ภาพการแล่และทำเค็มปลาในภาพฝาผนังของอียิปต์ในสุสานของ Puy-em-re รองสังฆราชแห่งอามุนราว 1,450 ปีก่อนคริสตกาล
อาหารจะมีรสชาติอร่อย ว่ากันว่าต้องเหยาะเกลือลงไปสักนิด
นั่นเป็นเคล็ด (ไม่) ลับของบรรดาคุณแม่บ้านใช้เสริมเสน่ห์ปลายจวัก
ทว่า...เกลือไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่นั้น ถ้ามองลึกเข้าไปในประวัติศาสตร์โลก เกลือเป็นสิ่งมีค่ามากมายมหาศาล
ในบางยุคสมัย เกลือมีค่าเทียบเท่าเงินตรา ทำให้เกิดเส้นทางการค้าโลก และเป็นชนวนสงครามในยุคล่าอาณานิคม
ฯลฯ
ช่วงนี้งาน มหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 13 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กำลังคึกคัก และเข้มข้นเข้ามาทุกที เพราะมีเวลาให้หนอนนักอ่านได้ช็อปๆๆ จนหยดสุดท้ายถึงแค่ วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคมนี้ เท่านั้น
สำนักพิมพ์มติชน ซึ่งมีหนังสือดีๆ มาให้เลือกสรรด้วยราคาเป็นกันเอง แน่นอนว่ารวมทั้งหนังสือซิงๆ ที่เพิ่งออกจากแท่นพิมพ์มาให้ทันซื้อหากันในงานนี้โดยเฉพาะ ที่มติชน โซนพลาซ่า
ใครที่มาขนไปแล้ว 2 คันรถ (เข็น) จะมาขนอีกสักหนึ่งคันรถ (เข็น) งานนี้ไม่ว่ากัน แต่อย่าลืมตรวจสอบหนังสือที่ขนกันไปว่าซื้อไปครบถ้วนหรือยัง อย่างเล่มนี้ "ประวัติศาสตร์โลกผ่านเกลือ" หนังสือดีอีกเล่ม ที่อยากจะแนะนำว่าไม่ควรพลาด
"ประวัติศาสตร์โลกผ่านเกลือ" เป็นหนังสือแปล ผลงานการเขียนของ มาร์ก เคอร์ลันสกี นักเขียนผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าสามารถหยิบหัวข้อธรรมดาที่คนทั่วไปมองข้ามมาเป็นประเด็นที่สื่อถึงประวัติศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้อย่างน่าสนใจ ทั้งยังมีสำนวนที่อ่านสนุกและชวนติดตาม
เรืองชัย รักศรีอักษร ผู้แปล บอกเล่าถึงความประทับใจที่ได้จากการแปลหนังสือเล่มนี้ว่า คือความอัจฉริยะของเคอร์ลันสกี ที่สามารถเขียนประวัติศาสตร์ให้เป็นเหมือนนิยายที่อ่านสนุก เพลิดเพลิน ให้ความรู้และแง่มุมต่างๆ ทั้งทางประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การเมือง ศาสนา และขนบประเพณีของชาติต่างๆ ในอดีตได้อย่างน่าสนใจโดยผ่านเกลือ
"เคอร์ลันสกีนำเสนออดีตและปัจจุบันของการผลิตและการค้าเกลือ ทำให้เราได้รู้ว่าเบื้องหลังของประวัติศาสตร์โลกล้วนเกี่ยวข้องกับเกลือ อย่างเช่นกำแพงเมืองจีนสร้างจากภาษีเกลือ กองทัพโรมันที่เกรียงไกรก็สร้างขึ้นจากภาษีเกลือ อาณาจักรมายามีรากฐานจากการผลิตและค้าเกลือ
การค้าระหว่างประเทศในยุคกลางมีเกลือและผลิตภัณฑ์จากเกลือ อย่างปลาเค็มและเนื้อเค็มเป็นสินค้าหลัก
