จากหนังสือต้นฉบับเรื่อง The Culture of Time and Space, 1880-1918
เขียนโดย Stephen Kern
2. เวลาเป็นอะตอม หรือเลื่อนไหลได้
การถกเถียงกันในเรื่องของธรรมชาติอะตอมของเวลา(the atomistic nature of time)มีความหลากหลายเกี่ยวกับต้นตอแหล่งกำเนิด บางที สิ่งซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดก็คือ แคลคูลัสของ Newton ซึ่งได้นึกถึงเกี่ยวกับเวลาในฐานะที่เป็นจำนวนหนึ่งของสิ่งที่เล็กมาก จนไม่อาจวัดได้(infinitesimally small) และเป็นหน่วยต่างๆซึ่งแยกออกจากกัน
นาฬิกาได้สร้างสิ่งเตือนความทรงจำที่มีเสียงขึ้นมา เกี่ยวกับธรรมชาติในลักษณะอะตอมของเวลา ด้วยเสียงแต่ละติ๊ก และตัวแทนซึ่งมองเห็นได้ของมันโดยการขีดแบ่งมันออกเป็นส่วนๆบนหน้าปัดนาฬิกา. สำหรับนาฬิกาไฟฟ้าสมัยใหม่ ด้วยการเคลื่อนไหวแบบเลื่อนไหลกวาดไปของเข็มวินาที ได้รับการประดิษฐขึ้นมาในปี 1916 ซึ่งนับแต่นั้นเป็นต้นมา นาฬิกาทั้งหลายจึงเสนอแบบจำลองของเวลาในฐานะที่เป็นการไหลเลื่อนอันหนึ่ง
บรรดานักจิตวิทยาการทดลอง พยายามที่จะกำหนดช่วงห่างที่แม่นยำเกี่ยวกับการขานรับของมนุษย์ และช่วงเวลาซึ่งสั้นที่สุดซึ่งคนๆหนึ่งสามารถที่จะตรวจพบได้ ในห้องทดลองเชิงปฏิบัติการต่างๆของ Gustav Fechner และ Wilhelm Wundt เครื่องมือบอกจังหวะดนตรีและนาฬิกาข้อมือ(metronomes and watches)ได้ถูกนำมาใช้ศึกษาชีวิตมนุษย์ ในฐานะที่เป็นโครงสร้างของหน่วยต่างๆของเวลาที่วัดได้อันหนึ่ง
ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1870s นักบุกเบิกสองคนทางด้านภาพยนตร์ ได้ทำการศึกษาการเคลื่อนไหวในระดับอนุภาคหรืออะตอมโดยวิธีการชุดหนึ่งของภาพนิ่ง Eadweard Muybridge ได้บันทึกการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับม้าที่วิ่งควบ โดยการตระเตรียมกล้องถ่ายรูปเอาไว้บนเส้นทางที่ม้าควบผ่าน ด้วยการใช้สายลวดเส้นเล็กๆขึงขวางทางที่ม้าผ่าน เมื่อม้าไปถูกลวดเส้นเล็กดังกล่าว ชัตเตอร์ของกล้องถ่ายรูปก็จะทำงานเก็บบันทึกภาพนั้นเอาไว้ เขาดำเนินการต่อไปเพื่อทำบันทึกภาพในลักษณะดังกล่าวโดยการศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของมนุษย์และสัตว์ตามลำดับ (ดูภาพประกอบ)
Large Folio Print from Eadweard Muybridge's Animal Locomotion
Muybridge: Animal Locomotion Plate 99 1887
Muybridge: Animal Locomotion Plate 99 1887
ในปี ค.ศ. 1882 นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส E.J.Marey เริ่มทำการศึกษาเรื่องของความเคลื่อนไหวด้วยเทคนิคอันหนึ่งซึ่งเขาเรียกว่า "ลำดับภาพ" หรือ choronophotography หมายถึงภาพถ่ายเกี่ยวกับเวลา(the photography of time): "วิธีการหนึ่งซึ่งวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวโดยอาศัยภาพถ่ายแบบฉับพลันชุดหนึ่ง ถ่ายภาพที่สั้นที่สุดและช่องว่างซึ่งเท่าๆกันของเวลา"
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Marey มีความสนใจในหลักการของแอโรไดนามิคของการบิน และได้พัฒนาเครื่องมืออันหนึ่งสำหรับการถ่ายภาพนกต่างๆอย่างฉับพลัน จากมุมมองซึ่งแตกต่างกันไป 3 มุม เขาเชื่อว่าหนทางซึ่งดีที่สุดที่จะทำความเข้าใจความเคลื่อนไหวก็คือ ทำให้มันแยกออกจากกันเป็นชิ้นๆ และจากนั้น ก็ประกอบมันขึ้นมาใหม่ให้เป็นภาพประกอบส่วนต่างๆหรือ plastic model หมายความว่าเป็นหุ่นจำลองสามมิติขึ้นมา
เมื่อภาพยนตร์ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นและได้ถูกนำออกแสดงต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1896 มันยังแยกความเคลื่อนไหวออกเป็นส่วนๆในลักษณะที่ไม่ปะติดปะต่อ นักถ่ายภาพแนว futurist นามว่า Anton Bragaglia ได้นำเสนอเทคนิคอันหนึ่งขึ้นมา ซึ่งเขาเรียกมันว่า photo-dynamic (ภาพถ่ายพลวัตร) ซึ่งลักษณะของการถ่ายภาพดังกล่าว เกี่ยวพันกับการปล่อยชัตเตอร์ให้เปิดเอาไว้เป็นเวลานานพอสมควร เพื่อบันทึกภาพเบลอๆของวัตถุชิ้นหนึ่งในความเคลื่อนไหว อันนี้เขาเชื่อว่า มันจะให้ภาพที่เป็นศิลปะอันแท้จริงเกี่ยวกับความเคลื่อนไหว ซึ่งตรงข้ามกันกับวิธีการถ่ายภาพแบบ choronophotography และ cinematography ซึ่งได้แบ่งแยกแอคชั่น(ความเคลื่อนไหว) และทำให้ชิ้นส่วน"ในระหว่างความเคลื่อนไหวของมันผิดพลาด"
ภาพถ่ายของ Bragaglia ดูแล้วคล้ายๆกับความผิดพลาดของผู้เริ่มต้นถ่ายภาพ มากกว่าการแก้ปัญหาในเชิงศิลปะอันหนึ่งในเรื่องปัญหาเกี่ยวกับความเคลื่อนไหว แต่อย่างไรก็ตาม พวกมันได้นำเสนอความมีชีวิตชีวาอันหนึ่งขึ้นมา แม้ว่ามันจะค่อนข้างน่าเย้ยหยัน ในภาพประกอบเกี่ยวกับความยุ่งยากซึ่งทัศนศิลปทั้งมวลมี ในการจับภาพธรรมชาติอันเลื่อนไหลของความเคลื่อนไหวหรือเวลาอันนั้น
เวลากับผลงานสร้างสรรค์ศิลปะ
ความยากลำบากของบรรดาจิตรกรทั้งหลาย ในการทำงานเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของวัตถุชิ้นหนึ่งในห้วงเวลา มักจะเป็นข้อจำกัดอันไม่สมหวังอันหนึ่งของงานศิลปะประเภทนี้ ข้อจำกัดอันนั้น ทำให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาในศตวรรษที่ 18 การแบ่งงานศิลปะต่างๆของ Gotthold Lessing เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเวลาและที่ว่าง(temporal and spatial), ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับบรรดาจิตรกรทั้งหลายในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เสมอ
บ่อยครั้งศิลปินพยายามที่จะแสดงนัยะแห่งอดีตและอนาคตอันหนึ่งออกมา โดยการเขียนภาพชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งบ่งบอกเรื่องราวอันพ้นไปจากปัจจุบัน บรรดาศิลปิน Impressionists หลายคนพยายามที่จะปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องของเวลาอย่างตรงไปตรงมามากๆ ด้วยภาพงานจิตรกรรมแบบต่อเนื่องของ motif ("ความคิด"หรือ"ภาพ"ที่เป็นจุดสำคัญของศิลปะ) เดียวกันในเวลาที่ต่างกันไปของวัน, ฤดูกาล, และสภาพของบรรยากาศ, เช่นดังในภาพกองฟางของ Claude Monet และภาพเขียนชุดหนึ่งของเขา the Rouen Cathedral (ภาพโบสถ์) (ดูภาพประกอบ)
Haystacks, At The End Of Summer
Oil on Canvas, 1890
63.5 x 99 cm (25 x 39 ins)
Oil on Canvas, 1890
63.5 x 99 cm (25 x 39 ins)
Monet, Claude: Rouen Cathedral
ศิลปิน Cubists พยายามที่จะไปให้พ้นจากภาวะทันทีทันควัน ด้วยทัศนียวิทยาอย่างหลากหลาย อย่างน้อยที่สุด กลุ่มหนึ่งของนักวิจารณ์ต้นๆที่ถกเถียงกัน ในปี 1910 Leon Werth เขียนเอาไว้ว่า ลักษณะของรูปทรงต่างๆแบบ Cubist ของ Picasso ได้แสดงให้เห็นถึง"ความรู้สึกต่างๆและการสะท้อนถ่ายซึ่งเราได้ประสบกับการล่วงไปของเวลา"
ในปีเดียวกันนั้น จิตรกร Cubist คนหนึ่ง Jean Metzinger เสนอว่า ในงานจิตรกรรมของ Braque "ภาพทั้งหมดได้แพร่กระจายออกมาในห้วงของเวลา". ปี 1911 Metzinger ได้อธิบายว่า เขาคิดเรื่องทัศนียวิทยาอันหลากหลายเกี่ยวกับ Cubists ทั้งหลายที่ได้เพิ่มเติมมิติของเวลาอย่างไร "พวกมันยินยอมให้ตัวของพวกมันเองเคลื่อนที่ไปรอบๆวัตถุ เพื่อที่จะทำให้การเป็นตัวแทนดังกล่าวเป็นรูปธรรมอันหนึ่งขึ้นมา อันนี้ได้สร้างแง่มุมที่ต่อเนื่องกันในลักษณะที่หลากหลาย เก่าก่อนนั้น ภาพๆหนึ่งได้ครอบครองเกี่ยวกับระวางเนื้อที่ว่าง แต่ปัจจุบันมันมีอิทธิพลครอบงำในเรื่องของเวลาด้วย" (ดูภาพประกอบ)
