่อน ยอมเป็นผู้สนับสนุนหรือเป็นพวก แม้แต่วิญญาณขบถของวินสตันหรือของเราๆ ท่านๆ ยังถูกหลอม ละลายโดยโฉมหน้าของอำนาจแบบโอไบรอัน ไม่เห็นว่าเป็น ศัตรูเลวร้ายตรงไหน
ปัญหาน่าคิดคือ ระหว่าง Big Brother – อำนาจควบคุมด้วยความกลัว กับอำนาจควบคุมประชาชนด้วยวิธีอื่น อย่างไหนมีประสิทธิภาพในการบงการความคิดจิตใจคนมากกว่ากัน? แล้วถ้าพระเดชประสานพระคุณ หรือความจงรักภักดีประสานความกลัวล่ะ?
บุคลาธิษฐานของอำนาจอย่างโอไบรอันและที่ยิ่งกว่าโอไบรอันมีอยู่ในทุกสังคม ในความเป็นจริง อำนาจที่มีพลังทรงประสิทธิภาพมักไม่ใช่อำนาจแบบ Big Brother ด้วยซ้ำไป แต่มักเป็นอำนาจที่ “เนียน” ซึ่งไม่ทำให้ประชาชนรู้สึกว่ากำลังโดนอำนาจครอบงำบงการอยู่ ดังนั้นจึงไม่ต้องใช้วิธีทรมานแต่อย่างใด
อันที่จริงก็คงไม่มีจอมเผด็จการคนไหนในโลกเป็นจริงที่ไม่ประสานสองด้านเข้าด้วยกัน แม้แต่จอมเผด็จการในพม่า ลัทธิบูชาผู้นำในเกาหลีเหนือ หรือระบอบที่โหดเหี้ยมอื่นๆ ก็มีด้านที่สามารถเรียกความจงรักภักดีหรือสยบยอมอย่างสมัครใจรวมอยู่ด้วย ในกรณีลัทธิบูชาผู้นำ มักอาศัยการกล่อมประสาทให้เห็นแต่ด้านพระคุณวิเศษมากกว่าด้านพระเดชหรือความกลัวด้วยซ้ำไป โฉมหน้าอำนาจแบบพระคุณก็ต้องอาศัยวิธีการอย่างใน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ เช่นกัน ได้แก่ การควบคุมข่าวสาร เสนอแต่คุณวิเศษเหลือเชื่อวันละหลายเวลา ปกปิดข่าวสารด้านอื่น อย่างเก่งก็กลายเป็นแค่ข่าวลือ ควบคุมความรู้ แก้ประวัติศาสตร์ทั้งโดยเข้าใจผิด โดยตีความตามอุดมการณ์ และโดยจงใจโฆษณาชวนเชื่อจนทำให้ผู้คนหลงคิดว่าหากขาดท่านผู้นำ ประเทศของตนอาจล่มสลายตกทะเลไปนานแล้ว และใช้การควบคุมภาษา คำ และความหมาย จนไม่หลงเหลือศัพท์หรือภาษาที่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ผู้นำสมมติเทพได้เลย นานวันเข้า แม้แต่จะตีความประวัติศาสตร์เบี่ยงออกจากมาตรฐาน หรือใช้คำไม่สูงพอกับความเป็นสมมติเทพก็อาจกลายเป็นอาชญากรรมทางความคิดได้
อย่างไรก็ตามลัทธิบูชาผู้นำทุกแห่งรายล้อมพระคุณด้วยพระเดช ปกป้องค้ำจุนความจงรักภักดีด้วยความกลัว ท่ามกลางการแซ่ซ้องสรรเสริญ มีการกำจัดปราบปรามอาชญากรทางความคิดอย่างสม่ำเสมอ ยิ่งสูงส่งก็ยิ่งต้องเข้มงวดรุนแรง
Big Brother ของโอชันเนียไม่แสดงออกด้านที่เป็นพระคุณ จนอดคิดไม่ได้ว่าลำพังความกลัวจะทำให้ผู้คนสยบยอมอยู่ได้อย่างไร แต่ในโลกที่เป็นจริง ทั้งสองด้านกลับต้องทำงานประสานกัน ความสำเร็จของลัทธิบูชาผู้นำเป็นสมมติเทพยังคงเป็นโจทย์ที่มีผู้ศึกษาและอธิบายไม่มากนัก ว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองด้านเป็นอย่างไร ทำงานประสานกันอย่างไร
และปัญหาใหญ่อีกข้อของลัทธิบูชาผู้นำก็คือ ประชาชนสยบยอมอย่างเชื่องๆ ราวกับถูกล้างสมองกันทั้งสังคมได้อย่างไร คงอีกนานกว่าเราจะมีคำตอบ เพราะทุกวันนี้ความกล้าถามก็ถือเป็นอาชญากรรมทางความคิดชนิดหนึ่ง
จินตภาพของ Big Brother ใน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ชวนให้เรานึกถึงอำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จแบบไหน? ลองนึกดู หากมีหน้าสตาลินอยู่บนจอทีวีทุกซอกมุมในสังคมรวมทั้งในบ้านเราเอง เราอาจคิดว่าออร์เวลล์สร้างภาพน่าสะพรึงกลัวแบบเชยๆ แต่ปรากฏการณ์เช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องเหลือเชื่อหรือเป็นไปไม่ได้ ลองนึกบรรยากาศเหมือนเดินอยู่ใจกลางปราสาทบายนที่มีใบหน้าของอวโลกิเตศวรฉบับชัยวรมันที่ 7 จ้องมองเราอยู่ทุกฝีก้าว ถึงแม้จะเป็นพระโพธิสัตว์ที่ยิ้มน้อยๆ ก็ยังน่ากลัวขนหัวลุก จากนั้นลองนึกถึงชีวิตปกติที่ไปที่ไหนก็มีท่านผู้นำหรือผู้มีบารมีที่คนทั้งประเทศเคารพเทิดทูนสรรเสริญวันละหลายเวลา Big Brother อาจก่อความกลัวมากกว่าความย่ำเกรง ในขณะที่ท่านผู้นำผู้มีบารมีในความเป็นจริงก่อให้เกิดความยำเกรงและสยบยอมจงรักภักดีต่ออำนาจก็เป็นได้
ในโลกที่เป็นจริงจึงอาจไม่มี Big Brother จ้องจับผิดเราโต้งๆ ตลอดเวลา แต่เราคิดว่าสังคมที่เป็นจริงไม่มี Big Brother คอยสอดส่องเราอยู่เงียบๆ กระนั้นหรือ แถม Big Brother ของจริงอาจสั่งสมประสบการณ์ว่าจะมัวเฝ้าดูเราทุกฝีก้าวย่อมเสียเวลาเปล่า อำนาจที่มีประสิทธิภาพไม่ต้องทำตัวเป็นแค่ยามเฝ้าธนาคารหรือห้างสรรพสินค้า การเฝ้ามองอย่างได้ผลและมีประสิทธิภาพกว่าสามารถทำได้ในรูปแบบอื่นๆ เช่น เฝ้าดูการเคลื่อนไหวของเงิน ดูคนเพียงไม่กี่คนหรือการประชุมเฉพาะเฉพาะแห่ง เป็นต้น
เราไม่โดนควบคุมบงการ หรือเราโดนแบบไม่รู้ตัว ไม่โฉ่งฉางอย่าง Big Brother? หากเราบอกปัดจินตนาการเกี่ยวกับ Big Brother ไปอย่างง่ายๆ เพียงเพราะไม่มีจอทีวีหน้าสตาลินอยู่ในบ้านเรา เราอาจจะเข้าใจ 1984 พลาดไปอย่างน่าเสียดาย
จินตภาพของผู้มีอำนาจที่อยู่ข้างหลัง Big Brother ใน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ชวนให้เรานึกถึงกลุ่มคน องค์กร ประเภทไหนกัน?
นอกจากโฉมหน้าสาธารณะของอำนาจในรูปของ Big Brother บนจอทีวีแล้ว เรารู้จัก “พรรค” ที่ครองอำนาจในโอชันเนียผ่านโอไบรอัน เขาเป็นมนุษย์มีเลือดเนื้อ ดูเผินๆ น่าคบได้ ใจกว้าง และมีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีเสน่ห์ ชวนคล้อยตาม ต้อนรับความแตกต่างและสนับสนุนให้แสดงออก คุณลักษณะของโอไบรอันตรงข้ามกับภาพพจน์ของ Big Brother โดยสิ้นเชิง แต่ลงท้าย ผู้อ่านคงตระหนักตรงกันว่า โอไบรอันร้ายและ “น่ากลัว” กว่า Big Brother เสียอีก เพราะโฉมหน้าของอำนาจในรูปของโอไบรอันลึกลับซับซ้อนอ่านยากกว่าใบหน้าบนจอทีวีมากนัก
โอไบรอันเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นผู้มีอำนาจในโอชัน-เนีย แต่ในเวลาเดียวกัน เขารู้เรื่องพวกขบถดี และทำท่าเหมือนจะมีส่วนร่วมกับพวกขบถด้วยซ้ำไป เขาเป็นพวกต่อต้านอำนาจจากภายในศูนย์กลางใช่ไหม จึงเกี่ยวดองกับทั้งสองข้าง? หรือว่าเขาก็เป็นเหมือนปัญญาชนสาธารณะที่มีชื่อเสียงตามปกติที่มักพร่ำสอนเรื่องการต่อต้านอำนาจ แต่เอาเข้าจริง กลับทำหน้าที่กล่อมเกลาให้พวกขบถยอมสยบต่ออำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยามที่พวกขบถเกิดเอาจริงขึ้นมา? หรือเขาเป็นผู้มีอำนาจที่ทำตัวเป็นสปายสายลับมาแทรกซึมพวกการขบถ? หรือเพราะมือถือสากปากถือศีล? เขาจงใจหลอกลวงวินสตัน หรือเขาไม่ได้หลอกใครอื่นเลย แต่หลอก ตัวเองคนเดียวจึงตีสองหน้าได้อย่างจริงใจไม่ขัดเขิน?