เกลือเป็นสินค้าสำคัญของจักรวรรดิอังกฤษที่แผ่อิทธิพลไปทั่วโลก ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ฝ่ายใต้พ่ายแพ้ในสงครามกลางเมืองของสหรัฐมาจากการขาดแคลนเกลือ การเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชของอินเดียจากอังกฤษเริ่มจากการคัดค้านการผูกขาดเกลือของจักรวรรดิอังกฤษ
(ซ้ายบน) การขนส่งเกลือด้วยเกวียนเทียมอูฐไปยังทางรถไฟที่ทะเลสาบบาสคุนต์ชัก ทางตอนใต้ของอุราล ในรัสเซีย ราว ค.ศ.1929 (ขวาบน) ภาพพิมพ์งานไม้ของอังกฤษในศตวรรษที่สิบแปด แสดงถึงการหมักและตากแห้งปลาคอด ในนิวฟาวนด์แลนด์ (ซ้ายล่าง) ภาพจำลองภายในสุสานตุตันคาเมน
วิชาเคมี โบราณคดี และธรณีวิทยา เกิดขึ้นจากการค้นคว้าเรื่องเกลือ ฯลฯ
ลองเปิดเข้าไปอ่านเรื่องราวอันน่าทึ่งของ "เกลือ" ใน "ประวัติศาสตร์โลกผ่านเกลือ"
...เป็นเวลาหลายพันปีแล้วที่เกลือเป็นตัวแทนของความมั่งคั่ง พ่อค้าเกลือในแคริบเบียนจะเก็บเกลือไว้ในห้องใต้ดิน ชาวจีน ชาวโรมัน ชาวฝรั่งเศส ชาวเวนิชตระกูลอัพเบิร์ก และรัฐบาลอื่นๆ อีกมากมายได้เก็บภาษีเกลือเพื่อหาเงินในการทำสงคราม มีการจ่ายเกลือเป็นค่าจ้างให้แก่ทหาร และบางครั้งก็ให้แก่คนงานด้วย เกลือมีค่าเสมือนเงินตราตลอดมา
หลายศตวรรษมาแล้วที่ราชสำนักจีนถือว่าเกลือเป็นที่มาของรายได้ของรัฐ มีการค้นพบตำราในจีนที่กล่าวถึงภาษีเกลือเมื่อ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล
มีการเขียนตำราการบริหารเกลือขึ้นเป็นครั้งแรกชื่อ "ก่วนจื่อ" ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วยสิ่งที่เชื่อว่าเป็นคำแนะนำทางเศรษฐกิจของเสนาบดีคนหนึ่ง ที่มีชีวิตระหว่าง 685-643 ปีก่อนคริสตกาล ที่ให้แก่เจ้าผู้ครองแคว้นฉี โดยกำหนดราคาเกลือให้คงที่ในระดับที่สูงกว่าราคาที่ซื้อมา เพื่อให้รัฐสามารถนำเข้าและขายเกลือเพื่อทำกำไร
นับเป็นครั้งแรกที่รู้กันในประวัติศาสตร์ว่ามีการผูกขาดสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตด้วยการควบคุมของรัฐ รายได้ที่มาจากเกลือสามารถนำไปใช้ในการสร้างกองทัพ และยังใช้สร้างกำแพงเมืองจีน
...จากจีนข้ามมาที่ประเทศอียิปต์
ชาวอียิปต์ทำเกลือด้วยการนำน้ำทะเลบริเวณปากแม่น้ำไนล์มาทำให้ระเหย และอาจหาซื้อเกลือบางส่วนจากการค้าแถบเมดิเตอร์เรเนียน มีหลักฐานแน่ชัดว่าพวกเขาได้รับเกลือจากการค้ากับแอฟริกา โดยเฉพาะจากลิเบียและเอธิโอเปีย
แต่อียิปต์ก็มีทะเลสาบเกลือมากมายหลายชนิด รวมทั้งเกลือป่นที่เรียกว่า "เกลือทางเหนือ" และเกลืออีกชนิดที่เรียกว่า "เกลือแดง" ซึ่งอาจมาจากทะเลสาบใกล้เมืองเมมฟิส
นานก่อนศตวรรษที่สิบเจ็ดและสิบแปด ที่นักเคมีเริ่มจำแนกและตั้งชื่อเกลือชนิดต่างๆ นักเล่นแร่แปรธาตุ หมอ และคนครัวสมัยโบราณรู้ดีอยู่ก่อนแล้วว่าเกลือมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีรสชาติและคุณสมบัติทางเคมีแตกต่างกัน จึงเหมาะกับงานต่างกัน