ในปี 1910 Roger Allard ได้บันทึกไว้ว่า งานจิตรกรรมของ Metzinger เป็น"การสังเคราะห์อันหนึ่งซึ่งวางอยู่ในการผ่านไปของกาลเวลา" ข้ออ้างเหตุผลเหล่านี้ ทั้งหมดได้ถูกพูดเกินความเป็นจริงไป ทัศนียภาพอันหลากหลายและต่อเนื่องนั้น บรรดาศิลปิน Cubists ทั้งหลายได้บูรณาการหรือรวบรวมมันขึ้นมาเป็นงานจิตรกรรมโดดๆเพียงชิ้นเดียว ซึ่งมิได้พิสูจน์ข้อสรุปที่ว่า พวกมันได้แพร่กระจายอยู่ในห้วงเวลา(radiate in time)
ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม มุมมองต่างๆที่ต่อเนื่องกันมากมายของวัตถุชิ้นหนึ่งได้ถูกรวมกันขึ้นมา ผืนผ้าใบที่ถูกประสบพบเห็นในชั่วฉับพลัน (นอกเหนือจากเวลา มันมีความจำเป็นสำหรับสายตาที่จะตรวจตราไปบนผิวหน้า) บรรดาศิลปิน Cubists ทั้งหลายได้หยอกเย้ากับข้อจำกัดต่างๆเกี่ยวกับศิลปะของพวกเขา บางที กับบางคนตั้งใจที่จะเยาะเย้ยเอาเลยทีเดียว การประดิษฐ์คิดค้นของพวกเขานำเสนอ"เวลา"ในงานศิลปะในวิธีการใหม่ๆ แต่อันนั้นไม่ได้สร้างประสบการณ์เกี่ยวกับเวลาดังที่มันผ่านไป
ในปี 1899 นักวิจารณ์ชาวดัทช์ Ernst Te Peerdt ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ใน The Problem of the Representation of Instants of Time in Painting and Drawing ว่า สนามการเห็นของเรามิได้ถูกประกอบตัวขึ้นมาจากเอกภาพที่ไร้กาลเวลา การรับรู้อย่างฉับพลันแต่ละครั้ง ได้สัง เคราะห์ลำดับการณ์อันหนึ่งเกี่ยวกับการรับรู้ต่างๆมากมายขึ้นมา
"อย่างชัดเจน ชั่วขณะเหล่านั้นมันประกอบตัวขึ้นมาในลักษณะของความพร้อมเพรียง, a Nebeneinander (next to each other, side by side), ซึ่งได้สร้างลำดับการณ์อันหนึ่งขึ้น, a Nacheinander (one after the other), ในการมองดูวัตถุ"
ไม่เหมือนกันกับการมองดูภาพถ่ายที่นิ่งๆ สายตาสามารถที่จะรวบรวมลำดับการณ์ที่ต่อเนื่องกันของการสังเกตต่างๆ ภารกิจของจิตรกรก็คือ รวบรวมลำดับการณ์ของเวลาด้วยรูปทรงต่างๆลงบนพื้นที่ว่าง แม้ว่าข้ออ้างเหตุผลของ Te Peerdt ที่ว่า ทัศนศิลป์ที่ดีสามารถนำเสนอลำดับการณ์อันหนึ่งขึ้นมาได้ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่สามารถที่จะวาดภาพความเคลื่อนไหวของวัตถุหรือการล่วงไปของเวลาได้
ไม่มี motif (ความคิด หรือ ภาพ ที่เป็นจุดสำคัญของศิลปะ)ใดๆ ในฐานะงานกราฟิคได้เตือนความทรงจำเกี่ยวกับธรรมชาติในลักษณะอะตอมของเวลาเช่นเดียวกับนาฬิกา และมันมีนาฬิกาอยู่เพียงไม่กี่เรือนเท่านั้นในศิลปะของยุคสมัยนี้. ประมาณปี 1870 Paul Cezanne ได้เขียนรูปหุ่นนิ่งภาพหนึ่งขึ้นมา ซึ่งได้รับอิทธิพลโดยนาฬิกาสีดำเรือนใหญ่ที่ไม่มีเข็ม - สัญลักษณ์ของการไร้กาลเวลาซึ่งเขาค้นหาเพื่อสร้างสรรค์ในงานจิตรกรรมของตนเอง
ข้าพเจ้าไม่อาจที่จะค้นพบนาฬิกาอื่นๆอีกได้ในงานศิลปะตะวันตกที่สำคัญๆใดๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1912 กับภาพงาน The Watch by Juan Gris. ในที่นี้เวลาได้หลุดออกไปจากข้อต่อในแง่มุมต่างๆ นาฬิกาได้ถูกหมุนกลับไปในมุม 90 องศา ทำให้การอ่านอย่างรวดเร็วครั้งแรกเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก มันถูกแบ่งออกเป็นสี่เสี้ยวของวงกลม เพียงสองเสี้ยวของวงกลมถูกมองเห็น ส่วนอีกสองเสี้ยวถูกทำให้คลุมเครือ และเข็มนาทีก็หายไปด้วย ทำให้การอ่านเวลาที่แน่นอนเป็นไปไม่ได้ แม้ว่าหลังจากที่ได้มีการพิจารณาใคร่ครวญอย่างละเอียดแล้วก็ตาม
ในนาฬิกาแบบ Cubist นี้ เวลาได้ถูกแบ่งแยกออกเป็นชิ้นๆ ไม่ต่อเนื่อง และกำกวม แต่ก็ถูกกำหนดตายตัวโดยตลอดด้วยเข็มนาฬิกาที่ชี้ไปยังเลข XI บนหน้าปัดเสี้ยวหนึ่งที่มองเห็นได้
ในปี 1913 Albert Gleizes ได้ใส่นาฬิกาเรือนหนึ่งลงไปในภาพ portrait แบบ Cubist และได้ลบตัวเลขครึ่งหนึ่งออกไป เวลาที่บอกเอาไว้อย่างแม่นยำคือ 2:35 แต่นาฬิกาเรือนดังกล่าวใช้การไม่ได้ สำหรับการอ่านในส่วนที่ได้ถูกลบเลือน. Gleizes ได้แบ่งแยกเวลาอย่างง่ายๆ เช่นเดียวกับที่เขาได้แยกวัตถุต่างๆและเนื้อที่ว่างออกเป็นชิ้นๆ
ในภาพ Enigma of the Hour ในปี ค.ศ. 1912, Giorgio de Chirico ได้เขียนภาพนาฬิกาเรือนหนึ่ง โดยสามารถมองเห็นได้อย่างชัดแจ้งตระหง่านอยู่เหนือภาพคนตัวเล็กๆ ที่มองไปยังมันซึ่งมีความใหญ่โตน่าประทับใจ. De Chirico ได้รวมเอานาฬิกาที่เด่นตระหง่านต่างๆซึ่งค่อยๆปรากฎขึ้นมาคล้ายๆกันกับดวงอาทิตย์ต่างๆของ Van Gogh ในงานจิตรกรรมจำนวนหนึ่ง: The Delight of the Poet (1913), The Soothsayer's Recompense (1913), The Philosopher's Conquest (1914), และ Gare Montparnasse (The Melancholy of Departure)(1914) (ดูภาพประกอบ)
ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม มุมมองต่างๆที่ต่อเนื่องกันมากมายของวัตถุชิ้นหนึ่งได้ถูกรวมกันขึ้นมา ผืนผ้าใบที่ถูกประสบพบเห็นในชั่วฉับพลัน (นอกเหนือจากเวลา มันมีความจำเป็นสำหรับสายตาที่จะตรวจตราไปบนผิวหน้า) บรรดาศิลปิน Cubists ทั้งหลายได้หยอกเย้ากับข้อจำกัดต่างๆเกี่ยวกับศิลปะของพวกเขา บางที กับบางคนตั้งใจที่จะเยาะเย้ยเอาเลยทีเดียว การประดิษฐ์คิดค้นของพวกเขานำเสนอ"เวลา"ในงานศิลปะในวิธีการใหม่ๆ แต่อันนั้นไม่ได้สร้างประสบการณ์เกี่ยวกับเวลาดังที่มันผ่านไป
ในปี 1899 นักวิจารณ์ชาวดัทช์ Ernst Te Peerdt ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ใน The Problem of the Representation of Instants of Time in Painting and Drawing ว่า สนามการเห็นของเรามิได้ถูกประกอบตัวขึ้นมาจากเอกภาพที่ไร้กาลเวลา การรับรู้อย่างฉับพลันแต่ละครั้ง ได้สัง เคราะห์ลำดับการณ์อันหนึ่งเกี่ยวกับการรับรู้ต่างๆมากมายขึ้นมา
"อย่างชัดเจน ชั่วขณะเหล่านั้นมันประกอบตัวขึ้นมาในลักษณะของความพร้อมเพรียง, a Nebeneinander (next to each other, side by side), ซึ่งได้สร้างลำดับการณ์อันหนึ่งขึ้น, a Nacheinander (one after the other), ในการมองดูวัตถุ"
ไม่เหมือนกันกับการมองดูภาพถ่ายที่นิ่งๆ สายตาสามารถที่จะรวบรวมลำดับการณ์ที่ต่อเนื่องกันของการสังเกตต่างๆ ภารกิจของจิตรกรก็คือ รวบรวมลำดับการณ์ของเวลาด้วยรูปทรงต่างๆลงบนพื้นที่ว่าง แม้ว่าข้ออ้างเหตุผลของ Te Peerdt ที่ว่า ทัศนศิลป์ที่ดีสามารถนำเสนอลำดับการณ์อันหนึ่งขึ้นมาได้ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่สามารถที่จะวาดภาพความเคลื่อนไหวของวัตถุหรือการล่วงไปของเวลาได้
ไม่มี motif (ความคิด หรือ ภาพ ที่เป็นจุดสำคัญของศิลปะ)ใดๆ ในฐานะงานกราฟิคได้เตือนความทรงจำเกี่ยวกับธรรมชาติในลักษณะอะตอมของเวลาเช่นเดียวกับนาฬิกา และมันมีนาฬิกาอยู่เพียงไม่กี่เรือนเท่านั้นในศิลปะของยุคสมัยนี้. ประมาณปี 1870 Paul Cezanne ได้เขียนรูปหุ่นนิ่งภาพหนึ่งขึ้นมา ซึ่งได้รับอิทธิพลโดยนาฬิกาสีดำเรือนใหญ่ที่ไม่มีเข็ม - สัญลักษณ์ของการไร้กาลเวลาซึ่งเขาค้นหาเพื่อสร้างสรรค์ในงานจิตรกรรมของตนเอง