ถ้าเราไม่ถือว่าโอไบรอันเป็นบุคคล แต่ออร์เวลล์ใช้ตัวละครนี้เป็น “บุคลาธิษฐาน” (personification) ของสิ่งนามธรรมที่เราเรียกว่าอำนาจ จากนั้นลองคิดถึงอำนาจอีกครั้งว่า ด้านหนึ่งแสดงตัวเป็น Big Brother บนจอทีวี อีกรูปหนึ่งแสดงตัวเป็นโอไบรอัน เราอาจเข้าในดีขึ้นว่า อำนาจมีรูปร่างหน้าตาโดยรวมอย่างไร
นั่นคือ อำนาจมีทั้งโฉมหน้าที่น่ากลัว จ้องจับผิด เล่นงานเราอยู่ทุกขณะชีวิตอย่าง Big Brother แต่อีกด้านของอำนาจ คือคนอย่างเราๆ ท่านๆ นี่แหละ เพียงแต่อ้างความรู้ดีกว่ามากกว่า อ้างความเชี่ยวชาญกว่า หรือคุณสมบัติเฉพาะทางอื่นๆ อำนาจที่ “เนียน” จะดูคมคายมมีเสน่ห์ชวนหลงใหล ชวนให้เราใจอ่อน ยอมเป็นผู้สนับสนุนหรือเป็นพวก แม้แต่วิญญาณขบถของวินสตันหรือของเราๆ ท่านๆ ยังถูกหลอม ละลายโดยโฉมหน้าของอำนาจแบบโอไบรอัน ไม่เห็นว่าเป็น ศัตรูเลวร้ายตรงไหน
ปัญหาน่าคิดคือ ระหว่าง Big Brother – อำนาจควบคุมด้วยความกลัว กับอำนาจควบคุมประชาชนด้วยวิธีอื่น อย่างไหนมีประสิทธิภาพในการบงการความคิดจิตใจคนมากกว่ากัน? แล้วถ้าพระเดชประสานพระคุณ หรือความจงรักภักดีประสานความกลัวล่ะ?
บุคลาธิษฐานของอำนาจอย่างโอไบรอันและที่ยิ่งกว่าโอไบรอันมีอยู่ในทุกสังคม ในความเป็นจริง อำนาจที่มีพลังทรงประสิทธิภาพมักไม่ใช่อำนาจแบบ Big Brother ด้วยซ้ำไป แต่มักเป็นอำนาจที่ “เนียน” ซึ่งไม่ทำให้ประชาชนรู้สึกว่ากำลังโดนอำนาจครอบงำบงการอยู่ ดังนั้นจึงไม่ต้องใช้วิธีทรมานแต่อย่างใด
อันที่จริงก็คงไม่มีจอมเผด็จการคนไหนในโลกเป็นจริงที่ไม่ประสานสองด้านเข้าด้วยกัน แม้แต่จอมเผด็จการในพม่า ลัทธิบูชาผู้นำในเกาหลีเหนือ หรือระบอบที่โหดเหี้ยมอื่นๆ ก็มีด้านที่สามารถเรียกความจงรักภักดีหรือสยบยอมอย่างสมัครใจรวมอยู่ด้วย ในกรณีลัทธิบูชาผู้นำ มักอาศัยการกล่อมประสาทให้เห็นแต่ด้านพระคุณวิเศษมากกว่าด้านพระเดชหรือความกลัวด้วยซ้ำไป โฉมหน้าอำนาจแบบพระคุณก็ต้องอาศัยวิธีการอย่างใน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ เช่นกัน ได้แก่ การควบคุมข่าวสาร เสนอแต่คุณวิเศษเหลือเชื่อวันละหลายเวลา ปกปิดข่าวสารด้านอื่น อย่างเก่งก็กลายเป็นแค่ข่าวลือ ควบคุมความรู้ แก้ประวัติศาสตร์ทั้งโดยเข้าใจผิด โดยตีความตามอุดมการณ์ และโดยจงใจโฆษณาชวนเชื่อจนทำให้ผู้คนหลงคิดว่าหากขาดท่านผู้นำ ประเทศของตนอาจล่มสลายตกทะเลไปนานแล้ว และใช้การควบคุมภาษา คำ และความหมาย จนไม่หลงเหลือศัพท์หรือภาษาที่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ผู้นำสมมติเทพได้เลย นานวันเข้า แม้แต่จะตีความประวัติศาสตร์เบี่ยงออกจากมาตรฐาน หรือใช้คำไม่สูงพอกับความเป็นสมมติเทพก็อาจกลายเป็นอาชญากรรมทางความคิดได้
อย่างไรก็ตามลัทธิบูชาผู้นำทุกแห่งรายล้อมพระคุณด้วยพระเดช ปกป้องค้ำจุนความจงรักภักดีด้วยความกลัว ท่ามกลางการแซ่ซ้องสรรเสริญ มีการกำจัดปราบปรามอาชญากรทางความคิดอย่างสม่ำเสมอ ยิ่งสูงส่งก็ยิ่งต้องเข้มงวดรุนแรง
Big Brother ของโอชันเนียไม่แสดงออกด้านที่เป็นพระคุณ จนอดคิดไม่ได้ว่าลำพังความกลัวจะทำให้ผู้คนสยบยอมอยู่ได้อย่างไร แต่ในโลกที่เป็นจริง ทั้งสองด้านกลับต้องทำงานประสานกัน ความสำเร็จของลัทธิบูชาผู้นำเป็นสมมติเทพยังคงเป็นโจทย์ที่มีผู้ศึกษาและอธิบายไม่มากนัก ว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองด้านเป็นอย่างไร ทำงานประสานกันอย่างไร
และปัญหาใหญ่อีกข้อของลัทธิบูชาผู้นำก็คือ ประชาชนสยบยอมอย่างเชื่องๆ ราวกับถูกล้างสมองกันทั้งสังคมได้อย่างไร คงอีกนานกว่าเราจะมีคำตอบ เพราะทุกวันนี้ความกล้าถามก็ถือเป็นอาชญากรรมทางความคิดชนิดหนึ่ง
อำนาจของสาธารณชน
ความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างชนชั้นปกครองกับผู้ถูกปกครองในสังคมโอชันเนียเป็นความสัมพันธ์แบบที่อำนาจรัฐเป็นผู้ผูกขาดการใช้อำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ ประชาชนถูกครองงำอย่างเบ็ดเสร็จ เป็นความสัมพันธ์แบบบนลงล่างทางเดียว ซึ่งสาธารณชนไม่มีบทบาทหรือโอกาสเป็นผ่ายกระทำต่อรัฐหรือต่อประชาชนด้วยกันเอง
Dystopia ของออร์เวลล์คาดการณ์จากสังคมสมัยใหม่แบบต้นศตวรรษที่ 20 ว่า หากผันแปรไปถึงจุดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมประชากรจะมีหน้าตาอย่างไร เทค- โนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาก้าวกระโดดในช่วงระหว่างสงครามโลกสองครั้ง ก่อให้เกิดทั้งความหวังใหม่ๆ ว่ามนุษย์สามารถยกระดับความสามารถและพัฒนาไปได้อีกไกลอย่างที่ไม่เคยเคยมาก่อน แต่ก็ก่อให้เกิดความกังวล กลัวว่าเทคโนโลยีอาจทำลายมนุษย์และสังคมเพราะเทคโนโลยีอาจพัฒนาอำนาจจนน่ากลัว หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ คือจินตนาการของอย่างหลัง
แต่ออร์เวลล์ไม่สามารถมีญาณหยั่งรู้อย่างเราท่านในปัจจุบันที่มองย้อนหลังไปแล้วพบว่า ความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างรัฐและประชาสังคม และธรรมชาติของอำนาจรัฐในสังคมสมัยใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สองกลับเปลี่ยนไปมหาศาล จากรัฐและระบบการเมืองของต้นศตวรรษที่ 20 ความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งคือ การเมืองของสาธารณชน (public) กล่าวคือ สาธารณชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมือง การเปลี่ยนผ่านอำนาจ และการใช้อำนาจ และเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมหล่อหลอมความคิดของประชาชนด้วยกันเอง
การขยายตัวของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หนังสือพิมพ์ การสื่อสาร และการศึกษาที่ “บูม” ขึ้นมหาศาลในเชิงปริมาณในขอบข่ายทั่วโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สองมีส่วนทำให้การเมืองของประเทศต่างๆ (โดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรม)พัฒนาขึ้นเป็นการเมืองแบบมวลชน หรือแบบสาธารณชนยิ่งกว่าช่วงก่อนหน้านั้น รัฐและสังคมมีปฏิสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากกว่าช่วงใดในประวัติศาสตร์ก่อนหน้านั้น รัฐกับสังคมไม่ได้แยกออกจากกันชัดเจนอีกแล้ว
ในระยะนั้น นักทฤษฏีเกี่ยวกับรัฐและสังคมไม่ว่าฝ่าย ซ้ายหรือขวา พยายามอธิบายสภาวะเช่นนี้ พยายามอธิบายว่า โรงเรียน สื่อมวลชน สหกรณ์ เป็นรัฐหรือเป็นสังคม เพราะอะไรๆ ก็ดูเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไปหมด จนเหมือนว่ารัฐควบคุมครอบงำไปหมด แต่ในขณะเดียวกัน กลับสามารถมองตรงข้ามได้ว่า สังคมเป็นผู้จัดการสถาบันเหล่านั้นเอง ทั้งๆ ที่รัฐควบคุมกฎระเบียบหรือแม้กระทั่งงบประมาณ ตกลงไม่รู้ว่าจะขีดเส้นแบ่งระหว่างรัฐกับสังคมที่ตรงไหน