ชาวจีนได้คิดค้นดินปืนด้วยการแยกดินประสิว หรือโพแทสเซียมไนเตรต ชาวอียิปต์ค้นพบเกลือชนิดหนึ่ง ซึ่งตอนนั้นไม่สามารถอธิบายได้ว่าเป็นส่วนผสมของโซเดียมไบคาร์บอเนตกับโซเดียมคลอไรด์ปริมาณเล็กน้อย
ชาวอียิปต์พบสารนี้ตามธรรมชาติในวาดิ (Wadi) ซึ่งเป็นภาษาอาหรับ หมายถึง แม่น้ำที่แห้งขอด ในบริเวณที่ห่างจากกรุงไคโรไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราวสี่สิบไมล์ สถานที่นั้นเรียกว่า "นาตรอน" (Natrun) พวกเขาจึงเรียกเกลือนี้ว่า เนตจรี (netjry) หรือ นาตรอน
ชาวอียิปต์โบราณเรียกนาตรอนว่า "เกลือศักดิ์สิทธิ์"
มีการค้นพบสุสานของฟาโรห์หนุ่มตุตันคาเมนเมื่อ ค.ศ.1922 เป็นสุสานที่วิจิตรบรรจงและรักษาได้ดีที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ หลุมของพระศพล้อมรอบด้วยแท่นบูชาสี่แท่น แต่ละแท่นมีถ้วยบรรจุเรซิ่นและนาตรอน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญสองอย่างที่ใช้ในการเก็บรักษามัมมี่
นักวิจัยโต้แย้งว่ามีการใช้โซเดียมคลอไรด์ในการทำมัมมี่หรือไม่ เป็นเรื่องยากที่จะรู้ เนื่องจากนาตรอนประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์ปริมาณน้อย ซึ่งทำให้เหลือร่องรอยของเกลือแกงนี้ในมัมมี่ทุกร่าง ดูเหมือนว่าจะมีการใช้เกลือโซเดียมคลอไรด์แทนนาตรอนในการฝังศพของผู้ที่มั่งคั่งน้อยกว่า
เฮโรโดตุสได้อธิบายวิธีทำมัมมี่ของอียิปต์ไว้อย่างละเอียด ซึ่งจากการตรวจสอบและวิเคราะห์ทางเคมีของนักโบราณคดีปัจจุบัน เทคนิคการทำมัมมี่มีความคล้ายคลึงกันอย่างน่าทึ่งกับกรรมวิธีที่ชาวอียิปต์ใช้เก็บรักษานกและปลาด้วยการควักไส้และหมักเกลือ
เป็นที่ชัดเจนว่าคนรุ่นหลังไม่ได้ลืมความเหมือนกันระหว่างการเก็บรักษาอาหารกับการเก็บรักษามัมมี่ ในศตวรรษที่สิบเก้า เมื่อมีการนำมัมมี่จากสุสานที่ซักคาราและเธเบสไปยังกรุงไคโร มีการเก็บภาษีมัมมี่ในอัตราเดียวกับปลาเค็มก่อนที่จะอนุญาตให้เข้าเมือง
ความจริงที่ว่าในอียิปต์โบราณ มัมมี่คนจนใช้เกลือโซเดียมคลอไรด์ ส่วนมัมมี่คนรวยใช้เกลือนาตรอน แสดงให้เห็นว่าชาวอียิปต์ตีค่านาตรอนสูงกว่า ซึ่งตรงข้ามกับที่ปรากฏในส่วนอื่นๆ ของแอฟริกาโบราณ
โดยทั่วไปชาวแอฟริกาที่ร่ำรวยกว่าจะใช้เกลือที่มีส่วนประกอบของโซเดียมคลอไรด์สูงกว่า ส่วนนาตรอนเป็นเกลือของคนจน
ในแอฟริกาตะวันตกมีการใช้นาตรอนขาวทำเค้กถั่วที่เรียกว่า "คูนู" (Kunu) เชื่อกันว่านาตรอนในอาหารชนิดนี้มีประโยชน์ในการบำรุงมารดาที่ให้น้ำนมบุตร
นาตรอนเหมาะกว่าเกลือในการทำอาหารจากถั่ว เพราะเชื่อกันว่า คาร์บอเนตจะต้านก๊าซ ยังมีการใช้นาตรอนเป็นยารักษากระเพาะอาหารมาจนถึงปัจจุบัน