ข้าพเจ้าไม่อาจที่จะค้นพบนาฬิกาอื่นๆอีกได้ในงานศิลปะตะวันตกที่สำคัญๆใดๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1912 กับภาพงาน The Watch by Juan Gris. ในที่นี้เวลาได้หลุดออกไปจากข้อต่อในแง่มุมต่างๆ นาฬิกาได้ถูกหมุนกลับไปในมุม 90 องศา ทำให้การอ่านอย่างรวดเร็วครั้งแรกเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก มันถูกแบ่งออกเป็นสี่เสี้ยวของวงกลม เพียงสองเสี้ยวของวงกลมถูกมองเห็น ส่วนอีกสองเสี้ยวถูกทำให้คลุมเครือ และเข็มนาทีก็หายไปด้วย ทำให้การอ่านเวลาที่แน่นอนเป็นไปไม่ได้ แม้ว่าหลังจากที่ได้มีการพิจารณาใคร่ครวญอย่างละเอียดแล้วก็ตาม
ในนาฬิกาแบบ Cubist นี้ เวลาได้ถูกแบ่งแยกออกเป็นชิ้นๆ ไม่ต่อเนื่อง และกำกวม แต่ก็ถูกกำหนดตายตัวโดยตลอดด้วยเข็มนาฬิกาที่ชี้ไปยังเลข XI บนหน้าปัดเสี้ยวหนึ่งที่มองเห็นได้
ในปี 1913 Albert Gleizes ได้ใส่นาฬิกาเรือนหนึ่งลงไปในภาพ portrait แบบ Cubist และได้ลบตัวเลขครึ่งหนึ่งออกไป เวลาที่บอกเอาไว้อย่างแม่นยำคือ 2:35 แต่นาฬิกาเรือนดังกล่าวใช้การไม่ได้ สำหรับการอ่านในส่วนที่ได้ถูกลบเลือน. Gleizes ได้แบ่งแยกเวลาอย่างง่ายๆ เช่นเดียวกับที่เขาได้แยกวัตถุต่างๆและเนื้อที่ว่างออกเป็นชิ้นๆ
ในภาพ Enigma of the Hour ในปี ค.ศ. 1912, Giorgio de Chirico ได้เขียนภาพนาฬิกาเรือนหนึ่ง โดยสามารถมองเห็นได้อย่างชัดแจ้งตระหง่านอยู่เหนือภาพคนตัวเล็กๆ ที่มองไปยังมันซึ่งมีความใหญ่โตน่าประทับใจ. De Chirico ได้รวมเอานาฬิกาที่เด่นตระหง่านต่างๆซึ่งค่อยๆปรากฎขึ้นมาคล้ายๆกันกับดวงอาทิตย์ต่างๆของ Van Gogh ในงานจิตรกรรมจำนวนหนึ่ง: The Delight of the Poet (1913), The Soothsayer's Recompense (1913), The Philosopher's Conquest (1914), และ Gare Montparnasse (The Melancholy of Departure)(1914) (ดูภาพประกอบ)
The Enigma of the Hour (1912)
ไม่เหมือนกันกับ Cezanne, Gris, และ Gleizes, de Chirico เลือกที่จะยอมรับว่า ศิลปะที่เป็นรูปธรรมต่างๆนั้นได้ถูกประณามต่อเรื่องชั่วขณะที่โดดๆ และเขาได้ยกย่องสรรเสริญพลังอำนาจที่มีอิทธิพลเกี่ยวกับเวลาของนาฬิกา โดยการทำให้มันเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นสากลที่ค่อนข้างโดดเด่นขึ้นมา
ราวกับว่าเรื่องที่ยินยอมนั้นเป็นไปโดยรอบ และนาฬิกาที่เห็นทั้งหมดต่างยืนยงคงทนต่อมาหลายปีจากนั้น Salvador Dali ได้เขียนภาพนาฬิกา 3 เรือนที่ดูอ่อนปวกเปียกคล้ายดั่งกับว่ามันกำลังละลายในงานที่ชื่อว่า The Persistence of Memory (1931)
By Dali : The Persistence of Memory, 1931
นาฬิกาเรือนหนึ่งแขวนอยู่บนต้นไม้ ในลักษณะที่เป็นการเตือนความทรงจำว่า ช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์อันหนึ่งอาจได้รับการยืดขยายออกไปในความทรงจำ อีกเรือนหนึ่งกับแมลงวันบนนาฬิกา มันเสนอว่า วัตถุอันนั้นของความทรงจำเป็นบางสิ่งบางอย่างของเนื้อเน่าหรือสัตว์ที่ตายซาก ซึ่งเน่าเปื่อยผุพังเช่นเดียวกันกับการหลอมละลาย นาฬิกาเรือนที่สามมีลักษณะที่ผิดรูปผิดร่างงอโค้งอยู่เหนือรูปทรงที่เพิ่งจะก่อตัวขึ้นมา - สัญลักษณ์ของหนทางชีวิตซึ่งบิดเบือนรูปร่างเรขาคณิต และความแน่นอนทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับยุคของเครื่องจักร นาฬิกาเรือนหนึ่งซึ่งไม่ได้หลอมละลายไปด้วย ได้ถูกคลุมด้วยมดหลายตัวซึ่งดูเหมือนว่ากำลังกลืนกินมันอย่างตะกละตะกลาม เช่นดังที่มันกลืนกินเวลาเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของเราไปนั่นเอง
นอกจาก de Chirico, ผู้ซึ่งได้วางนาฬิกาที่สามารถอ่านเวลาได้อย่างชัดเจนลงไปในมุมมองแล้ว บรรดาจิตรกรคนอื่นๆทั้งหมดกลับทำให้มันผิดรูปผิดร่างไป ทำให้นาฬิกาดูคลุมเครือ หรือไม่ก็ทำให้เสียรูป ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องเตือนว่า งานศิลปะของพวกเขาไม่สามารถที่จะเป็นตัวแทนเกี่ยวกับเวลาได้ กฎเหล็กของ Lessing ได้รับการท้าทาย แต่ก็ไม่เคยถูกเอาชนะได้
เวลากับนักปรัชญา
ข้อถกเถียงในเรื่องตัวแทนของความเปลี่ยนแปลงหรือความไม่มั่นคงของเวลา อาจได้รับการนำพาไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยบรรดานักปรัชญาทั้งหลายและนักเขียนนวนิยาย ผู้ซึ่งสามารถที่จะทำให้เวลาเป็นหลักการหรือกฎเกณฑ์ที่ขยายตัวออกไป
ทฤษฎีที่ว่า เวลาเป็นความเปลี่ยนแปลงไม่มั่นคง และไม่ใช่หน่วยที่แยกออกจากกันจำนวนหนึ่ง ได้รับการเชื่อมโยงกับทฤษฎีที่ว่า จิตสำนึกของมนุษย์คือกระแสธาร และไม่ใช่การรวมตัวกันของความสามารถต่างๆ หรือไอเดียทั้งหลายที่แยกออกจากกัน การอ้างอิงอันดับแรกต่อเรื่องจิตใจในฐานะที่เป็น "กระแสธารอันหนึ่งของความคิด" ปรากฏตัวขึ้นมาในความเรียงของ William James ในปี ค.ศ. 1884
เขาได้วิพากษ์วิจารณ์ทัศนะของ David Hume เกี่ยวกับเรื่องจิตใจในฐานะที่เป็น "การเกาะติดกันหรือการจับตัวขึ้นเป็นก้อนอันหนึ่ง ในรูปร่างต่างๆอันหลากหลาย ของชื่อต่างๆที่แยกๆกันอยู่ ซึ่งถูกเรียกว่าไอเดียต่างๆ" และการเป็นตัวแทนเกี่ยวกับมันของ Johann Herbart เป็นผลอันเนื่องมาจากการเป็นปฏิปักษ์ต่อกันของชื่อที่เรียกว่า Vorstellungen (a imaginable, conceivable)"
คำอธิบายต่างๆของเขาเกี่ยวกับ "แบบอันชั่วร้ายของกระแสความคิดที่บู้บี้และแหลกเหลว" ปฏิบัติการที่ผิดทำนองคลองธรรม และเป็นภัยอันตรายอันนี้ของอะตอมต่างๆของความรู้สึก คาดการณ์ถึงการทำให้เป็นอัตลักษณ์ของ Bergson เกี่ยวกับการเป็นตัวแทนในระวางเนื้อที่ของเวลาในฐานะที่เป็นความชั่วร้ายอย่างหนึ่ง"
James ได้จำแนกระหว่างส่วนต่างๆที่เป็นแก่นแท้ที่แยกกันอยู่ และ ส่วนต่างๆที่เลื่อนไหลเปลี่ยนผ่าน ซึ่งได้ถูกปฏิเสธโดยบรรดานักจิตวิทยาที่ให้ความสนใจต่อเรื่องของผัสสะ การใช้ประโยชน์ในการอุปมาอุปมัยที่โปรดปรานของเขา สำหรับกิจกรรมเกี่ยวกับจิตใจ James แสดงความเย้ยหยันจิตวิทยาความสัมพันธ์ ดังที่กล่าวเอาไว้ว่า แม่น้ำนั้นประกอบด้วยความเจ็บปวดของน้ำ แน่ทีเดียว "ภาพทุกภาพภายในจิตใจ ได้รับการทำให้ชุ่มโชกและย้อมสีน้ำที่อิสระที่รายรอบมัน"
เหตุการณ์ทางด้านจิตใจแต่ละเหตุการณ์ ได้ถูกเชื่อมโยงกับสิ่งเหล่านั้นที่มีมาก่อนและหลังจากนั้น ทั้งใกล้และไกล ซึ่งกระทำการคล้ายกับ"รัศมี"ที่อยู่รายรอบ หรือ"ขอบรอบนอก" มันไม่มีก้าวย่างโดดๆสำหรับชีวิตทางด้านจิตใจของเรา ซึ่ง"เหมือนกันกับชีวิตของนกตัวหนึ่ง ที่ดูเหมือนว่าได้ถูกสร้างขึ้นมาโดยการสลับกันระหว่าง"การบิน"และ"การเกาะคอน" ทั้งหมดของมันกระเพื่อมขึ้นๆลงๆและช้าๆ ส่วนต่างๆที่ผิดแผกจากกันเคลื่อนตัวไปตามอัตราความเร็วที่แตกต่างกัน จับหรือสัมผัสกับอีกอันหนึ่งคล้ายๆการไหลวนของกระแสอันวุ่นวายสับสน
ในปี ค.ศ. 1890 James ได้ย้ำถึงข้อถกเถียงต่างๆเหล่านี้อีก ในตำราทางจิตวิทยาอันเป็นที่นิยมเล่มหนึ่ง และได้เพิ่มเติมหลักการหรือกฎเกณฑ์บางอย่างเข้าไป ซึ่งได้กลายมาเป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงต่อมาภายหลัง...