รัฐและสังคมใน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ไม่สะท้อนความเปลี่ยนแปลงนี้แต่อย่างใด คงรักษาจินตภาพของรัฐต้นศตวรรษที่ 20 ไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นการควบคุมบงการประชาชน หรืออะไรก็ตามที่รัฐโอชันเนียกระทำจึงดูผิดแผกต่างจากรัฐและอำนาจในปัจจุบันอย่างมาก
การเมืองแบบเปิดที่สาธารณชนมีส่วนร่วมกว้างขวางขึ้นมากเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อำนาจรัฐไม่กระจุกตัวอยู่ที่เดียวในมือของคนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มเดียวและอำนาจของรัฐถูกตรวจ สอบจากสาธารณชนอย่างกว้างขวางเปิดเผย นี่กลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กระบวนการเข้าสู่อำนาจและใช้อำนาจไม่สามารถพัฒนาประสิทธิภาพไปถึงจุดที่ออร์เวลล์สร้างภาพขึ้นมาในหนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ อย่างง่ายๆ
พลังของสาธารณชนในระบบการเมืองเปิดอาจช่วยป้องกันไม่ให้โอชันเนียเกิดขึ้น แต่ปัจจัยนี้ไม่ใช่หลักประกันว่าประชาชนจะฉลาด รู้ผิดชอบชั่วดี หรือมีความรับผิดชอบเสมอไป สาธารณชนสามารถตกอยู่ในมิจฉาทิฐิร่วมอย่างฝัง ลึกงมงายได้เช่นกัน และอาจช่วยกันกำจัดกวาดล้างพวกขบถนอกคอกได้อย่างโหดเหี้ยมไม่แพ้อำนาจรัฐ สาธารณชนสามารถเป็นผู้ค้ำจุนความอัปลักษณ์ในสังคมให้อยู่ต่อไปและเปลี่ยนยากกว่ายึดอำนาจรัฐเสียอีก ออร์เวลล์ไม่เห็นว่าประชาชนนั่นแหละตัวอันตรายที่อาจช่วยค้ำจุนรัฐ เป็นผู้ควบคุมบงการประชาชนด้วยกันเอง และสามารถก่อความเลวร้ายได้เหลือเชื่อ ปรากฏการณ์อีกอย่างหนึ่งที่ท้าทายความเข้าใจต่อรัฐและสังคมแบบต้นศตวรรษที่ 20 คือ โศกนาฏกรรมขนาดใหญ่ที่ขยายวงกว้างในสังคมหนึ่งๆ ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวโดยลัทธินาซี ความขัดแย้งทางเชื้อชาติเผ่าพันธุ์จนนำไปสู่การสังหารกวาดล้างกันขนานใหญ่อย่างที่เกิดในบอสเนีย รวันดา ซูดาน หลายแห่งในอินโดนีเชีย และอื่นๆ อีกมากมายทั้งที่เป็นข่าวครึกโครม และที่ยังคงไม่รู้จักกันนัก หรือระบอบการปกครองที่นำไปสู่การปราบปรามในวงกว้าง เช่น ลัทธิฟาสซิสม์ ลัทธิสตาลิน การปฏิวัติวัฒนธรรมในจีน ระบอบเขมรแดง ฯลฯ ผู้ใช้อำนาจรัฐเป็นปัจจัยสำคัญก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมเหล่านี้ แต่ลำพังอำนาจรัฐอย่างเดียวไม่มีความสามารถพอที่จะก่อให้เกิดหายนะระดับทั่วทั้งสังคมได้ สาธารณชน ประชาสังคม มวลชน (หรือจะเรียกอะไรก็ตามแต่) เป็นปัจจัยสำคัญมากในหายนะเหล่านั้นทุกกรณี
ในกัมพูชา ถึงแม้ว่าเราจะสามารถระบุตัวผู้นำเขมรแดงได้ และไม่ว่าจะนำตัวพวกเขามาลงโทษได้อย่างสาสมก่อนที่เขาจะแก่ตายไปหรือไม่ก็ตาม เป็นที่รับรู้ทั่วไปว่า ผู้มีส่วนลงมือในโศกนาฏกรรมคือพลพรรคระดับกลางและล่างจำนวนมาก ซึ่งก็คือ ชาวบ้านธรรมดานั่นเอง พวกเขามีทั้งที่ทำไปด้วยความเชื่อตามผู้มีอำนาจ ทำด้วยความมีอำนาจอยู่ในมือมากอย่างไม่เคยมีมาก่อน มีทั้งที่ทำไปเพราะความกลัวอำนาจ (กลัวว่าหากไม่ทำก็อาจตกเป็นเหยื่อเอง) และที่ทำไปเพราะฉวยโอกาสหาความดีความชอบ หรือด้วยความฮึกเหิมแบบผู้อ่อนประสบการณ์ อ่อนความคิด แต่กลับมีอำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ในมือ คนเหล่านี้ลงมือโดยมีอำนาจของรัฐสบับสนุนให้ท้ายอยู่อย่างไม่ต้องสงสัย แต่พวกเขาเองไม่ใช่ข้าราชการหรือสมาชิกพรรคระดับสูง ไม่ได้อยู่ใกล้ชิดศูนย์อำนาจด้วยซ้ำไป ปัญหากลืนไม่เข้าคายไม่ออกของการลงโทษเขมรแดงก็คือ หากเอากันจริงๆ จังๆ โดยไม่จำกัดให้อยู่แต่ระดับผู้นำ จะมีผู้สมควรถูกลงโทษอีกมหาศาล ซึ่งทั้งก่อนและภายหลังยุคเขมรแดง พวกเขาเป็นคนทำมาหากินธรรมดาๆ นี่เอง
ปัญหากลืนไม่เข้าคายไม่ออกทำนองเดียวกัน เกิดกับอาชญากรรมของตำรวจลับในเยอรมันตะวันออกช่วงสงครามเย็น แม้ว่าเราจะสามารถระบุตัวและลงโทษผู้นำพรรคและผู้นำตำรวจลับ “สตาซี” ได้ไม่ยากนัก แต่ Big Brother ในเยอรมันตะวันออกไม่ปรากฏตัวโฉ่งฉ่างบนจอทีวี ทว่ากลับทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าด้วยการไม่เผยตัว สตาซีทำให้ทั้งสังคมรู้สึกว่ากำลังถูกจับตามองอยู่ทุกขณะ จนผู้คนหวาดกลัวและหวาดระแวงตลอดเวลา ความจริงที่เปิดเผยต่อมาคือ สตาซีสร้างเครือข่ายสายลับ และผู้ให้ข้อมูลแก่ตำรวจอยู่ในทุกกลุ่มทุกแวดวงของสังคม รวมทั้งเพื่อนบ้านเรือนเคียง และญาติพี่น้องของเราเอง เมื่อสตาซีและระบอบปกครองล่มสลายลง พบว่าสตาซีเก็บแฟ้มประวัติเกี่ยวกับประชาชนของตัวเองหลายหมื่นแฟ้ม
อำนาจรัฐแบบสตาซีไม่ได้แสดงออกด้วยเครื่องแบบหรืออะไรก็ตามที่แสดงอำนาจของรัฐ แต่คือประชาชนธรรมดาที่ยอมเป็นหูตาให้แก่รัฐ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลแรงจูงใจอะไรก็ตาม สตาซีอยู่กับมวลชนปกติจนแยกไม่ออกว่าอำนาจรัฐหยุดแค่ไหน ประชาสังคมเริ่มตรงไหน อะไรคือหน่วยของอำนาจรัฐ อะไรไม่ใช่อีกต่อไป ความหวาดระแวงกันเองในหมู่ประชาชนแผ่ซ่านเลยเถิดถึงจุดที่มีการให้ข่าวข้อมูลเท็จแก่สตาซีเกี่ยวกับผู้เป็นภัยต่อระบอบเพียงเพื่อตอบสนองความต้องการของระบอบ มีการชิงเป็นผู้ให้ข้อมูลก่อนที่จะตกเป็นเหยื่อเสียเอง และหลายปีหลังระบอบสตาซีล่มสลาย ยังคงมีการคิดบัญชีกันต่อมา เยอรมันตะวันออกเป็นตัวอย่างหนึ่งที่มีบางคนเรียกว่าเป็น หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ที่เกิดขึ้นจริง สภาพเช่นนี้เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อการสอดส่องควบคุมจนกลัวและไม่ไว้ใจกันล่วงพ้นออกนอกการบงการของรัฐมากไป กลายเป็นประชาชนควบคุมจับจ้องกันเอง ระแวงซึ่งกันและกันโดยไม่มีใครสามารถรู้ชัดอีกต่อไปว่า ตรงไหนเป็นการกระทำของรัฐ ตรงไหนไม่ใช่ อำนาจของรัฐกับอำนาจของสังคมปนเปกันจนแยกไม่ออก การสะสางอาชญากรรมของสตาซีภายหลังสิ้นสุดสงครามเย็นจึงประสบปัญหาอย่างมาก เพราะหากลงโทษกันจริงจังทั่วด้าน คนจำนวนมากในสังคมซึ่งไม่ได้ใกล้ชิดอำนาจของรัฐเลยอาจสมควรถูกลงโทษ รวมทั้งญาติพี่น้องของเหยื่อเอง ถึงขนาดที่มีผู้เสนอว่า ทางออกที่อาจจะพึงปรารถนากว่าในกรณีเยอรมันตะวันออก (และในกรณีกัมพูชาเช่นกัน) คือ นอกจากผู้นำที่ชัดๆ ไม่กี่คนแล้ว นอกนั้นควรปล่อยให้ผ่านเลยไป อย่าหาความจริงเพราะความจริงจะทำให้สังคมอยู่ร่วมกันไม่ได้ ในขณะที่ระบอบการเมืองประชาธิปไตยเปิดโอกาสแก่สาธารณชนกว้างขวางขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ระบอบการเมืองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อทำให้ความกลัวและการควบคุมกันเองขยายวงไปสู่ประชาชนเช่นเดียวกัน สาธารณชนคือปัจจัยสำคัญสำคัญที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโอชันเนีย และสามารถทำให้โอชันเนียเป็นความจริงของโลกปัจจุบัน รูปการลักษณะของอำนาจรัฐและบุคคลหรือพรรคที่กุมอำนาจรัฐซึ่งเป็นเป้าที่เราสนใจมาตลอด ไม่ใช่ ปัจจัยเด็ดขาดที่ก่อให้เกิดสังคมเผด็จการเบ็ดเสร็จขึ้น