จากการที่นาตรอนเป็นโซดาไบคาร์บอเนตธรรมชาติ ยังเชื่อกันว่านาตรอนเป็นยากระตุ้นกำหนัดในเพศชายอีกด้วย
เกลือเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับชาวโรมันในการสร้างจักรวรรดิ พวกเขาสร้างโรงเกลือทั่วทุกหนแห่งในโลกที่พวกเขาขยายอาณาจักรออกไป ตั้งอยู่ตามชายฝั่งทะเล บึง และบ่อน้ำเค็มทั่วคาบสมุทรอิตาลี
ชาวโรมันไม่เพียงแต่ยึดครองเหมืองเกลือหลายแห่งของชาวเซลต์ในกอลและอังกฤษ แต่ยังรวมถึงโรงเกลือของชาวเฟนีเชี่ยนและชาวคาร์เทจในแอฟริกาเหนือ ซิซิลี สเปน และโปรตุเกส
นอกจากนี้ยังยึดโรงเกลือที่กรีซ ทะเลดำ และตะวันออกกลางโบราณ รวมทั้งที่ภูเขาโซดอม ใกล้กับทะเลสาบเดดซี ซึ่งมีการพิสูจน์ว่าโรงเกลือมากกว่าหกสิบแห่งเป็นของจักรวรรดิโรมัน
เกลือเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ
ตัวอย่างเช่น บนโต๊ะเสวยของอาณาจักรฝรั่งเศสยุคกลางและยุคเรอเนสซองส์สมัยต่างๆ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ภาชนะบรรจุเกลือเป็นรูปเรือขนาดใหญ่ตกแต่งหรูหรา คือ เนฟ (nef) ซึ่งในที่นี้เป็นภาชนะประดับเพชรพลอย
เนฟเป็นทั้งกระปุกเกลือและเครื่องหมายของ "นาวาแห่งรัฐ" ขณะที่เกลือเป็นสัญลักษณ์ของสุขภาพและการปกปักรักษา สื่อความหมายว่า สุขภาพของผู้ปกครองคือความมั่นคงของชาติ
ใน ค.ศ.1378 พระเจ้าชาร์ลส์ที่ห้าแห่งฝรั่งเศส ทรงเป็นเจ้าภาพเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ ซึ่งครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือ และก่อให้เกิดคำถามที่น่ากระอักกระอ่วนใจว่าควรจะวางเนฟไว้ตรงไหน ระหว่างเบื้องพระพักตร์ของพระองค์ หรือเบื้องพระพักตร์ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่สี่ จักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้ทรงมีชาติกำเนิดเป็นชาวปรากและเป็นพระราชอาคันตุกะของพระองค์
นอกจากนี้ยังมีกษัตริย์เวนเชสลอสแห่งเยอรมนี พระราชโอรสขององค์จักรพรรดิก็ทรงร่วมในงานด้วย
ผลสุดท้ายเลยจัดโต๊ะโดยมีเนฟขนาดใหญ่สามใบสำหรับกษัตริย์แต่ละพระองค์
กระปุกเกลือที่วิจิตรบรรจงในรูปแบบต่างๆ ไม่เฉพาะรูปเรือเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เมื่อ ค.ศ.1415 ดุ๊กแห่งแบรี ผู้อุปถัมภ์งานศิลปะที่มีชื่อเสียงได้รับกระปุกเกลือจากช่างชื่อ ปอล เดอ ลัมบูร์ก เพิ่มเข้าเป็นส่วนหนึ่งในเนฟที่สะสมไว้
เป็นกระปุกเกลือที่ทำจากหินโมรา ฝาปิดทำด้วยทองคำ และที่จับเป็นแซฟไฟร์ประดับด้วยมุกสี่เม็ด
นี่เป็นเพียงไตเติ้ลเรื่องราวเกี่ยวกับเกลือที่มาร์ก เคอร์ลันสกี หยิบมาเล่าสอดแทรกไปกับประวัติศาสตร์โลก