"ความสำนึก ไม่ปรากฏว่าตัวของมันเองนั้นถูกตัดออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย คำต่างๆอย่างเช่น"สายโซ่"หรือ"ขบวนแถว" ไม่ได้อธิบายมันได้อย่างเหมาะสม… มันไม่ได้ถูกเชื่อมต่อแต่อย่างใด มันเป็นสิ่งที่เลื่อนไหล "สายน้ำ"หรือ"กระแสธาร"เป็นคำต่างๆที่ใช้ในการอุปมาอุปมัยมัน ซึ่งเวลาได้รับการอธิบายที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด ในการพูดถึงมันต่อจากนี้ไป ขอให้เราเรียกมันว่ากระแสของความคิด(stream of thought) กระแสของความสำนึก(stream of consciousness)"
ถึงแม้ว่า James และ Bergson มีแนวโน้มที่จะใช้คำอุปมาอุปมัยบางอย่างที่ต่างกันไป เพื่อแสดงถึงอัตลักษณ์ของความคิดก็ตาม แต่เขาทั้งสองต่างก็เห็นด้วยกันว่า มันไม่ได้ประกอบตัวขึ้นมาจากส่วนต่างๆที่แยกออกจากกัน หรือเป็นส่วนๆซึ่งไม่ปะติดปะต่อกัน ชั่วขณะใดก็ตามของความสำนึก เป็นการสังเคราะห์กันอันหนึ่งของอดีตและอนาคตที่แปรเปลี่ยนไปตลอด และนั่นมันเป็นความเลื่อนไหล
ใน An Introduction to Metaphysics (1903) Henri Bergson เริ่มเรื่องหัวข้อเกี่ยวกับธรรมชาติของเวลาที่ไหลเลื่อนเคลื่อนที่ โดยการจำแนกวิธีการสองประการเกี่ยวกับการรู้: นั่นคือ หนึ่ง, การรู้แบบสัมพัทธภาพและ สอง, การรู้แบบสัมบูรณ์(relative and absolute)
แต่ก่อนนั้น ลักษณะไม่ค่อยดีนักได้รับการทำให้ประสบผลสำเร็จ โดยการเคลื่อนไปรอบๆวัตถุชิ้นหนึ่ง หรือโดยการรับรู้มันโดยผ่านสัญลักษณ์หรือคำต่างๆ ซึ่งล้มเหลวที่จะแสดงธรรมชาติที่แท้จริงของมันได้ ความรู้แบบสัมบูรณ์ได้ถูกทำให้บรรลุผลโดยการมีประสบการณ์บางอย่าง ดังที่มันเป็นจากภายใน ความรู้สัมบูรณ์อันนี้ สามารถถูกทำให้มีขึ้นมาได้โดยสหัชญานหรือการหยั่งรู้(intuition)เท่านั้น ซึ่งเขาให้คำจำกัดความหรืออธิบายว่าเป็น "ชนิดหรือลักษณะของความเข้าอกเข้าใจทางสติปัญญา ซึ่งคนๆหนึ่งได้วางตัวของเขาเองเข้าไปภายในวัตถุชิ้นหนึ่ง เพื่อที่จะเห็นพ้องต้องกันกับสิ่งที่เป็นลักษณะเฉพาะพิเศษในมัน และเนื่องจากเหตุนั้นจึงไม่อาจที่จะแสดงออกมาได้"
ในที่นี้เราได้เผชิญหน้ากับความยุ่งยากที่สำคัญ ในเป้าหมายเกี่ยวกับปรัชญาของเขา ถ้าหากว่าความรู้แบบสัมบูรณ์เป็นสิ่งซึ่งไม่อาจแสดงออกมาได้ ทำอย่างไร เราจึงจะสามารถเขียนเกี่ยวกับมันออกมาได้ และได้รับประโยชน์จากมัน ?
Bergson พยายามอย่างหนักที่จะสื่อสารความรู้ชนิดนี้ออกมา และการมีอยู่อันนี้ที่ออกมาจากมัน โดยการเปรียบเปรยและการอุปมาอุปมัย เขายอมรับอย่างรวดเร็วว่า แม้จะทำเช่นนั้นแล้วก็ตาม ก็ไม่เคยเลยที่จะสามารถแสดงมันออกมาได้อย่างเต็มที่ แต่การอุปมาอุปมัยต่างๆประสบความสำเร็จในบางส่วนเพราะว่า พวกเราทุกคนต่างมีส่วนร่วมปันกับประสบการณ์อันหนึ่งเกี่ยวกับสหัชญานหรือการหยั่งรู้นั่นเอง: "บุคลิกภาพของตัวเราเองกับการไหลเลื่อนเคลื่อนไปผ่านกาลเวลา - ตัวของเราเองซึ่งยืนยง"
เมื่อเขาพิจารณาใคร่ครวญตัวตนภายในของเขาเอง เขาได้ค้นพบ "การเปลี่ยนแปลงเลื่อนไหลที่ต่อเนื่อง ความต่อเนื่องกันอันหนึ่งของสภาวะต่างๆ แต่ละสภาวะได้แสดงหรือประกาศว่ามันดำเนินรอยตามและได้บรรจุสิ่งซึ่งมีมาก่อนหน้ามันเอาไว้". ชีวิตภายในอันนี้คล้ายดั่งกับสิ่งที่คลี่คลายหรือค่อยๆปรากฏตัวออกมาของเหรียญๆหนึ่ง หรือการหมุนตัวอย่างต่อเนื่องของสายใย
แต่ในขณะที่เขานำเสนอการเปรียบเทียบเหล่านี้ เขาก็ยอมรับว่ามันกำลังนำไปผิดทางหรือทำให้เกิดความเข้าใจผิดในเวลาเดียวกัน เพราะว่ามันอ้างอิงถึงบางสิ่งบางอย่างที่เป็นเรื่องของระวางเนื้อที่ ด้วยเหตุที่ว่า ชีวิตทางจิตตามความเข้าใจที่ถูกต้องนั้น มิได้ถูกยืดขยายอยู่ในระวางเนื้อที่ แต่ถูกยืดขยายอยู่ในกาลเวลา
ในความพยายามครั้งสุดท้ายที่จะนำเสนอหรือหาวิธีเปรียบเปรยให้ใกล้เคียง Bergson ได้น้อมนำให้ผู้อ่านจินตนาการถึง "เรือนร่างที่ยืดหยุ่นอันไม่สิ้นสุด [ที่ไม่อาจจะจินตนาการได้], ซึ่งหดย่น ถ้าหากว่ามันเป็นไปได้ [แต่อันนี้ก็เป็นไปไม่ได้] สู่ประเด็นหนึ่งทางด้านคณิตศาสตร์". จินตนาการถึงเส้นๆหนึ่งลากออกมาจากจุดนั้น และถัดมาก็โฟกัสลงไปที่ ไม่ใช่ที่เส้นๆนั้น แต่เป็นการกระทำดังกล่าว ซึ่งมันได้ถูกตามรอยไป
ดังนั้น "ขอให้ตัวของเราเองเป็นอิสระจากระวางเนื้อที่ ซึ่งอยู่ข้างใต้ความเคลื่อนไหว เพื่อที่จะพิจารณาแต่เพียงความเคลื่อนไหวในตัวของมันเอง การกระทำของแรงตึงหรือการยืด กล่าวอย่างสั้นๆโดยสรุปก็คือ การเคลื่อนไหวอันบริสุทธิ์. จะมีก็ช่วงเวลานี้ที่เราจะได้ภาพที่ซื่อสัตย์เชื่อถือได้มากที่สุด เกี่ยวกับพัฒนาการของตัวของเราเองในเรื่องของช่วงเวลา(duration)"
ดังที่ Bergson ขอร้องเราให้จินตนาการถึงบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อาจจินตนาการได้ นึกคิดถึงการกระทำอันหนึ่งเกี่ยวกับภาพของสิ่งที่ไม่อาจจินตนาการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อาจนึกคิดได้ และจากนั้น ทำให้เกิดข้อจำกัดอันหนึ่งขึ้นมาเกี่ยวกับความสนใจของเราที่มีต่อแง่มุมของการกระทำอันนั้นที่เป็นสิ่งซึ่งเป็นไปไม่ได้. ผลของความพยายามเปรียบเปรยอันนี้ วางอยู่ข้างใต้ความยุ่งยากของการแสดงออกในคำต่างๆ ธรรมชาติที่แท้จริงของการมีอยู่ของเราในห้วงเวลา ซึ่งเขาเรียกมันว่า"ช่วงเวลา"(duration)(duree)
Bergson ได้กลายเป็นธูปหอมหรือกำยานทางด้านความคิดร่วมสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิทยาศาสตร์ มีแนวโน้มที่จะบิดผันประสบการณ์จริงของ duree (ช่วงเวลา - duration) และนำเสนอมันในเชิงระวางเนื้อที่(spactially) เช่นดังบนหน้าปัดนาฬิกาเรือนหนึ่ง. เศษหนึ่งส่วนสี่(a quarter)ชั่วโมง กลายเป็น 90 องศาของส่วนเสี้ยวของวงกลมที่ได้รับการตัดผ่านโดยเข็มนาที
ในข้อถกเถียงเชิงเหตุผลอีกอันหนึ่ง ที่มีต่อการแปลเวลาไปสู่ระวางเนื้อที่ เขาโต้แย้งหักล้างข้อพิสูจน์ของ Zeno ที่ว่า การเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปไม่ได้. Zeno สรุปว่า ถ้าหากว่าลูกศรคันหนึ่งที่ลอยอยู่ในอากาศผ่านจุดหลายๆจุดตามแนววิถีของมัน มันจะต้องนิ่งเมื่ออยู่ ณ ที่นั้น และด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเคลื่อนไปไหนได้เลย