เราสามารถเห็นพลังอนุรักษ์นิยมของสาธารณชนได้ในทุกสังคมยามปกติ สาธารณชนมักโหยหาวันชื่นคืนสุขในอดีตที่ไม่เคยมีอยู่จริง แต่กลับน่าหลงใหลในจินตนาการของเราๆ ท่านๆ เพราะเราทุกคนหลาดกลัวการเปลี่ยนแปลงมากบ้างน้อยบ้างด้วยกันทุกคน เพราะเราทุกคนเรียกหาความมั่นคงของชีวิต พอใจประโยชน์ที่เกิดต่อตัวเองแม้จะน้อยนิด ระยะสั้นๆ หรือแคบๆ ก็เถอะ ผู้คนโดยทั่วไปยึดติดกับอัตลักษณ์ของตน ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติศาสนาหรืออื่นๆ จนก่อให้เกิดทั้งการเบียดเบียนคนอื่นและการต่อสู้ต่อต้านคนอื่นที่มาดูถูกเหยียดหยามอัตลักษณ์ของตน สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นเหตุให้สาธารณชนรวมหัวกันควบคุมบงการซึ่งกันและกัน หรือก่อเหตุเลวร้ายก็ได้
อำนาจที่ค้ำจุนระบอบเก่า สังคมเก่าที่กลัวการเปลี่ยน แปลง คอยจับจ้องพวกขบถ จึงไม่ใช่แค่ Big Brother หรือพรรคลึกลับที่อยู่เบื้องหลัง แต่รวมถึง Little Big Brother รอบตัวเราทุกวี่วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญญาชนจำนวนมากที่ควบคุมความรู้ ภาษา และประวัติศาสตร์โดยไม่รู้ตัวเลยว่ากำลังทำหน้าที่ให้กับ Minitru ปัญญาชนพรรค์นี้ และสื่อมวลชนพรรค์นี้ไม่ต้องตีสองหน้า ไม่ต้องเป็นสปายสายลับ เพราะเขายินดีทำอย่างจริงใจ เต็มใจ โดยไม่รู้สึกว่าเป็นการรับใช้อำนาจแต่อย่างใด
อำนาจในการควบคุมบงการความคิดประชาชนในสังคมสมัยใหม่ระยะหลังเป็นอำนาจประเภทนี้ รัฐยังมีอำนาจลงมือกระทำต่อประชาชนที่ขัดขืนต่อต้าน แต่ในยามปกติ รัฐมักทำตามความต้องการของสาธารณชนเพื่อรักษาสถานภาพเดิม บ่อยครั้งขบวนการมวลชนเป็นพลังผลักดันให้รัฐจัดการพวกที่ท้าทายระเบียบสังคมที่ถือว่าดีงามตามประเพณีมาช้านาน แถมผู้มีอำนาจรัฐบาลที่อยากเปลี่ยนแปลงระบบระเบียบที่ล้าหลังยังอาจโดนขจัดโดยขบวนการมวลชนอนุรักษ์นิยมด้วยซ้ำไป อำนาจไม่ได้กระจุกตัวที่รัฐบาลเสมอไปหรืออีกต่อไป แต่กลับกระจัดกระจายอยู่กับสื่อมวลชน โรงเรียน วงวิชาการ ฯลฯ อีกด้วย และหากเอามวลชนอยู่ข้างตนได้ อำนาจย่อมสามารถแทรกเข้าไปอยู่ในเรือนของเราเองได้สบายๆ ไม่จำเป็นต้องมีตำรวจเฝ้าโรงหนังทุกแห่งเพื่อคอยจับคนที่ไม่ยืน เพราะประชาชนด้วยกันเองนี่แหละ พร้อมจะลงมือขว้างปาของใส่คนๆ นั้น แล้วฉุดกระชากคอได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิด สื่อมวลชนและขบวนการมวลชนนั่นแหละที่ก่นด่ากำราบประณามพวกแหกคอกอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าตำรวจเสียอีก Little Big Brother ไม่ต้องรวมศูนย์อำนาจ จึงไม่จำเป็นต้องมีระบบทีวีเฝ้าระวังขบถ แถมไม่เคยเปิดเผยตัวว่าเป็นตัวแทนของอำนาจรัฐ เพราะเขาไม่ได้เป็นอย่างเป็นทางการ พวกขบถนอกรีตต้องพึงระวังตัวเองให้ดีว่า ประชาชนรอบตัวเรากำลังจ้องมองเราอยู่!
ความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างชนชั้นปกครองกับผู้ถูกปกครองในสังคมโอชันเนียเป็นความสัมพันธ์แบบที่อำนาจรัฐเป็นผู้ผูกขาดการใช้อำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ ประชาชนถูกครองงำอย่างเบ็ดเสร็จ เป็นความสัมพันธ์แบบบนลงล่างทางเดียว ซึ่งสาธารณชนไม่มีบทบาทหรือโอกาสเป็นผ่ายกระทำต่อรัฐหรือต่อประชาชนด้วยกันเอง
Dystopia ของออร์เวลล์คาดการณ์จากสังคมสมัยใหม่แบบต้นศตวรรษที่ 20 ว่า หากผันแปรไปถึงจุดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมประชากรจะมีหน้าตาอย่างไร เทค- โนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาก้าวกระโดดในช่วงระหว่างสงครามโลกสองครั้ง ก่อให้เกิดทั้งความหวังใหม่ๆ ว่ามนุษย์สามารถยกระดับความสามารถและพัฒนาไปได้อีกไกลอย่างที่ไม่เคยเคยมาก่อน แต่ก็ก่อให้เกิดความกังวล กลัวว่าเทคโนโลยีอาจทำลายมนุษย์และสังคมเพราะเทคโนโลยีอาจพัฒนาอำนาจจนน่ากลัว หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ คือจินตนาการของอย่างหลัง
แต่ออร์เวลล์ไม่สามารถมีญาณหยั่งรู้อย่างเราท่านในปัจจุบันที่มองย้อนหลังไปแล้วพบว่า ความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างรัฐและประชาสังคม และธรรมชาติของอำนาจรัฐในสังคมสมัยใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สองกลับเปลี่ยนไปมหาศาล จากรัฐและระบบการเมืองของต้นศตวรรษที่ 20 ความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งคือ การเมืองของสาธารณชน (public) กล่าวคือ สาธารณชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมือง การเปลี่ยนผ่านอำนาจ และการใช้อำนาจ และเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมหล่อหลอมความคิดของประชาชนด้วยกันเอง
การขยายตัวของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หนังสือพิมพ์ การสื่อสาร และการศึกษาที่ “บูม” ขึ้นมหาศาลในเชิงปริมาณในขอบข่ายทั่วโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สองมีส่วนทำให้การเมืองของประเทศต่างๆ (โดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรม)พัฒนาขึ้นเป็นการเมืองแบบมวลชน หรือแบบสาธารณชนยิ่งกว่าช่วงก่อนหน้านั้น รัฐและสังคมมีปฏิสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากกว่าช่วงใดในประวัติศาสตร์ก่อนหน้านั้น รัฐกับสังคมไม่ได้แยกออกจากกันชัดเจนอีกแล้ว
ในระยะนั้น นักทฤษฏีเกี่ยวกับรัฐและสังคมไม่ว่าฝ่าย ซ้ายหรือขวา พยายามอธิบายสภาวะเช่นนี้ พยายามอธิบายว่า โรงเรียน สื่อมวลชน สหกรณ์ เป็นรัฐหรือเป็นสังคม เพราะอะไรๆ ก็ดูเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไปหมด จนเหมือนว่ารัฐควบคุมครอบงำไปหมด แต่ในขณะเดียวกัน กลับสามารถมองตรงข้ามได้ว่า สังคมเป็นผู้จัดการสถาบันเหล่านั้นเอง ทั้งๆ ที่รัฐควบคุมกฎระเบียบหรือแม้กระทั่งงบประมาณ ตกลงไม่รู้ว่าจะขีดเส้นแบ่งระหว่างรัฐกับสังคมที่ตรงไหน
รัฐและสังคมใน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ไม่สะท้อนความเปลี่ยนแปลงนี้แต่อย่างใด คงรักษาจินตภาพของรัฐต้นศตวรรษที่ 20 ไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นการควบคุมบงการประชาชน หรืออะไรก็ตามที่รัฐโอชันเนียกระทำจึงดูผิดแผกต่างจากรัฐและอำนาจในปัจจุบันอย่างมาก