เสียดายที่พื้นที่มีไม่มากพอที่จะนำเสนอเรื่องน่าสนใจมากมายเหล่านี้ได้หมด
นั่นเป็นเคล็ด (ไม่) ลับของบรรดาคุณแม่บ้านใช้เสริมเสน่ห์ปลายจวัก
ทว่า...เกลือไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่นั้น ถ้ามองลึกเข้าไปในประวัติศาสตร์โลก เกลือเป็นสิ่งมีค่ามากมายมหาศาล
ในบางยุคสมัย เกลือมีค่าเทียบเท่าเงินตรา ทำให้เกิดเส้นทางการค้าโลก และเป็นชนวนสงครามในยุคล่าอาณานิคม
ฯลฯ
ช่วงนี้งาน มหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 13 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กำลังคึกคัก และเข้มข้นเข้ามาทุกที เพราะมีเวลาให้หนอนนักอ่านได้ช็อปๆๆ จนหยดสุดท้ายถึงแค่ วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคมนี้ เท่านั้น
สำนักพิมพ์มติชน ซึ่งมีหนังสือดีๆ มาให้เลือกสรรด้วยราคาเป็นกันเอง แน่นอนว่ารวมทั้งหนังสือซิงๆ ที่เพิ่งออกจากแท่นพิมพ์มาให้ทันซื้อหากันในงานนี้โดยเฉพาะ ที่มติชน โซนพลาซ่า
ใครที่มาขนไปแล้ว 2 คันรถ (เข็น) จะมาขนอีกสักหนึ่งคันรถ (เข็น) งานนี้ไม่ว่ากัน แต่อย่าลืมตรวจสอบหนังสือที่ขนกันไปว่าซื้อไปครบถ้วนหรือยัง อย่างเล่มนี้ "ประวัติศาสตร์โลกผ่านเกลือ" หนังสือดีอีกเล่ม ที่อยากจะแนะนำว่าไม่ควรพลาด
"ประวัติศาสตร์โลกผ่านเกลือ" เป็นหนังสือแปล ผลงานการเขียนของ มาร์ก เคอร์ลันสกี นักเขียนผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าสามารถหยิบหัวข้อธรรมดาที่คนทั่วไปมองข้ามมาเป็นประเด็นที่สื่อถึงประวัติศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้อย่างน่าสนใจ ทั้งยังมีสำนวนที่อ่านสนุกและชวนติดตาม
เรืองชัย รักศรีอักษร ผู้แปล บอกเล่าถึงความประทับใจที่ได้จากการแปลหนังสือเล่มนี้ว่า คือความอัจฉริยะของเคอร์ลันสกี ที่สามารถเขียนประวัติศาสตร์ให้เป็นเหมือนนิยายที่อ่านสนุก เพลิดเพลิน ให้ความรู้และแง่มุมต่างๆ ทั้งทางประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การเมือง ศาสนา และขนบประเพณีของชาติต่างๆ ในอดีตได้อย่างน่าสนใจโดยผ่านเกลือ
"เคอร์ลันสกีนำเสนออดีตและปัจจุบันของการผลิตและการค้าเกลือ ทำให้เราได้รู้ว่าเบื้องหลังของประวัติศาสตร์โลกล้วนเกี่ยวข้องกับเกลือ อย่างเช่นกำแพงเมืองจีนสร้างจากภาษีเกลือ กองทัพโรมันที่เกรียงไกรก็สร้างขึ้นจากภาษีเกลือ อาณาจักรมายามีรากฐานจากการผลิตและค้าเกลือ
การค้าระหว่างประเทศในยุคกลางมีเกลือและผลิตภัณฑ์จากเกลือ อย่างปลาเค็มและเนื้อเค็มเป็นสินค้าหลัก
เกลือเป็นสินค้าสำคัญของจักรวรรดิอังกฤษที่แผ่อิทธิพลไปทั่วโลก ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ฝ่ายใต้พ่ายแพ้ในสงครามกลางเมืองของสหรัฐมาจากการขาดแคลนเกลือ การเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชของอินเดียจากอังกฤษเริ่มจากการคัดค้านการผูกขาดเกลือของจักรวรรดิอังกฤษ