Bergson ตอบโต้ว่า จากข้อสันนิษฐานดังกล่าวนั้นมันผิดพลาด เพราะว่า ลูกศรสามารถอยู่ ณ จุดๆหนึ่งได้. "ลูกศรไม่เคยอยู่ ณ จุดใดเลยเกี่ยวกับแนววิถีของมัน อย่างมากที่สุดซึ่งเราสามารถจะกล่าวได้ก็คือว่า มันอาจอยู่ที่นั่น ซึ่งมันได้ผ่านที่นั่นและอาจหยุด ณ ที่นั้น" ความเคลื่อนไหว อย่างเช่น "เวลา" เป็นความเปลี่ยนแปลงเลื่อนไหลที่ไม่อาจแบ่งแยกได้
Zeno ได้ล้มล้างต่อข้อสันนิษฐานที่ว่า การแบ่งแยกนั้นเป็นไปได้ และที่ว่า "สิ่งที่เป็นจริงของเส้นทางซึ่งตามรอยเส้นทางดังกล่าว มันเป็นจริงเกี่ยวกับความเคลื่อนไหว". เส้นทางอาจถูกแบ่งแยก แต่การเคลื่อนไหวจะไม่ และโดยเหตุนี้ เวลา : เราไม่สามารถพิจารณาความเคลื่อนไหวในฐานะที่เป็นผลรวมของการหยุดต่างๆ หรือใคร่ครวญเวลาว่าเป็นผลรวมของอะตอมเวลา (temporal atoms) โดยที่ไม่บิดเบือนธรรมชาติอันเลื่อนไหลซึ่งเป็นแก่นแท้ของมัน
ทฤษฎีเกี่ยวกับช่วงเวลาของ Bergson ได้ก่อให้เกิดการขานรับทางวัฒนธรรมอย่างกว้างขวางและแปรผันวัฒนธรรมไป เรียงลำดับจากการให้ความสนับสนุนอย่างเร่าร้อน จนกระทั่งถึงการประณามและตำหนิอย่างรุนแรง
ในช่วงทศวรรษที่ 1890s, Georges Sorel ได้พัฒนาพิมพ์เขียวอันหนึ่งขึ้นมาสำหรับการปฏิวัติสังคมนิยม ซึ่งมีความตั้งใจที่จะสร้างสรรค์"การหยั่งรู้-สหัชญาน" ของลัทธิสังคมนิยมขึ้นสำหรับคนงานทั้งหลาย โดยการมีส่วนร่วมอยู่ในการสไตร์คทั่วๆไป
ในภาษาแบบ Bergsonian นั้น Sorel อ้างว่า การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการปฏิวัติสังคมนิยมในฐานะที่เป็นสิ่งที่คงที่ อันนี้ทำให้พลาดแก่นสารทางธรรมชาติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ไป ซึ่งจะต้องได้รับการหยั่งรู้ในการเลื่อนไหลของช่วงเวลาของตัวมัน เขาพบว่า ชนชั้นแรงงานชาวยุโรปได้ยุติแนวทางการปฏิวัติของตัวเองลง คล้ายดังลูกศรของ Zeno ที่ถูกหยุดลงในขณะที่บินอยู่ - อันนี้ได้รับการแช่แข็งอย่างเทียมๆ
Charles Peguy ได้ใช้ปรัชญาของ Bergson เพื่อโจมตีขนบประเพณีแบบ Cartesian (ผู้นิยมปรัชญาของ Decartes) ซึ่งเขาเชื่อว่า ได้มาล็อคหรือกักความคิดฝรั่งเศสให้อยู่กับอาการแข็งเกร็ง ซึ่งไม่ยังผลประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น Peguy ได้อธิบายถึงความตายทางจิตวิญญานของศาสนาคริสต์สมัยใหม่ โดยการทำซ้ำอันไร้เหตุผลของมันเกี่ยวกับไอเดียต่างๆที่ได้รับการกำหนดตายตัว: มันเป็นชั้นต่างๆของอุปนิสัย ที่ทำให้พลังงานทั้งหลายซึ่งเป็นพลวัตร หายใจไม่ออกเกี่ยวกับศรัทธาที่แท้จริง
ในย่อหน้าสรุปของเรื่อง Creative Evolution นั้น Bergson ได้ให้เค้าโครงหรือกรอบของจุดมุ่งหมายที่เหมาะสมเกี่ยวกับนักปรัชญา ผู้ซึ่งได้แจกแจงสัญลักษณ์ต่างๆที่กำหนดตายตัวขึ้นมาทั้งหมด. "เขาจะมองเห็นโลกทางวัตถุได้หลอมละลายกลับไปสู่การเลื่อนไหล นั่นคือ การไหลเลือนที่ต่อเนื่องกัน ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง" ทัศนะความคิดอันนี้ทำให้นักวิจารณ์ของ Bergson บางคนมีความน่ากลัวขึ้นมา
บางที ที่มีสีสรรมากที่สุดของผู้กล่าวร้ายเขา และแน่นอน ผู้ที่ควบคุมอารมณ์ความรู้สึกไม่อยู่(hysterical)มากที่สุด ก็คือศิลปินชาวอังกฤษ Wyndham Lewis ซึ่งในปี ค.ศ. 1927 ได้สรุปว่า เรื่องโรมานซ์ของ Bergson เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเลื่อนไหล(flux) เป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการอันอับโชคในโลกสมัยใหม่ ซึ่งได้กุหรือปรุงเอาความแตกต่างที่ชัดถ้อยชัดคำขึ้นมาเกี่ยวกับการวิเคราะห์อันกระจ่างแจ้งลงไปในหม้อตุ๋นของช่วงเวลาอันมืดมน(murky durational stew). Lewis ได้กล่าวหา Bergson เกี่ยวกับการวางเครื่องหมายยติภังค์(hyphen)ระหว่าง ระวางเนื้อที่ และเวลา(space and time) และเขาได้บันทึกการไม่เห็นด้วยอย่างเร่าร้อนดังนี้:
มากเท่าที่เขารู้สึกสนุกกับการมองดูสิ่งต่างๆ "ในลักษณะทะลุทะลวง"และ"ผสมรวมกัน" พวกเรารู้สึกสนุกกับภาพที่ตรงกันข้ามของมันที่ยืนหยัดอยู่อีกด้านซึ่งต่างออกไป - สายลมพัดพาระหว่างพวกมัน และอากาศก็หมุนเวียนอย่างอิสระเข้าไปข้างในและข้างนอกสิ่งเหล่านั้น: มากเท่ากับที่เขารู้สึกสนุกกับ"ความไม่ชัดเจน", "เกี่ยวกับคุณสมบัติ", ความพร่ามัวคลุมเครือ, เกี่ยวกับความรู้สึกสัมผัสและความปลาบปลื้ม, มากยิ่งกว่าที่เราได้ให้คุณค่าความชัดเจน, เรขาคณิต, ความเป็นสากล, แสงที่กระจ่างแจ้ง, สิ่งที่ไม่มีความรู้สึกสัมผัส. สู่ร่องรอยของดนตรี, กับภาวะครอบงำของมันเกี่ยวกับเวลา, ด้วยความเร่งเร้าทางอามณ์ความรู้สึกของมันและการปลุกเร้าอวัยวะภายใน, เราชื่นชอบสิ่งที่ Bergson เรียกว่า "ภาวะครอบงำของระวางเนื้อที่"(obsession of space)
Lewis มองถึงปรัชญาของ Bergson และฟิสิกส์ของ Einstein เช่นเดียวกับวรรณกรรมจำนวนมากของยุคสมัยนั้นในฐานะที่เป็น "ความคิดความเชื่อที่เก่าคร่ำครึที่ยิ่งใหญ่" ซึ่งสมคบคิดที่จะยักย้ายเส้นทางหรือแนวทางอันชัดเจนไปจากศิลปะ และแบ่งแยกความสามารถต่างๆออกจากการรับรู้ของมนุษย์. เขาพบตัวอย่างอีกอันหนึ่งเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงเลื่อนไหลแบบ Bergsonian ใน "ความอ่อนนุ่ม, ความปวกเปียก, และความคลุมเครือ" เกี่ยวกับเรื่อง Ulysses ของ James Joyce
เวลากับนักเขียนนวนิยาย
การปฏิบัติของ Joyce เกี่ยวกับกระแสธารแห่งความสำนึก เป็นการบรรลุถึงจุดสุดยอดของพัฒนาการทางวรรณกรรม ซึ่งได้รับการสำรวจครั้งแรกโดย Sterne และได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาในปี ค.ศ. 1888 โดย Edouard Dujardin ในนวนิยายเรื่องหนึ่ง ซึ่งความคิดต่างๆของตัวเอกหรือตัวสำคัญในเรื่องเกี่ยวกับอดีตและอนาคต ได้ถูกนำเสนอไปตามการรับรู้ต่างๆที่แพร่หลายทั่วไปของเขา
เทคนิคอันนี้ได้รับการจำแนกในฐานะที่เป็นการพูดคนเดียวภายใน เพราะว่าการทำงานภายในของจิตใจที่ถูกให้มาโดยตรงนั้น ปราศจากความชัดเจนแจ้มแจ้งเกี่ยวกับตัวผู้ประพันธ์ อย่างเช่น "เขาคิด" หรือการอธิบายต่างๆเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