การเมืองแบบเปิดที่สาธารณชนมีส่วนร่วมกว้างขวางขึ้นมากเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อำนาจรัฐไม่กระจุกตัวอยู่ที่เดียวในมือของคนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มเดียวและอำนาจของรัฐถูกตรวจ สอบจากสาธารณชนอย่างกว้างขวางเปิดเผย นี่กลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กระบวนการเข้าสู่อำนาจและใช้อำนาจไม่สามารถพัฒนาประสิทธิภาพไปถึงจุดที่ออร์เวลล์สร้างภาพขึ้นมาในหนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ อย่างง่ายๆ
พลังของสาธารณชนในระบบการเมืองเปิดอาจช่วยป้องกันไม่ให้โอชันเนียเกิดขึ้น แต่ปัจจัยนี้ไม่ใช่หลักประกันว่าประชาชนจะฉลาด รู้ผิดชอบชั่วดี หรือมีความรับผิดชอบเสมอไป สาธารณชนสามารถตกอยู่ในมิจฉาทิฐิร่วมอย่างฝัง ลึกงมงายได้เช่นกัน และอาจช่วยกันกำจัดกวาดล้างพวกขบถนอกคอกได้อย่างโหดเหี้ยมไม่แพ้อำนาจรัฐ สาธารณชนสามารถเป็นผู้ค้ำจุนความอัปลักษณ์ในสังคมให้อยู่ต่อไปและเปลี่ยนยากกว่ายึดอำนาจรัฐเสียอีก ออร์เวลล์ไม่เห็นว่าประชาชนนั่นแหละตัวอันตรายที่อาจช่วยค้ำจุนรัฐ เป็นผู้ควบคุมบงการประชาชนด้วยกันเอง และสามารถก่อความเลวร้ายได้เหลือเชื่อ ปรากฏการณ์อีกอย่างหนึ่งที่ท้าทายความเข้าใจต่อรัฐและสังคมแบบต้นศตวรรษที่ 20 คือ โศกนาฏกรรมขนาดใหญ่ที่ขยายวงกว้างในสังคมหนึ่งๆ ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวโดยลัทธินาซี ความขัดแย้งทางเชื้อชาติเผ่าพันธุ์จนนำไปสู่การสังหารกวาดล้างกันขนานใหญ่อย่างที่เกิดในบอสเนีย รวันดา ซูดาน หลายแห่งในอินโดนีเชีย และอื่นๆ อีกมากมายทั้งที่เป็นข่าวครึกโครม และที่ยังคงไม่รู้จักกันนัก หรือระบอบการปกครองที่นำไปสู่การปราบปรามในวงกว้าง เช่น ลัทธิฟาสซิสม์ ลัทธิสตาลิน การปฏิวัติวัฒนธรรมในจีน ระบอบเขมรแดง ฯลฯ ผู้ใช้อำนาจรัฐเป็นปัจจัยสำคัญก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมเหล่านี้ แต่ลำพังอำนาจรัฐอย่างเดียวไม่มีความสามารถพอที่จะก่อให้เกิดหายนะระดับทั่วทั้งสังคมได้ สาธารณชน ประชาสังคม มวลชน (หรือจะเรียกอะไรก็ตามแต่) เป็นปัจจัยสำคัญมากในหายนะเหล่านั้นทุกกรณี
ในกัมพูชา ถึงแม้ว่าเราจะสามารถระบุตัวผู้นำเขมรแดงได้ และไม่ว่าจะนำตัวพวกเขามาลงโทษได้อย่างสาสมก่อนที่เขาจะแก่ตายไปหรือไม่ก็ตาม เป็นที่รับรู้ทั่วไปว่า ผู้มีส่วนลงมือในโศกนาฏกรรมคือพลพรรคระดับกลางและล่างจำนวนมาก ซึ่งก็คือ ชาวบ้านธรรมดานั่นเอง พวกเขามีทั้งที่ทำไปด้วยความเชื่อตามผู้มีอำนาจ ทำด้วยความมีอำนาจอยู่ในมือมากอย่างไม่เคยมีมาก่อน มีทั้งที่ทำไปเพราะความกลัวอำนาจ (กลัวว่าหากไม่ทำก็อาจตกเป็นเหยื่อเอง) และที่ทำไปเพราะฉวยโอกาสหาความดีความชอบ หรือด้วยความฮึกเหิมแบบผู้อ่อนประสบการณ์ อ่อนความคิด แต่กลับมีอำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ในมือ คนเหล่านี้ลงมือโดยมีอำนาจของรัฐสบับสนุนให้ท้ายอยู่อย่างไม่ต้องสงสัย แต่พวกเขาเองไม่ใช่ข้าราชการหรือสมาชิกพรรคระดับสูง ไม่ได้อยู่ใกล้ชิดศูนย์อำนาจด้วยซ้ำไป ปัญหากลืนไม่เข้าคายไม่ออกของการลงโทษเขมรแดงก็คือ หากเอากันจริงๆ จังๆ โดยไม่จำกัดให้อยู่แต่ระดับผู้นำ จะมีผู้สมควรถูกลงโทษอีกมหาศาล ซึ่งทั้งก่อนและภายหลังยุคเขมรแดง พวกเขาเป็นคนทำมาหากินธรรมดาๆ นี่เอง
ปัญหากลืนไม่เข้าคายไม่ออกทำนองเดียวกัน เกิดกับอาชญากรรมของตำรวจลับในเยอรมันตะวันออกช่วงสงครามเย็น แม้ว่าเราจะสามารถระบุตัวและลงโทษผู้นำพรรคและผู้นำตำรวจลับ “สตาซี” ได้ไม่ยากนัก แต่ Big Brother ในเยอรมันตะวันออกไม่ปรากฏตัวโฉ่งฉ่างบนจอทีวี ทว่ากลับทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าด้วยการไม่เผยตัว สตาซีทำให้ทั้งสังคมรู้สึกว่ากำลังถูกจับตามองอยู่ทุกขณะ จนผู้คนหวาดกลัวและหวาดระแวงตลอดเวลา ความจริงที่เปิดเผยต่อมาคือ สตาซีสร้างเครือข่ายสายลับ และผู้ให้ข้อมูลแก่ตำรวจอยู่ในทุกกลุ่มทุกแวดวงของสังคม รวมทั้งเพื่อนบ้านเรือนเคียง และญาติพี่น้องของเราเอง เมื่อสตาซีและระบอบปกครองล่มสลายลง พบว่าสตาซีเก็บแฟ้มประวัติเกี่ยวกับประชาชนของตัวเองหลายหมื่นแฟ้ม
อำนาจรัฐแบบสตาซีไม่ได้แสดงออกด้วยเครื่องแบบหรืออะไรก็ตามที่แสดงอำนาจของรัฐ แต่คือประชาชนธรรมดาที่ยอมเป็นหูตาให้แก่รัฐ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลแรงจูงใจอะไรก็ตาม สตาซีอยู่กับมวลชนปกติจนแยกไม่ออกว่าอำนาจรัฐหยุดแค่ไหน ประชาสังคมเริ่มตรงไหน อะไรคือหน่วยของอำนาจรัฐ อะไรไม่ใช่อีกต่อไป ความหวาดระแวงกันเองในหมู่ประชาชนแผ่ซ่านเลยเถิดถึงจุดที่มีการให้ข่าวข้อมูลเท็จแก่สตาซีเกี่ยวกับผู้เป็นภัยต่อระบอบเพียงเพื่อตอบสนองความต้องการของระบอบ มีการชิงเป็นผู้ให้ข้อมูลก่อนที่จะตกเป็นเหยื่อเสียเอง และหลายปีหลังระบอบสตาซีล่มสลาย ยังคงมีการคิดบัญชีกันต่อมา เยอรมันตะวันออกเป็นตัวอย่างหนึ่งที่มีบางคนเรียกว่าเป็น หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ที่เกิดขึ้นจริง สภาพเช่นนี้เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อการสอดส่องควบคุมจนกลัวและไม่ไว้ใจกันล่วงพ้นออกนอกการบงการของรัฐมากไป กลายเป็นประชาชนควบคุมจับจ้องกันเอง ระแวงซึ่งกันและกันโดยไม่มีใครสามารถรู้ชัดอีกต่อไปว่า ตรงไหนเป็นการกระทำของรัฐ ตรงไหนไม่ใช่ อำนาจของรัฐกับอำนาจของสังคมปนเปกันจนแยกไม่ออก การสะสางอาชญากรรมของสตาซีภายหลังสิ้นสุดสงครามเย็นจึงประสบปัญหาอย่างมาก เพราะหากลงโทษกันจริงจังทั่วด้าน คนจำนวนมากในสังคมซึ่งไม่ได้ใกล้ชิดอำนาจของรัฐเลยอาจสมควรถูกลงโทษ รวมทั้งญาติพี่น้องของเหยื่อเอง ถึงขนาดที่มีผู้เสนอว่า ทางออกที่อาจจะพึงปรารถนากว่าในกรณีเยอรมันตะวันออก (และในกรณีกัมพูชาเช่นกัน) คือ นอกจากผู้นำที่ชัดๆ ไม่กี่คนแล้ว นอกนั้นควรปล่อยให้ผ่านเลยไป อย่าหาความจริงเพราะความจริงจะทำให้สังคมอยู่ร่วมกันไม่ได้ ในขณะที่ระบอบการเมืองประชาธิปไตยเปิดโอกาสแก่สาธารณชนกว้างขวางขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ระบอบการเมืองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อทำให้ความกลัวและการควบคุมกันเองขยายวงไปสู่ประชาชนเช่นเดียวกัน สาธารณชนคือปัจจัยสำคัญสำคัญที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโอชันเนีย และสามารถทำให้โอชันเนียเป็นความจริงของโลกปัจจุบัน รูปการลักษณะของอำนาจรัฐและบุคคลหรือพรรคที่กุมอำนาจรัฐซึ่งเป็นเป้าที่เราสนใจมาตลอด ไม่ใช่ ปัจจัยเด็ดขาดที่ก่อให้เกิดสังคมเผด็จการเบ็ดเสร็จขึ้น