(ซ้ายบน) การขนส่งเกลือด้วยเกวียนเทียมอูฐไปยังทางรถไฟที่ทะเลสาบบาสคุนต์ชัก ทางตอนใต้ของอุราล ในรัสเซีย ราว ค.ศ.1929 (ขวาบน) ภาพพิมพ์งานไม้ของอังกฤษในศตวรรษที่สิบแปด แสดงถึงการหมักและตากแห้งปลาคอด ในนิวฟาวนด์แลนด์ (ซ้ายล่าง) ภาพจำลองภายในสุสานตุตันคาเมน
วิชาเคมี โบราณคดี และธรณีวิทยา เกิดขึ้นจากการค้นคว้าเรื่องเกลือ ฯลฯ
ลองเปิดเข้าไปอ่านเรื่องราวอันน่าทึ่งของ "เกลือ" ใน "ประวัติศาสตร์โลกผ่านเกลือ"
...เป็นเวลาหลายพันปีแล้วที่เกลือเป็นตัวแทนของความมั่งคั่ง พ่อค้าเกลือในแคริบเบียนจะเก็บเกลือไว้ในห้องใต้ดิน ชาวจีน ชาวโรมัน ชาวฝรั่งเศส ชาวเวนิชตระกูลอัพเบิร์ก และรัฐบาลอื่นๆ อีกมากมายได้เก็บภาษีเกลือเพื่อหาเงินในการทำสงคราม มีการจ่ายเกลือเป็นค่าจ้างให้แก่ทหาร และบางครั้งก็ให้แก่คนงานด้วย เกลือมีค่าเสมือนเงินตราตลอดมา
หลายศตวรรษมาแล้วที่ราชสำนักจีนถือว่าเกลือเป็นที่มาของรายได้ของรัฐ มีการค้นพบตำราในจีนที่กล่าวถึงภาษีเกลือเมื่อ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล
มีการเขียนตำราการบริหารเกลือขึ้นเป็นครั้งแรกชื่อ "ก่วนจื่อ" ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วยสิ่งที่เชื่อว่าเป็นคำแนะนำทางเศรษฐกิจของเสนาบดีคนหนึ่ง ที่มีชีวิตระหว่าง 685-643 ปีก่อนคริสตกาล ที่ให้แก่เจ้าผู้ครองแคว้นฉี โดยกำหนดราคาเกลือให้คงที่ในระดับที่สูงกว่าราคาที่ซื้อมา เพื่อให้รัฐสามารถนำเข้าและขายเกลือเพื่อทำกำไร
นับเป็นครั้งแรกที่รู้กันในประวัติศาสตร์ว่ามีการผูกขาดสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตด้วยการควบคุมของรัฐ รายได้ที่มาจากเกลือสามารถนำไปใช้ในการสร้างกองทัพ และยังใช้สร้างกำแพงเมืองจีน
...จากจีนข้ามมาที่ประเทศอียิปต์
ชาวอียิปต์ทำเกลือด้วยการนำน้ำทะเลบริเวณปากแม่น้ำไนล์มาทำให้ระเหย และอาจหาซื้อเกลือบางส่วนจากการค้าแถบเมดิเตอร์เรเนียน มีหลักฐานแน่ชัดว่าพวกเขาได้รับเกลือจากการค้ากับแอฟริกา โดยเฉพาะจากลิเบียและเอธิโอเปีย
แต่อียิปต์ก็มีทะเลสาบเกลือมากมายหลายชนิด รวมทั้งเกลือป่นที่เรียกว่า "เกลือทางเหนือ" และเกลืออีกชนิดที่เรียกว่า "เกลือแดง" ซึ่งอาจมาจากทะเลสาบใกล้เมืองเมมฟิส
นานก่อนศตวรรษที่สิบเจ็ดและสิบแปด ที่นักเคมีเริ่มจำแนกและตั้งชื่อเกลือชนิดต่างๆ นักเล่นแร่แปรธาตุ หมอ และคนครัวสมัยโบราณรู้ดีอยู่ก่อนแล้วว่าเกลือมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีรสชาติและคุณสมบัติทางเคมีแตกต่างกัน จึงเหมาะกับงานต่างกัน