บรรดานักประพันธ์เป็นจำนวนมากก่อนหน้า Dujardin ได้พยายามที่จะวิเคราะห์ความคิดต่างๆของตัวละครตัวหนึ่ง และบางครั้งบางคราว พวกเขาถึงกับบรรยายหรือเล่าถึงมันราวกับว่าผ่านความสำนึกของตัวละครตัวหนึ่ง แต่ไม่มีใครเลยที่ทำได้ถึงระดับ"ก่อนคำพูด"(prespeech)ของความสำนึก ในประเด็นหรือมูลเหตุของนวนิยายทั้งหมด
ถึงแม้ว่าเทคนิคดังกล่าวได้รับการตั้งใจที่จะสร้างสรรค์ความสมบูรณ์ทั้งหมดเกี่ยวกับความสำนึกขึ้นมาใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มันถูกทำให้เหมาะสมอย่างดีในการเกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงเลื่อนไหลของกาลเวลา เช่นดังที่ย่อหน้าต่อไปนี้ได้แสดงให้เห็น:
นาฬิกาตีบอกเวลา 6 โมง ซึ่งเป็นเวลาที่ข้าพเจ้ารอคอยอยู่ ที่นี่คือบ้านซึ่งข้าพเจ้าได้เดินเข้าไป ที่ซึ่งข้าพเจ้าได้พบกับบางสิ่งบางอย่าง; บ้าน; ห้องโถง; เข้าไปข้างใน. เย็นย่ำเข้ามาครอบงำ ดีที่อากาศกำลังสดชื่น บางสิ่งอันร่าเริงอยู่ในอากาศ. บันไดทางขึ้นชั้นบน บันไดขั้นแรก ตามที่อนุมาน เขาออกไปตั้งแต่เช้า บางครั้งเขาทำเช่นนั้น แต่ข้าพเจ้าได้บอกกับเขาถึงเรื่องราวเกี่ยวกับวันของข้าพเจ้า. หัวบันไดขั้นแรก กว้างขวาง เป็นขั้นบันไดที่สว่าง; บานหน้าต่างๆหลายๆบาน. เขาเป็นเพื่อนที่เยี่ยมยอดของข้าพเจ้าคนหนึ่ง เพื่อนรักของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าบอกเขาทุกอย่างเกี่ยวกับเรื่องความรักของตัวเอง. ยามเย็นที่สบายอีกวันหนึ่งมาถึง อย่างไรก็ตาม เขาไม่สามารถที่จะทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกสนุกสนานได้อีกแล้วหลังจากนี้ ข้าพเจ้ากำลังจะมีช่วงเวลาที่วิเศษสุด
ถึงแม้ว่า เวลาในลักษณะบอกเล่าเกี่ยวกับส่วนเสี้ยวจะต่อเนื่องเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น แต่เวลาส่วนตัวกลับยืดขยายออกไปเป็นช่วงเวลาขนาดใหญ่ และการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่เอาแน่ไม่ได้ การพูดคนเดียวภายในโดยตรงของ Dujardin ได้แสดงออกถึงการทำงานภายในของจิตใจด้วยช่วงห่างหรือช่องว่างสั้นๆ เกี่ยวกับความสนใจ การผสมผสานของมันทางด้านความคิดและการรับรู้ และการก้าวกระโดดซึ่งไม่อาจทำนายได้ในระวางเนื้อที่และเวลา
ศัพท์คำว่า"กระแสของความสำนึก" ซึ่งมาในรูปตัวหนังสือ ได้ใช้กันหลังจากปี ค.ศ. 1890 ตามมาด้วยนิยามความหมายอันมีชื่อเสียงของ William James. แม้ว่า Ulysses จะไม่เกี่ยวข้อง หรือเป็นประโยชน์ต่อเรื่องของการพูดคนเดียวภายในโดยตรง(direct interior monologue) ของ Dujardin หรือเรื่องของกระแสแห่งความสำนึก(stream of consciousness) ของ James, แต่มันก็ได้นำเสนอการรวมตัวกันที่ดีเยี่ยมขึ้นมา เกี่ยวกับพัฒนาการในรุ่นหนึ่งทางด้านวรรณกรรมและปรัชญา บนธรรมชาติเกี่ยวกับความสำนึกของมนุษย์และชีวิตของมันในเรื่องเวลา
ส่วนต่างๆของการพูดคนเดียวภายในโดยตรง ได้ถูกทำให้กระจัดกระจายไปทั่วนวนิยาย ด้วยการเลื่อนไหลโดยไม่มีการขัดจังหวะในตอนท้าย ดังที่ Molly Bloom ได้ค่อยๆจางหายไปในการหลับไหลในช่วงตอนจบ คำกริยาที่ผันตามกาลที่แตกต่างกันในย่อหน้าหนึ่ง เผยให้เห็นถึงลำดับการณ์ของการกระโดดไปกระโดดมาอย่างกว้างขวางของเธอเกี่ยวกับสเปคตรัมของเวลา
…ท้องของฉันใหญ่เกินไปเล็กน้อย ซึ่งจะต้องตักเอาอาหารเย็นออกไปด้วยการตัดสินใจอันเด็ดเดี่ยว หรือว่าฉันชอบมันมากไป ครั้งหลังสุดที่พวกเขาส่งมาจาก O Rourkes นั้น มันชิ้นใหญ่และหนาเท่าๆกันกับแพนเค็ก ซึ่งเขาทำเงินของเขาได้ง่าย. Larry พวกนั้นเรียกเขาว่า ห่อขี้เรื้อนเก่าๆ ที่เขาส่งมาให้เมื่อตอน Xmas เค็กจากกระท่อม และอะไรไม่รู้ขวดหนึ่งซึ่งไม่มีค่า เขาพยายามที่จะหลอกขายในฐานะที่เป็นเหล้าองุ่นแดง ซึ่งเขาไม่สามารถทำให้ใครดื่มได้ พระเจ้า ยกโทษให้กับการแสดงความกลัวของเขาออกมา สำหรับความตายด้วยความกระหาย หรือฉันจะต้องฝึกการหายใจเล็กน้อย ฉันสงสัยว่า การต่อต้านความอ้วนที่ดีๆนั้นอาจมากเกินไป ซึ่งมันทำให้ใครๆผอม และจะไม่เป็นแฟชั่นสายรัดถุงเท้าอีกต่อไปแล้วตอนนี้ ซึ่งฉันมีอยู่คู่หนึ่งสีม่วงและฉันใส่มันวันนี้…
การอุปมาอุปมัยเกี่ยวกับคำว่า"กระแส" ไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวงกับการอธิบายถึงกิจกรรมทางจิตอันนี้ ทั้งนี้เพราะ มันเสนอถึงการเลื่อนไหลที่มั่นคงในแนวทางที่ค่อนข้างตายตัวนั่นเอง ในขณะที่จิตใจของ Molly นั้นเกี่ยวพันกันกับสิ่งทั้งหลายทั้งปวงของเธอ ในการท้าทายต่อการคำนวณตามขนบประเพณีเกี่ยวกับจังหวะก้าวย่างหรือทิศทางดังกล่าว ในกรณีหลังสุดนี้ Joyce บรรลุผลสำเร็จในการอธิบายได้อย่างบริบูรณ์เกี่ยวกับเรื่องเวลาในโลกของ Molly ดังที่ได้ประสบในความสำนึกของเธอ
อันนี้เป็นเพียงกรณีเดียวเท่านั้นที่ Joyce กำหนดหรือระบุลงไปว่า ไม่มีชั่วโมงที่ชี้เฉพาะของวัน และสัญลักษณ์ของมันนั้น ไปเกี่ยวพันกับความเป็นนิรันดร์และการไม่มีที่สิ้นสุด. มิติต่างๆที่ตายตัวของเวลาตามขนบประเพณี(conventional time) กับตัวแบ่งที่ชัดเจน เป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ที่จะแบ่งแยกหรือกำหนดการกระทำในจิตใจของเธอ อันนี้ดูเหมือนว่าจะไม่เกี่ยวข้องหรือตรงประเด็นนักที่จะถามว่า "เมื่อไร"ที่ Molly มีความคิดทั้งหลายเหล่านี้ เช่นเดียวกันกับ มันจะเป็นเรื่องที่เหลวไหลมากที่จะถามเธอว่า "ที่ไหน"
อันนี้เป็นการเขียนขึ้นมาใหม่อันไม่มีที่สุดเกี่ยวกับเรื่องราวของชีวิตเธอ ซึ่งเปลี่ยนแปลงโดยภาพสะท้อนที่ผ่านไปทุกๆอย่าง และความวูบวาบทุกๆครั้งเกี่ยวกับเรื่องเพศ ความทรงจำของเธอนั้นไม่ใช่ความสามารถ สำหรับการนำมาซึ่งความคิดต่างๆที่กำหนดตายตัว ซึ่งหลุดรอดมาจากอดีต; มันเป็นสิ่งหนึ่งซึ่งสามารถทำให้เธอเปลี่ยนรูปมันไปครั้งแล้วครั้งเล่า ในการสร้างสรรค์อันไม่สิ้นสุด เกี่ยวกับความสำนึกที่มีอยู่ของเธอ ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่เลื่อนไหลโดยไม่มีการแบ่งแยกความคิด หรือโดดเดี่ยวชั่วขณะต่างๆของเวลาออกไปได้