เราสามารถเห็นพลังอนุรักษ์นิยมของสาธารณชนได้ในทุกสังคมยามปกติ สาธารณชนมักโหยหาวันชื่นคืนสุขในอดีตที่ไม่เคยมีอยู่จริง แต่กลับน่าหลงใหลในจินตนาการของเราๆ ท่านๆ เพราะเราทุกคนหลาดกลัวการเปลี่ยนแปลงมากบ้างน้อยบ้างด้วยกันทุกคน เพราะเราทุกคนเรียกหาความมั่นคงของชีวิต พอใจประโยชน์ที่เกิดต่อตัวเองแม้จะน้อยนิด ระยะสั้นๆ หรือแคบๆ ก็เถอะ ผู้คนโดยทั่วไปยึดติดกับอัตลักษณ์ของตน ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติศาสนาหรืออื่นๆ จนก่อให้เกิดทั้งการเบียดเบียนคนอื่นและการต่อสู้ต่อต้านคนอื่นที่มาดูถูกเหยียดหยามอัตลักษณ์ของตน สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นเหตุให้สาธารณชนรวมหัวกันควบคุมบงการซึ่งกันและกัน หรือก่อเหตุเลวร้ายก็ได้
อำนาจที่ค้ำจุนระบอบเก่า สังคมเก่าที่กลัวการเปลี่ยน แปลง คอยจับจ้องพวกขบถ จึงไม่ใช่แค่ Big Brother หรือพรรคลึกลับที่อยู่เบื้องหลัง แต่รวมถึง Little Big Brother รอบตัวเราทุกวี่วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญญาชนจำนวนมากที่ควบคุมความรู้ ภาษา และประวัติศาสตร์โดยไม่รู้ตัวเลยว่ากำลังทำหน้าที่ให้กับ Minitru ปัญญาชนพรรค์นี้ และสื่อมวลชนพรรค์นี้ไม่ต้องตีสองหน้า ไม่ต้องเป็นสปายสายลับ เพราะเขายินดีทำอย่างจริงใจ เต็มใจ โดยไม่รู้สึกว่าเป็นการรับใช้อำนาจแต่อย่างใด
อำนาจในการควบคุมบงการความคิดประชาชนในสังคมสมัยใหม่ระยะหลังเป็นอำนาจประเภทนี้ รัฐยังมีอำนาจลงมือกระทำต่อประชาชนที่ขัดขืนต่อต้าน แต่ในยามปกติ รัฐมักทำตามความต้องการของสาธารณชนเพื่อรักษาสถานภาพเดิม บ่อยครั้งขบวนการมวลชนเป็นพลังผลักดันให้รัฐจัดการพวกที่ท้าทายระเบียบสังคมที่ถือว่าดีงามตามประเพณีมาช้านาน แถมผู้มีอำนาจรัฐบาลที่อยากเปลี่ยนแปลงระบบระเบียบที่ล้าหลังยังอาจโดนขจัดโดยขบวนการมวลชนอนุรักษ์นิยมด้วยซ้ำไป อำนาจไม่ได้กระจุกตัวที่รัฐบาลเสมอไปหรืออีกต่อไป แต่กลับกระจัดกระจายอยู่กับสื่อมวลชน โรงเรียน วงวิชาการ ฯลฯ อีกด้วย และหากเอามวลชนอยู่ข้างตนได้ อำนาจย่อมสามารถแทรกเข้าไปอยู่ในเรือนของเราเองได้สบายๆ ไม่จำเป็นต้องมีตำรวจเฝ้าโรงหนังทุกแห่งเพื่อคอยจับคนที่ไม่ยืน เพราะประชาชนด้วยกันเองนี่แหละ พร้อมจะลงมือขว้างปาของใส่คนๆ นั้น แล้วฉุดกระชากคอได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิด สื่อมวลชนและขบวนการมวลชนนั่นแหละที่ก่นด่ากำราบประณามพวกแหกคอกอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าตำรวจเสียอีก Little Big Brother ไม่ต้องรวมศูนย์อำนาจ จึงไม่จำเป็นต้องมีระบบทีวีเฝ้าระวังขบถ แถมไม่เคยเปิดเผยตัวว่าเป็นตัวแทนของอำนาจรัฐ เพราะเขาไม่ได้เป็นอย่างเป็นทางการ พวกขบถนอกรีตต้องพึงระวังตัวเองให้ดีว่า ประชาชนรอบตัวเรากำลังจ้องมองเราอยู่!
1984 the book vs 1984 the movie
“รัฐ” คืออะไรกันแน่
ประเด็นสุดท้ายเกี่ยวกับรัฐที่ขออภิปรายในที่นี้ก็คือ ปัญหาว่า “รัฐ” คืออะไรกันแน่? หมายถึงรัฐบาลอย่างที่มักเข้าใจกันทั่วไปหรือ? หมายถึงอำนาจหลักที่ค้ำจุนสถาบันและกลไกต่างๆ ของทางการหรือ? ดูเหมือนว่าคำตอบคือ ถูกทุกข้อ รัฐบาลเป็นเพียงแค่อำนาจหนึ่งของ “รัฐ” ทั้งหมดก็ได้ อำนาจที่มากกว่าเพื่อค้ำจุน “รัฐ” อยู่นอกรัฐบาลบ่อยไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีมวลชนอยู่กับอำนาจนั้น บ่อยครั้งทหาร ตุลาการ สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่เดินร่วมทางกับรัฐบาลก็สามารถล้มรัฐบาลได้ (ไม่ต้องยกตัวอย่างก็คงพอจะรู้กันอยู่) ดังนั้น รัฐหมายถึงอะไรบ้างกลับกลายเป็นคำถามที่ตอบยากขึ้นทุกทีความแปรผันยอกย้อนของการเมืองของสาธารณชนและขบวนการมวลชนเช่นนี้ ไม่อยู่ในจินตภาพความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนของ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ เลยแม้แต่น้อย
เราคงตั้งคำถามชุดเดียวกันได้ต่อการควบคุมความรู้ประวัติศาสตร์และข่าวสารใน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ นั่นคือ แม้ออร์เวลล์ทำให้ดูทื่อแต่ในความเป็นจริงซับซ้อนซ่อนเงื่อนอย่างไร? รัฐเป็นผู้ควบคุมไปหมดจริงหรือ? หรือประชาชนและประชาสังคมด้วยกันเองเป็นผู้ทำ? เรามีประสบการณ์มากมายเกี่ยวกับรัฐที่พยายามบงการความรู้ข่าวสาร จนทุก วันนี้ก็ยังคงทำอยู่ ความสัมพันธ์และความสำคัญของรัฐในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่พูดกันมานาน แต่ยังไม่พ้นกรอบเดิมๆ ว่า ปัญหาเสรีภาพเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด สิ่งที่น่าจะขบคิดเลยออกไปจากเดิมมีมาก อาทิเช่น “รัฐ” ที่ควบคุมนั้นหมายถึงอะไรบ้าง ควมคุมอย่างไร? มีแต่การใช้อำนาจก่อความกลัวเท่านั้นหรือ? การกล่อมประสาทด้วยอุดมการณ์ความเชื่อจนยินทำตามอย่างว่านอนสอนง่ายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐหรือไม่? หมายถึงใครบ้าง? นอกจากรัฐแล้ว การควบคุมบงการและจำกัดเสรีภาพโดยสาธารณชนเป็นอย่างไร?สาธารณชนและตลาดช่วยให้มีอิสระจากรัฐบ้างไหม และกลับกลายเป็นปัจจัยควบคุมบงการสื่อมวลชนยิ่งกว่ารัฐบาลหรือไม่?
เราคงไม่สามารถกล่าวง่ายๆ อีกแล้วว่าการควบคุมของรัฐบาลเป็นต้นเหตุหรือเป็นปัจจัยเดียวของความด้อยคุณภาพของวงวิชาการและสื่อมวลชนไทย ดังที่บ่นกันทุกวี่ทุกวันในทั้งสองวงการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหลักวิชาชีพปวกเปียก ขาดแคลนคุณภาพ ขาดความริเริ่มสร้างสรรค์ แม้กระทั่ง การกำราบปราบปรามเล่นงานกันเองทางการเมือง บ่อยครั้งก็ไม่ใช่ฝีมือรัฐบาล บางทีการโยนบาปให้รัฐบาลเป็นแค่การหาแพะที่สะดวกที่สุดเพื่อยืดเวลาที่ตนเองต้องรับผิดชอบสะสางยกระดับวิชาชีพของตน
ตัวอย่างที่ผู้เขียนพอรับรู้อยู่บ้างคือ ความรู้ประวัติศาสตร์ ถึงแม้ว่า สุจิตต์ วงษ์เทศ และนิตยสารศิลปวัฒนธรรมจะถล่มกรมศิลปากรมาหลายสิบปี แต่น่าคิดว่า กรมศิลปากรเท่านั้นหรือที่กอดประวัติศาสตร์คลั่งชาติและราชาชาตินิยมไว้เหนียวแน่น แล้วเที่ยวบงการสั่งสอนคนอื่นให้คิดตาม? นักวิชาการถูกบงการโดยกรมศิลปากรหรือหน่วยงานอื่นของรัฐสักเท่าไรกัน? ท่ามกลางกรณีพิพาทเรื่องเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกเมื่อกลางปี 2551 ที่ผ่านมา เราจะพบว่าแม้แต่ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็มีจำนวนมากที่เห็นร่วมว่า เขาพระวิหารเป็นของไทย รัฐบาลขายชาติเสียดินแดน คนเหล่านี้ไม่ชอบพันธมิตรฯ แต่ก็เต้นตามเพลงชาตินิยมไปด้วย การถกเถียงสาธารณะตลอดจนความขัดแย้ง กระทำผ่านสื่อมวลชนเป็นหลัก โดยที่รัฐบาลหรือกลไกรัฐอื่นๆ ไม่สามารถควบคุมชี้นำได้ สื่อมวลชนของเอกชนและสื่ออินเตอร์เน็ตจำนวนมากกลับมีความเห็นคลั่งชาติ ทั้งๆ ที่รัฐบาลเสียอีกที่พยายามบรรเทากระแสชาตินิยมหน้ามืด กลายเป็นว่านักวิชาการ สื่อมวลชน และขบวนการมวลชนเอง (พันธมิตร) ต่างหากที่ช่วยกันสุมไฟชาตินิยม