ชาวจีนได้คิดค้นดินปืนด้วยการแยกดินประสิว หรือโพแทสเซียมไนเตรต ชาวอียิปต์ค้นพบเกลือชนิดหนึ่ง ซึ่งตอนนั้นไม่สามารถอธิบายได้ว่าเป็นส่วนผสมของโซเดียมไบคาร์บอเนตกับโซเดียมคลอไรด์ปริมาณเล็กน้อย
ชาวอียิปต์พบสารนี้ตามธรรมชาติในวาดิ (Wadi) ซึ่งเป็นภาษาอาหรับ หมายถึง แม่น้ำที่แห้งขอด ในบริเวณที่ห่างจากกรุงไคโรไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราวสี่สิบไมล์ สถานที่นั้นเรียกว่า "นาตรอน" (Natrun) พวกเขาจึงเรียกเกลือนี้ว่า เนตจรี (netjry) หรือ นาตรอน
ชาวอียิปต์โบราณเรียกนาตรอนว่า "เกลือศักดิ์สิทธิ์"
มีการค้นพบสุสานของฟาโรห์หนุ่มตุตันคาเมนเมื่อ ค.ศ.1922 เป็นสุสานที่วิจิตรบรรจงและรักษาได้ดีที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ หลุมของพระศพล้อมรอบด้วยแท่นบูชาสี่แท่น แต่ละแท่นมีถ้วยบรรจุเรซิ่นและนาตรอน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญสองอย่างที่ใช้ในการเก็บรักษามัมมี่
นักวิจัยโต้แย้งว่ามีการใช้โซเดียมคลอไรด์ในการทำมัมมี่หรือไม่ เป็นเรื่องยากที่จะรู้ เนื่องจากนาตรอนประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์ปริมาณน้อย ซึ่งทำให้เหลือร่องรอยของเกลือแกงนี้ในมัมมี่ทุกร่าง ดูเหมือนว่าจะมีการใช้เกลือโซเดียมคลอไรด์แทนนาตรอนในการฝังศพของผู้ที่มั่งคั่งน้อยกว่า
เฮโรโดตุสได้อธิบายวิธีทำมัมมี่ของอียิปต์ไว้อย่างละเอียด ซึ่งจากการตรวจสอบและวิเคราะห์ทางเคมีของนักโบราณคดีปัจจุบัน เทคนิคการทำมัมมี่มีความคล้ายคลึงกันอย่างน่าทึ่งกับกรรมวิธีที่ชาวอียิปต์ใช้เก็บรักษานกและปลาด้วยการควักไส้และหมักเกลือ
เป็นที่ชัดเจนว่าคนรุ่นหลังไม่ได้ลืมความเหมือนกันระหว่างการเก็บรักษาอาหารกับการเก็บรักษามัมมี่ ในศตวรรษที่สิบเก้า เมื่อมีการนำมัมมี่จากสุสานที่ซักคาราและเธเบสไปยังกรุงไคโร มีการเก็บภาษีมัมมี่ในอัตราเดียวกับปลาเค็มก่อนที่จะอนุญาตให้เข้าเมือง
ความจริงที่ว่าในอียิปต์โบราณ มัมมี่คนจนใช้เกลือโซเดียมคลอไรด์ ส่วนมัมมี่คนรวยใช้เกลือนาตรอน แสดงให้เห็นว่าชาวอียิปต์ตีค่านาตรอนสูงกว่า ซึ่งตรงข้ามกับที่ปรากฏในส่วนอื่นๆ ของแอฟริกาโบราณ
โดยทั่วไปชาวแอฟริกาที่ร่ำรวยกว่าจะใช้เกลือที่มีส่วนประกอบของโซเดียมคลอไรด์สูงกว่า ส่วนนาตรอนเป็นเกลือของคนจน
ในแอฟริกาตะวันตกมีการใช้นาตรอนขาวทำเค้กถั่วที่เรียกว่า "คูนู" (Kunu) เชื่อกันว่านาตรอนในอาหารชนิดนี้มีประโยชน์ในการบำรุงมารดาที่ให้น้ำนมบุตร
นาตรอนเหมาะกว่าเกลือในการทำอาหารจากถั่ว เพราะเชื่อกันว่า คาร์บอเนตจะต้านก๊าซ ยังมีการใช้นาตรอนเป็นยารักษากระเพาะอาหารมาจนถึงปัจจุบัน
จากการที่นาตรอนเป็นโซดาไบคาร์บอเนตธรรมชาติ ยังเชื่อกันว่านาตรอนเป็นยากระตุ้นกำหนัดในเพศชายอีกด้วย
เกลือเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับชาวโรมันในการสร้างจักรวรรดิ พวกเขาสร้างโรงเกลือทั่วทุกหนแห่งในโลกที่พวกเขาขยายอาณาจักรออกไป ตั้งอยู่ตามชายฝั่งทะเล บึง และบ่อน้ำเค็มทั่วคาบสมุทรอิตาลี
ชาวโรมันไม่เพียงแต่ยึดครองเหมืองเกลือหลายแห่งของชาวเซลต์ในกอลและอังกฤษ แต่ยังรวมถึงโรงเกลือของชาวเฟนีเชี่ยนและชาวคาร์เทจในแอฟริกาเหนือ ซิซิลี สเปน และโปรตุเกส
นอกจากนี้ยังยึดโรงเกลือที่กรีซ ทะเลดำ และตะวันออกกลางโบราณ รวมทั้งที่ภูเขาโซดอม ใกล้กับทะเลสาบเดดซี ซึ่งมีการพิสูจน์ว่าโรงเกลือมากกว่าหกสิบแห่งเป็นของจักรวรรดิโรมัน
เกลือเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ
ตัวอย่างเช่น บนโต๊ะเสวยของอาณาจักรฝรั่งเศสยุคกลางและยุคเรอเนสซองส์สมัยต่างๆ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ภาชนะบรรจุเกลือเป็นรูปเรือขนาดใหญ่ตกแต่งหรูหรา คือ เนฟ (nef) ซึ่งในที่นี้เป็นภาชนะประดับเพชรพลอย
เนฟเป็นทั้งกระปุกเกลือและเครื่องหมายของ "นาวาแห่งรัฐ" ขณะที่เกลือเป็นสัญลักษณ์ของสุขภาพและการปกปักรักษา สื่อความหมายว่า สุขภาพของผู้ปกครองคือความมั่นคงของชาติ
ใน ค.ศ.1378 พระเจ้าชาร์ลส์ที่ห้าแห่งฝรั่งเศส ทรงเป็นเจ้าภาพเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ ซึ่งครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือ และก่อให้เกิดคำถามที่น่ากระอักกระอ่วนใจว่าควรจะวางเนฟไว้ตรงไหน ระหว่างเบื้องพระพักตร์ของพระองค์ หรือเบื้องพระพักตร์ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่สี่ จักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้ทรงมีชาติกำเนิดเป็นชาวปรากและเป็นพระราชอาคันตุกะของพระองค์
นอกจากนี้ยังมีกษัตริย์เวนเชสลอสแห่งเยอรมนี พระราชโอรสขององค์จักรพรรดิก็ทรงร่วมในงานด้วย
ผลสุดท้ายเลยจัดโต๊ะโดยมีเนฟขนาดใหญ่สามใบสำหรับกษัตริย์แต่ละพระองค์
กระปุกเกลือที่วิจิตรบรรจงในรูปแบบต่างๆ ไม่เฉพาะรูปเรือเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เมื่อ ค.ศ.1415 ดุ๊กแห่งแบรี ผู้อุปถัมภ์งานศิลปะที่มีชื่อเสียงได้รับกระปุกเกลือจากช่างชื่อ ปอล เดอ ลัมบูร์ก เพิ่มเข้าเป็นส่วนหนึ่งในเนฟที่สะสมไว้
เป็นกระปุกเกลือที่ทำจากหินโมรา ฝาปิดทำด้วยทองคำ และที่จับเป็นแซฟไฟร์ประดับด้วยมุกสี่เม็ด
นี่เป็นเพียงไตเติ้ลเรื่องราวเกี่ยวกับเกลือที่มาร์ก เคอร์ลันสกี หยิบมาเล่าสอดแทรกไปกับประวัติศาสตร์โลก
เสียดายที่พื้นที่มีไม่มากพอที่จะนำเสนอเรื่องน่าสนใจมากมายเหล่านี้ได้หมด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น