3. เวลาสมารถพลิกกลับได้ หรือไม่อาจพลิกกลับได้
โครงสร้างทางประวัติศาสตร์ ความเคลื่อนไหวที่รุดหน้าไปอย่างไม่มีการขัดจังหวะของนาฬิกา กระบวนการของวันเวลา ฤดูกาลต่างๆ และเดือนปี รวมถึงสามัญสำนึกบอกกับเราว่า เวลาเป็นสิ่งซึ่งไม่อาจย้อนคืนกลับไปได้ และรุดไปข้างหน้าด้วยอัตราความเร็วที่มั่นคงสม่ำเสมอ
กระนั้นก็ตาม รูปลักษณ์ต่างๆเหล่านี้เกี่ยวกับเวลาแบบขนบประเพณีก็ได้รับการท้าทาย ดังที่บรรดาศิลปินทั้งหลายและปัญญาชนต่างๆนึกคิดในเรื่องของเวลา ว่า มันพลิกกลับตัวของพวกมันเอง เคลื่อนไหวด้วยจังหวะที่ไม่สม่ำเสมอ, และแม้กระทั่งถึงกลับหยุดนิ่งตายตัวเลยทีเดียว
ในเรื่อง fin de siede (end of century) ลูกศรของเวลามิได้แล่นตรงเสมอไป และเป็นจริงอย่างนั้น การท้าทายอันนี้มีพื้นฐานอยู่บนพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีสองประการ: นั่นคือ "แสงไฟฟ้า" และ "ภาพยนตร์"
เวลากับแสงไฟฟ้า
หลอดไฟที่สว่างจ้าที่เป็นประโยชน์ในทางการค้าได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาโดย Thomas Alva Edison ในปี ค.ศ. 1879 และในสามปีต่อมา เขาได้เปิดการให้บริการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับไฟฟ้าสาธารณะขึ้นที่เขตท้องที่ Pearl Street ในเมืองนิวยอร์ค ที่ซึ่งทำให้เกิดความเป็นไปได้ของการใช้แสงสว่างจากไฟฟ้าอย่างกว้างขวางแพร่หลายทั่วไป
นักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมที่โดดเด่น Rayner Banham เรียกการจัดหาพลังงานไฟฟ้านี้ว่า "การปฏิวัติสภาพแวดล้อม ซึ่งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ นับตั้งแต่การนำไฟมาใช้ในบ้าน(ทำให้ไฟเชื่องลง)" หนึ่งในผลที่ตามมามากมายเกี่ยวกับความมีประโยชน์เหล่านี้ก็คือ มันมีราคาถูก และรูปแบบที่วางใจได้เกี่ยวกับการส่องสว่าง ซึ่งทำให้เกิดความพร่ามัวอันหนึ่งขึ้นมาเกี่ยวกับการแบ่งแยกระหว่าง"กลางวัน"และ"กลางคืน"
แน่นอน ตะเกียงแก๊สและเทียนไขสามารถให้ความสว่างในความมืดได้ แต่มันไม่อาจที่จะบรรลุถึงพลังอำนาจอันมหาศาลเกี่ยวกับหลอดไฟที่สว่างโชติช่วง และเสนอว่า การสลับกันตามปกติของกลางวันและกลางคืน คือประเด็นของการปรับตัว
หนึ่งในข้อสังเกตอันมากมายเหล่านั้น เกิดขึ้นในนวนิยายเรื่องหนึ่งของปี ค.ศ.1898 ที่ซึ่งฉากของถนนบรอดเวย์ในยามค่ำคืน ได้รับการส่องสว่างโดยการแสงไฟที่เจิดจ้าของไฟฟ้าที่ปล่อยออกมา ซึ่งได้ให้ผลเกี่ยวกับ"การเปลี่ยนรูปไปตลอดกาล"ของกลางคืนเป็นกลางวัน
เวลากับภาพยนตร์
จากทัศนียภาพอีกภาพหนึ่ง ภาพยนตร์ได้แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของปรากฎการณ์เกี่ยวกับเรื่องของเวลา ที่แสดงถึงความเป็นเอกภาพและการไม่สามารถย้อนคืนกลับไปได้ของเวลา นักบุกเบิกคนหนึ่งเกี่ยวกับภาพยนตร์ในฝรั่งเศส Georges Melies ได้ระลึกถึงเหตุการณ์เรื่องราว ซึ่งได้ให้แรงดลใจเกี่ยวกับกลเม็ดชุดหนึ่งของภาพถ่ายความเคลื่อนไหว
วันหนึ่งในปี ค.ศ. 1896, Melies กำลังถ่ายฉากถนนฉากหนึ่งที่ the Place de I'Opera และกล้องของเขาเกิดอาการติดขัดขึ้นมา หลังจากนั้นอีกสักครู่ เขาก็ทำให้มันทำงานต่อไปได้และถ่ายภาพต่อไป และเมื่อเขาได้ฉายภาพที่ต่อเนื่องทั้งหมด มันได้ทำให้เกิดมายาภาพขึ้นมาซึ่ง รถโดยสารคันหนึ่ง ทันใดนั้น ได้เปลี่ยนไปเป็นรถบรรทุกศพคันหนึ่ง
อันนี้ทำให้ Melies ได้รับประโยชน์หรือผลของปรากฎการณ์ต่างๆอย่างหลายหลาก ที่เขาสามารถบรรลุถึงได้ต่อมา โดยการหยุดกล้องเอาไว้ และการเปลี่ยนฉาก เขาใช้เทคนิคอันนี้ในเรื่อง The Vanishing Lady (1896) ที่ซึ่งโครงกระดูกได้กลายเป็นผู้หญิงคนหนึ่งขึ้นมาโดยฉับพลันทันที ซึ่งบ่งนัยถึง ทั้งการการก้าวกระโดดของเวลา และการพลิกกลับของมัน
Melies หยุดกล้องเพื่อจะทำให้เกิดผลในกลเม็ดหรือเล่ห์เหลี่ยมอันนี้ ส่วนนักสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกัน Edwin S. Porter ค้นพบว่า เวลาสามารถที่จะถูกบีบอัดเข้ามาได้ และมันยังสามารถยืดขยายออกไปได้ หรือย้อนกลับได้ในวิธีการปรับเปลี่ยนหลายหลากโดยการเรียบเรียงหรือการตัดต่อภาพยนตร์
ช่วงระยะเวลา อันที่จริงสามารถที่จะถูกนำมาตัดออกจากลำดับการณ์ตามปกติ และระเบียบแบบแผนของเวลา อีกทั้งสามารถที่จะถูกนำมาแก้ไขดัดแปลงได้ตามต้องการ เขาได้ประยุกต์ใช้เทคนิคทั้งหลายเหล่านี้ในภาพยนตร์เรื่อง The Life of an American Fireman (1902) ซึ่งฉากแรก เราได้เห็นคนๆหนึ่งกดสัญญานเตือนภัยไฟไหม้ขึ้น และต่อจากนั้น ได้เห็นภาพของบรรดานักดับเพลิงทั้งหลาย ที่กำลังนอนหลับอยู่ก่อนเสียงสัญญานไฟไหม้ดัง
David Griffith ได้พัฒนาเทคนิคการตัดต่อคู่ขนาน(parallel editing)ขึ้นมา เพื่อยืดขยายเวลาออกไป โดยการแสดงให้เห็นถึงการกระทำโดยทันทีในเวลาเดียวกัน ที่ตอบโต้หรือขานรับต่อเหตุการณ์หนึ่งๆ. ใน A Corner on Wheat (1909) ครั้งแรก Griffith ได้ใช้เทคนิคภาพแช่แข็ง(freeze-frame) โดยการให้ตัวแสดงต่างๆของเขานิ่งงันอยู่ เพื่อสร้างมายาภาพของเวลาที่หยุดนิ่ง
ในปี ค.ศ. 1916, Hugo Munsterberg บันทึกไว้ว่า นักเขียนบทละครร่วมสมัยหลายคน พยายามที่จะเลียนแบบกล้องถ่ายภาพยนตร์ และใช้เวลาย้อนกลับบนเวที เช่นดังในเรื่อง Between the Lines ของ Charlotte Chorpenning, ที่ซึ่งฉากที่สอง สาม และสี่ ได้น้อมนำไปสู่บ้านซึ่งแตกต่างกันสามหลัง และจดหมายต่างๆส่งมาถึง การแสดงในที่ต่างๆสามแห่งไม่เพียงนำมาก่อนการเขียนจดหมายเหล่านั้นเท่านั้น แต่มันเกิดขึ้นมาในเวลาเดียวกันด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น ภาพตัวแทนที่น่าประทับใจอันหนึ่งเกี่ยวกับการย้อนกลับของเวลา ได้รับการสร้างขึ้นมาโดยการหมุนฟิล์มย้อนกลับ(ฉายถอยหลัง)ผ่านเครื่องฉายภาพยนตร์ ได้มีการพยายามทำเช่นนั้นขึ้นมาเป็นครั้งแรกโดย Louis Lumiere ในเรื่อง Charcuterie mecanique (pork-butcher machanics(1895)