การถกเถียงใหม่ๆ ทางประวัติศาสตร์มีอยู่ตลอดเวลา โดยรัฐควบคุมไม่ได้ แต่กลับมีผลเปลี่ยนความรู้ความคิดของสาธารณชนน้อยมาก บางครั้งเสนอความรู้ ความคิดใหม่ๆ ก็กลับถูกสาธารณชนลากกลับไปอยู่ในกรอบความรู้เดิมๆ จน ได้จนป่านนี้จึงยังคลั่งชาติ เกลียดพม่า ดูถูกลาว ไม่ไว้ใจเขมร เหยียดหยามมลายู และยังคงคิดว่าคนไทยมาจากภูเขาอัลไตอยู่เช่นเดิม
มีเสียงบ่นกังวลถึงภาวะขาดแคลนความคิดสร้างสรรค์อยู่ในทุกวงการทางปัญญา ทั้งสื่อมวลชนทุกแขนง วิชาการ และวงการศิลปะวรรณคดีเคยคิดไหมว่า การครอบงำทางปัญญาของยุคเผด็จการ ไม่ใช่การลงมือกำจัดทำลายคนที่ริเริ่มสร้างสรรค์ และขบถทางปัญญามากเท่ากับการรักษาความเรียบร้อยทางปัญญาของทุกวงการ ซึ่งทำลายความริเริ่มสร้างสรรค์ภายในวงการนั้นๆ กันเองอยู่แล้ว ครั้นอำนาจเผด็จการเจือจางลง อำนาจรัฐเข้ามายุ่มย่ามน้อยลง ทุกวงการทางปัญญาจึงยังคงขาดความริเริ่มสร้างสรรค์เช่นเดิม เพียงแต่มีระเบียบเรียบร้อยน้อยลงกว่าเดิมแค่นั้นเอง
คุณภาพของสื่อมวลชนไทยหลังยุคเผด็จการดีขึ้นสักเท่าไรกัน? ปัจจัยใหญ่ๆ ของความด้อยคุณภาพมีทั้งที่เกี่ยว และไม่เกี่ยวกับการควบคุมบงการโดยรัฐ เช่น ลักษณะตลาดหรือผู้บริโภคสินค้าอื่น ขนาดของตลาดทางปัญญาซึ่งเล็กนิดเดียว (เล็กเสียจนวารสารทางวิชาการเอาตัวไม่รอด) เพราะแม้กระทั่งนักวิชาการก็อ่านแต่หนังสือพิมพ์เป็นหลัก ปัญหาขาดหลักการทางวิชาชีพจนแยกไม่ออกระหว่างข่าวสารกับข่าวไม่เป็นสาร ระหว่างสื่อมวลชนกับโฆษณาชวนเชื่อ เสรีภาพของสื่อกับการโกหกโฆษณาใส่ร้ายผู้อื่น เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มิใช่ปัญหาอันเกิดจากการควบคุมของรัฐจนไร้เสรีภาพ
แม้กระทั่งปรากฏการณ์ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ที่สื่อมวลชนแข่งกันผลิตรายการเฉลิมฉลองเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินทั้งๆ ที่ไม่มีใครควบคุมบงการ อุตสาหกรรมความจงรักภักดีชนิดที่รัฐไม่ ได้สั่ง เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินเองก็คงนึกไม่ถึงเช่น เปลี่ยนทีวีสีเป็นขาวดำ เหล่านี้เป็นผลงานของประชาสังคมเองทั้งสิ้น ออร์เวลล์คงนึกไม่ถึงว่าประชาชนและประชาสังคมกันเองจะมีความสามารถรักษาสถานภาพเดิมได้ขนาดนี้ โดยรัฐไม่ต้องทำอะไรสักเท่าไร Minitru เป็นผลผลิตของประชาสังคมกันเอง
ออร์เวลล์คงรำคาญเต็มทีกับโฆษณาชวนเชื่อ “เว่อร์ๆ” ของสื่อมวลชนเผด็จการที่สามารถผลิตศัพท์แสงได้คมคาย แต่มักให้ความหมายตรงข้ามกับความเป็นจริง Newspeak หมายถึงศัพท์แสงที่สื่อความกลับขาวเป็นดำ การโฆษณาชวนเชื่อมีอยู่มากน้อยในทุกสังคม ไม่เฉพาะเผด็จการ ภาษากลับตาลปัตรเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมที่อยู่ได้ด้วยความเชื่อมากกว่าข้อเท็จจริง โดยมากเป็นสังคมหลงตัวเองและต้องการอยู่ในโลกแคบๆ ของตัวเอง คิดว่าตนเองวิเศษที่สุดในโลก Newspeak มักเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในสังคมที่ภาษาเป็นกำแพงขวางการเรียนรู้ของประชาชนเกี่ยวกับโลกภายนอกและเป็นอุปสรรคต่อโลกภายนอกจะมีปฏิสัมพันธ์ทางปัญญากับสังคมนั้นๆ เพราะ Newspeak กล่อมเกลาประชาชนของตนได้ดี ปกปิดประวัติศาสตร์ได้ดี และอาจเป็นปราการป้องกันความคิดพวกขบถได้ด้วย
Newspeak เป็นพฤติกรรมปกติของรัฐพรรค์เหล่านั้น แต่หากเป็นวัฒนธรรมของสังคมนั้น ย่อมหมายความว่าเป็นวิถีชีวิตที่คนทั่วไปไม่เกี่ยวกับอำนาจรัฐร่วมผลิตด้วย จนกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา (หรือที่เรียกว่าเป็น ‘ธรรมเนียม’) มีหลายคำในสังคมไทยทั้งที่มีมานานแล้ว และที่เพิ่งเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ที่มีลักษณะเป็น Newspeak ตัวอย่างเช่น ‘การเมืองใหม่’ หมายถึง การเมืองเก่าล้าหลังปัจจุบันหลายสิบปี ประชาธิปไตยแบบไทยๆ หมายถึง ระบอบเผด็จการอำนาจนิยมแบบต่างๆ สันติวิธี หมายถึง พกอาวุธ สะสมอาวุธได้ รุมตีคนอื่นได้ ฆ่าคู่ต่อสู้ได้ กู้ชาติ หมายถึง ทำให้ชาติพินาศล่มจม เป็นต้น
ขบถ ปัจเจกภาพ และการวิจารณ์
ในเมื่อหัวใจของอำนาจในสังคมแบบ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ คือการควบคุมความรู้ ความคิด อาชญากรรมที่ถือว่าร้ายแรงที่สุดก็คือ อาชญากรรมทางความคิด (Thoughtcrime) แต่อะไรล่ะคือ Thoughtcrime? ความรู้ประวัติศาสตร์ซึ่งต่างจากที่อำนาจต้องการเป็นอาชญากรรมหรือไม่ หรือการไม่เชื่อ ฟังข่าวสารของรัฐ? ไม่ตกหลุมพรางความหมายของ Newspeak? น่าจะใช่ทั้งนั้น แต่การขบถของจูเลียและวินสตันไม่กล่าวถึงสิ่งนี้เลย ไม่เห็นจะมีทัศนะความเห็นที่รุนแรงตรงข้ามกับอำนาจรัฐในเรื่องประวัติศาสตร์หรือภาษาสักเท่าไรเลย
จูเลียและวินสตันออกนอกรีตนอกรอยเพราะความรัก
ความรักเป็นอาชญากรรมทางความคิดของโอชันเนียหรือ? เพื่อจะลองตอบปัญหานี้ ก่อนอื่นคงต้องเข้าใจก่อนว่าอะไรคือจุดมุ่งหมายของอำนาจรัฐ / พรรค / หรือใครก็ตามที่บงการทั้งสังคมใน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่? ไม่ปรากฏว่าพวกเขาเป็นใคร ชนชั้นใด มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ธุรกิจใดๆ การควบคุมความคิดขนาดเบ็ดเสร็จก่อผลดีต่อผู้มีอำนาจอย่างไร การขบถก่อให้เกิดผลเสียหายต่อผลประโยชน์ของพวกเขาอย่างไร? ไม่มีคำตอบทั้งสิ้น
อำนาจใน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ไม่ใช่เครื่องมือหาผล ประโยชน์ใส่ตัวของผู้มีอำนาจ อำนาจไม่ใช่เครื่องมือไปสู่เป้าหมายที่สูงส่ง แต่อำนาจกลับเป็นเป้าหมายในตัวมันเอง เพราะอำนาจเป็นพลังปัจจัยจำเป็นของสังคม เพื่อควบคุมรักษาระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคม คำถามทางรัฐศาสตร์ตามปกติได้แก่ อำนาจของใคร ได้มาอย่างไร ทำอะไร เพื่อจัดความสัมพันธ์ทางสังคมแบบหนึ่งๆ แต่ออร์เวลล์กลับไม่สนใจว่าอำนาจเป็นของใคร กลับถือว่าอำนาจเป็นนายบงการคน อำนาจเป็นเป้าหมายในตัวมันเอง คนเป็นแค่เครื่องมือให้อำนาจบรรลุความสำเร็จ ความคิดทำนองนี้คล้ายกับนักคิดสมัยหลังๆ บางคนที่เห็นว่า สังคมสมัยใหม่คือเครือข่ายของอำนาจสารพัดที่ก่อรูปก่อร่างเป็นสถาบันเพื่อต่ออายุความอยู่รอดของตัวอำนาจเอง มนุษย์มักคิดว่าตนมีอำนาจ เป็นเจ้าของอำนาจ แต่เอาเข้าจริงแล้ว มนุษย์มักทำได้แค่สนองความต้องการของอำนาจ เพื่อผลิตและค้ำจุนอำนาจให้ดำรงอยู่
อำนาจแบบ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ต้องการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมแบบไหนกัน เพื่อให้อำนาจดำรงอยู่ได้? คำตอบคือ ต้องการสังคมที่เป็นองค์รวมของหน่วยต่างๆ สมาชิกทุกคนประกอบกันเข้าอย่างสอดคล้องเป็นเอกภาพ ทุกส่วนเข้ารูปเข้รอยเป็นองค์รวมที่ทุกๆ คนต้องเคารพและขึ้นต่อ ปัจเจกบุคคลต้องขึ้นต่อส่วนรวมอย่างเด็ดขาด ไม่ละเมิดส่วนรวมด้วยการกระทำใดๆ ตามปัจเจกภาพของตนซึ่งจะทำลายความสอดคล้องต้องกันของทุกๆ ส่วนในองค์รวมของสังคม สังคม หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ จึงต้องการสมาชิกที่ปราศจากปัจเจกภาพ (individuality) หรือมีอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย ไม่ก่อให้เกิดการแตกแถว บุคคลเป็นแค่อวัยวะชิ้นเล็กๆ ซึ่งมีตำแหน่งแห่งที่ และมีหน้าที่ชัดเจนเพื่อ ให้องคาพยพของสังคมดำเนินไปได้ การพัฒนายกระดับปัจเจกภาพของบุคคลจึงไม่สำคัญเท่าการรู้จักตำแหน่งแห่งที่ และหน้าที่ของตนในความสัมพันธ์กับคนอื่นและในองค์รวม สังคมไม่ต้องการปัจเจกบุคคล ไม่เน้นความเป็นตัวของตัวเอง แต่ต้องการสมาชิกที่เป็นแค่อวัยวะขององค์รวม หรือเป็นเฟืองตัวเล็กๆ ของจักรกลมหึมา ปัจเจกภาพของบุคคลอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของสังคมแบบนี้
ความรักของจูเลียและวินสตันพัฒนาขึ้นมาจากปัจเจกภาพของแต่ละคน เป็นความรักที่ส่งเสริมความเป็นตัวของตัวเอง จึงส่งเสริมวิญญาณขบถ อำนาจจึงยอมไม่ได้
ออร์เวลล์สร้างภาพสังคมเผด็จการเบ็ดเสร็จแบบ หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ให้เป็นสังคมที่เรียกร้องการขึ้นต่อองค์รวมแบบสัมบูรณ์ สังคมฟาสซิสต์และเผด็จการรูปแบบอื่นๆ ทั้งซ้ายขวา มักเน้นระเบียบสังคมในแนวนี้ทั้งนั้น (แต่คงไม่มีที่ไหนต้องการความสัมบูรณ์ขนาดในนิยายเรื่องนี้) สังคมที่เป็นจารีตประเพณีมักเน้นระเบียบสังคมในแนวนี้เช่นกัน เพราะจารีตประเพณีเน้นความสอดคล้องต้องกันของจักรเฟืองแต่ละชิ้น สังคมเหล่านี้ลดความสำคัญหรือบั่นทอนปัจเจกภาพความเป็นตัวของตัวเอง เรียกร้องการขึ้นต่อองค์รวมอย่างสัมบูรณ์ จึงถือเป็นปัจเจกภาพ เป็นอาชญากรรม
ในความเป็นจริงสังคมวัฒนธรรมต่างๆ ในโลกล้วนแล้วแต่มีทั้งด้านที่เรียกร้องการขึ้นต่อส่วนรวม เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนรวม หรือให้ความสำคัญกับคุณความดีของส่วนรวม (collective good) กับด้านที่ให้เสรีภาพ โอกาสทางเลือก ที่ปัจเจกภาพของบุคคลมีโอกาสเติบโตเป็นตัวของตัวเอง มนุษย์แทบทุกคนถูกหล่อหลอมขึ้นมาให้มีคุณสมบัติทั้งสองด้านในแต่ละบุคคล แต่ละด้านมีคุณอนันต์ไปคนละแบบ และหากมีมากไปก็ก่อให้เกิดผลเสียได้เช่นกันทั้งต่อสังคมและ ต่อบุคคลนั้นๆ เอง ทั้งสองด้านไม่มีทางหนีกันพ้น แต่ทั้งสองด้านมักไม่ประสานลงรอยกัน หรือคงไม่มีใครบอกได้ว่าทางสายกลางระหว่างทั้งสองด้านอยู่ตรงไหน
ปัจเจกภาพจึงสามารถเป็นอันตรายต่อสังคมที่เรียกร้องการขึ้นต่อองค์รวม กลายเป็นความไม่สามัคคี ก่อความแตกแยก ละเมิดประเพณีศีลธรรมอันดีงาม ไม่กตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่วางขนบธรรมเนียมมาเป็นเวลานาน เป็นต้น การเรียกร้องให้ขึ้นต่อองค์รวมจึงสามารถบั่นทอนทำลายปัจเจกภาพ ความเป็นตัวของตัวเอง ทำลายความคิดสร้างสรรค์ จิตใจวิพากษ์วิจารณ์ และวิญญาณขบถ
อะไรคือกุญแจของปัจเจกภาพ ความเป็นตัวของตัวเอง? อะไรคือยาขนานเอกเพื่อขัดขวางต่อสู้อำนาจเผด็จการของสังคมที่เน้นองค์รวมและความจงรักภักดีของจักรเฟือง?
ตอบ การวิจารณ์ (criticism)
หากไม่มีการวิจารณ์และจิตใจวิพากษ์วิจารณ์ย่อมไม่มี ทางพัฒนาปัจเจกภาพขึ้นมา เพราะไม่มีทางพัฒนาปัญญาที่เป็นอิสระเป็นตัวของตัวเอง ความรู้ข่าวสารที่มีมากมายล้นหลามในขณะนี้ โดยตัวมันเองไม่ใช่ทางออกสู่แสงสว่างทางปัญญา เพราะเปรียบเหมือนมีห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ในบ้าน แต่กลับไม่สามารถจัดการกับแหล่งความรู้ท่วมหัวดังกล่าวได้ เพราะไม่รู้จักการวิจารณ์เพื่อจำแนก หรือรู้จักใช้ข่าวสารข้อมูลอย่างเหมาะสมและเป็นนายของข้อมูล ปัญหาของสังคมที่อุดมไปด้วยNewspeak, Minitru และการควบคุมบงการ ความคิดไม่ว่าจะโดยรัฐหรือโดยสาธารณชน ไม่ได้อยู่ที่การขาดแคลนข้อมูลข่าวสาร แต่อยู่ที่ขาดแคลนประชาชนที่มีคุณภาพ รู้จักวิจารณ์อย่างเป็นตัวของตัวเอง คุณภาพดังกล่าวไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควรเพราะสังคมนั้นๆ กลัวปัจเจกภาพ กลัวการแตกแถว จึงกดปราบความเป็นตัวของตัวเอง แต่กลับเน้นความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เน้นการประสานกลมกลืนกับองค์รวมแทน
ออร์เวลล์ใน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ไม่ได้เน้นเรื่องการวิจารณ์แต่อย่างใด แต่เขาอาศัยความรักเป็นทางสู่ปัจเจกภาพ หรือความเป็นตัวของตัวเองของจูเลียและวินสตัน ความรักชนิดนี้จึงถูกจับตามองและต้องทำให้ยุติ
ในความเป็นจริง ปัจเจกภาพมีได้หลายลักษณะ หลายระดับ ไม่จำเป็นต้องเป็นขบถเสมอไป ปัจเจกบุคคลที่เป็นตัวของตัวเองและกล้าวิพากษ์วิจารณ์แต่ไม่เป็นอันตรายต่อองค์รวมก็มีเป็นปกติ โดยมากสามารถเป็นใหญ่เป็นโต มีอำนาจมากกว่าสมาชิกสังคมที่มีปราศจากปัจเจกภาพด้วยซ้ำไป โอไบรอันเป็นตัวแบบที่ดี ตัวอย่างในสังคมไทยก็มีมาก อาทิเช่น ปัญญาชนชั้นนำหลายๆ คนของสังคมไทยที่ได้รับการยอมรับนับถือกว้างขวาง หลายคนคงสามารถแสดงบทเป็นโอไบรอันได้ดีทีเดียว พวกเขาสามารถสะกดวิญญาณขบถจำนวนมากให้ยอมสยบอยู่ใต้บารมีของเขา กลายเป็นลูกน้องเขา เพื่อเปลี่ยนแปลงพัฒนาสังคมตามสถานภาพเดิมๆ ให้ก้าวหน้าขึ้นอย่างเป็นองค์รวม ปัญญาชนชั้นนำเหล่านี้ กล่อมเกลาพวกขบถอย่างที่โอไบรอันทำต่อวินสตัน ได้ผลกว่าจอ ทีวีของ Big Brother เป็นไหนๆ
แต่ปัจเจกบุคคลที่ขบถต่อองค์รวมก็ยังมีได้หลายแบบ จูเลียต่างจากวินสตันเพราะจูเลียไม่เชื่อไม่สนใจการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่โตไปกว่าความขบถของตนเอง ส่วนวินสตันคิด การใหญ่กว่า เป็นอันตรายต่อสถานภาพเดิมขององค์รวมมากกว่า แต่ลงท้ายขบถที่คิดการใหญ่อย่างวินสตันมักต้องเผชิญทางเลือกที่ตัดสินใจยาก (dilemma) ระหว่างการมีชีวิตอยู่แต่ไม่มีวิญญาณขบถของปัจเจกภาพอีกต่อไป กับการรักษาปัจเจกภาพที่เป็นขบถต่อองค์รวม ทว่าอาจไม่มีชีวิตอยู่ หรือหากไม่ตายก็อาจไม่อยู่ร่วมกับใครในสังคมอีกต่อไป เขาเผชิญการทรมาน เผชิญกับสิ่งที่เขากลัวที่สุดซึ่งอยู่ลึกๆ ในใจของเขาเอง ไม่ใช่ความรุนแรงเจ็บปวดสาหัสสากรรจ์จนสุดแสนจะทนทาน แต่เป็นความกลัวที่จะต้องสูญเสียสิ่งที่ตนเองรักและหวงแหนที่สุด นั่นคือ ความเป็นตัวของตัวเองและคนที่เขารัก
ความพ่ายแพ้ของวินสตันไม่ใช่การขายพรรคหรือขายขบวนการปฏิวัติ
โอไบรอันไม่จำเป็นต้องทำให้วินสตันเชื่อในสิ่งที่วินสตันคงไม่ยอมเชื่อ เขาเพียงแต่ทำให้วินสตันยอมขายคนที่เขารัก ขายความรักอันเกิดจากปัจเจกภาพของเขาและจูเลีย เพียงแค่นี้ ไอโบรอันก็ปล่อยตัววินสตันออกไปได้
George Orwell and T.S.Eliot
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น