นักวิจารณ์ภาพยนตร์คนหนึ่ง ได้อธิบายถึงผลที่เกิดขึ้นอันน่าประหลาดใจนี้ว่า: เด็กๆลอยขึ้นมาจากน้ำและตกลงบนกระดานสปริง(สำหรับกระโดดน้ำ) นักดับเพลิงอุ้มเหยื่อของพวกเขากลับเข้าไปยังอาคารที่กำลังลุกเป็นไฟ ไข่ที่ค่อยๆฉีกออก(เพราะลูกไก่พยายามดิ้นรนออกมา)กลับค่อยๆปิดเปลือกไข่ให้กลับไปเหมือนเดิม คำอธิบายของเขาเกี่ยวกับแก้วจำนวนมากที่แตกกระจายไปทั่วพื้น กลับคืนกลับไปอยู่บนโต๊ะ สู่การนำเสนอที่สมบูรณ์แบบแต่แรก อันนี้ได้ให้ภาพการแยกออกจากกันเป็นส่วนๆของ Cubist ในลักษณะที่ย้อนกลับไปสู่ภาวะของความสมบูรณ์
เวลากับละครและนวนิยาย
บรรดานักเขียนนวนิยายที่เด่นดังหลายต่อหลายคน ได้วิจารณ์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ซึ่งพวกเขาเผชิญในการนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับเวลาอย่างหลากหลาย บางคนก็พบทางออกของปัญหาเกี่ยวกับเรื่องคู่ขนานอย่างไม่ผิดพลาดพลั้งเผลอ แม้ว่าจะไม่ได้รับแรงบันดาลใจโดยตรง จากการยักย้ายเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในเรื่องของเวลาที่เป็นนวัตกรรมใหม่ของภาพยนตร์ก็ตาม
วิธีการของ Conrad ก็คือแยกเอาชั่วขณะที่เฉพาะอันหนึ่งออกมา และยึดมันเอาไว้เพื่อทำการตรวจสอบอย่างละเอียด โดยการยืดขยายออกไปราวกับว่าเวลานั้นหยุดนิ่งอยู่. Ford Madox Ford ได้สรุปทัศนะอันหนึ่งที่เขาและ Conrad มีส่วนกันอันนี้ว่า
มันกลายเป็นสิ่งที่ชัดเจนขึ้นมามากสำหรับเราว่า อะไรคือสาระเกี่ยวกับนวนิยาย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นวนิยายของอังกฤษ อันนั้นมันเดินตรงไปข้างหน้า, ขณะที่ในทางตรงข้าม ในการสร้างความสัมพันธ์คุ้นเคยกับเพื่อนๆอย่างค่อยเป็นค่อยไปของคุณนั้น ไม่เคยเลยที่จะเดินไปข้างหน้าตรงๆ… ในการได้มา…คนๆหนึ่งในทางปฏิบัติที่เป็นจริง คุณไม่อาจที่จะเริ่มต้นที่การเริ่มต้นและอาชีพการงานของเขา แล้วไล่เลียงไปตามลำดับจนจบ อันดับแรก คุณจะต้องทำความประทับใจมากๆให้กับเขา และต่อจากนั้นก็ย้อนกลับหรือเดินหน้าไปถึงเรื่องราวในอดีตของเขา
ชีวิตไม่ได้บอกอะไรกับคุณ: ในปี ค.ศ. 1914 เพื่อนบ้านของข้าพเจ้า Mr. Slack ได้สร้างเรือนกระจกสำหรับปลูกต้นไม้ขึ้นมา และก็มีการวาดภาพมันด้วยสีเขียวอะลูมินัม ถ้าหากว่าคุณคิดถึงเกี่ยวกับสาระเรื่องราวอันนั้น คุณก็จะจดจำได้ถึงภาพต่างๆที่ไม่เป็นไปตามระเบียบอย่างหลากหลาย ทำไมวันหนึ่ง Mr. Slack ปรากฏตัวอยู่ในสวนของเขา และพิจารณาใคร่ครวญถึงกำแพงผนังบ้านของเขา
ในเรื่อง Ulysses, Joyce ได้สร้างการขัดจังหวะในลักษณะของละครขึ้นมา เกี่ยวกับการเคลื่อนตัวไปข้างหน้าของเวลาที่เป็นการเล่าเรื่อง. ดังที่ Bloom เริ่มเรื่องซ่องโสเภณีแห่งหนึ่ง เขาได้ถอยกลับไปเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยง ถึงถนนสายหนึ่งที่สะอาดกว่า และกล่าวย้อนไปถึงเหตุการณ์ที่ค่อยๆพัฒนาไปของเขาอีกสี่สิบหน้า และไม่กี่วินาทีต่อมาภายหลัง ในไม่กี่วินาทีเกี่ยวกับเวลาของเขานั้น ผู้อ่านจะได้รับการนำพาไปสู่ข้อปลีกย่อยอันยืดยาว ที่เกี่ยวพันกันกับตัวละครเป็นโหลๆ และครอบคลุมถึงเวลาช่วงหนึ่ง ซึ่งเกินกว่าเวลาเพียงไม่กี่วินาทีไปมาก
Virginia Woolf เชื่อว่า มันเป็นพันธะหรือความจำเป็นของนักประพันธ์ที่จะต้องไปให้พ้น "เส้นทางแบบรางรถไฟที่เป็นทางการเกี่ยวกับประโยค". "ธุระในการเล่าขานอันน่ากลัวเกี่ยวกับความเป็นจริง: ดำเนินไปจากอาหารมื้อเที่ยงสู่เวลาอาหารมื้อเย็น มันเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ไม่จริง เป็นเพียงเรื่องธรรมดาๆ" เธอยังบันทึกข้อสังเกตของ Thomas Hardy เกี่ยวกับหนทางใหม่ๆของเวลาที่แสดงตัวในวรรณกรรม: "พวกเขาได้เปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างไปแล้วตอนนี้ พวกเราเคยคิดว่ามันจำต้องดำเนินไปนับตั้งแต่เริ่มต้น ท่ามกลาง และที่สุด พวกเราเชื่อในทฤษฎีแบบ Aristotelian"
เวลากับนักจิตวิทยา
บรรดานักจิตวิทยาและนักสังคมวิทยา ได้สังเกตถึงการดัดแปลงแก้ไขเกี่ยวกับความต่อเนื่อง และการไม่อาจหวนคืนกลับไปได้ของเวลาในความฝันต่างๆ และพวกที่มีอาการป่วยทางจิตรุนแรง รวมทั้งในเรื่องทางศาสนาและเวทมนต์คาถา
ในจดหมายฉบับหนึ่งปี ค.ศ. 1897, Freud ได้แสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการบิดผันไปในเรื่องของเวลา เขาได้สังเกตเรื่องนี้ในความฝันและจินตนาการเพ้อฝัน มันเกิดการบิดเบือนไปอันหนึ่งเกี่ยวกับความทรงจำที่มาจาก "กระบวนการของการแบ่งซอยออกเป็นชิ้นๆ ซึ่งความสัมพันธ์ที่เป็นไปตามลำดับก่อนหลังในลักษณะเฉพาะ ไม่ได้รับการเอาใจใส่"
ในหนังสือเรื่อง The Interpretation of Dream, Freud ได้ทำการสำรวจว่า ลำดับการต่อเนื่องของประสบการณ์ในแนวทางเกี่ยวกับชีวิตที่มีสำนึกของเรา ได้รับการจัดการใหม่อีกครั้งเพื่อปรับให้เหมาะกับความต้องการต่างๆเกี่ยวกับความฝันในใจอย่างไร ในการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันทางจิต เกี่ยวกับสัญชาตญานของชีวิตของเรา กระบวนการเริ่มต้นไม่ให้สนใจโดยสิ้นเชิงกับการเรียกร้องเกี่ยวกับเรื่องของตรรกะ และพื้นที่ว่าง เช่นเดียวกันกับเรื่องของเวลา
ในปี ค.ศ. 1920 เขาได้สรุปถึงทฤษีนี้ว่า กระบวนการทางจิตไร้สำนึกเป็นเรื่องที่"ไร้กาลเวลา" สำหรับการล่วงไปของเวลามิได้เปลี่ยนแปลงมันไปเลยแต่อย่างใด และ "ไอเดียหรือความคิดเกี่ยวกับเวลา ไม่สามารถที่จะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับพวกมันได้"
เวลากับศาสนาและเวทมนต์คาถา
"การศึกษาโดยสังเขปเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนของเวลา ในศาสนาและเวทมนต์คาถา"(1909) โดย Henri Hubert และ Marcel Mauss อ้างว่า เวลาในศาสนาและเวทมนต์คาถา(magic)ได้มารับใช้บทบาทหน้าที่ทางสังคมบางอย่าง และจัดหาเค้าโครงอันหนึ่งขึ้นมาสำหรับเรื่องคุณภาพ มากกว่าคุณสมบัติของประสบการณ์เกี่ยวกับลำดับการที่ต่อเนื่อง พวกเขามองว่า เวลาไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกัน(heterogeneous), ไม่ต่อเนื่องกัน(discontinuous), สามารถยืดขยายออกไปได้, และย้อนกลับไปได้บางส่วน
ในความขัดแย้งกับทัศนะต่างๆส่วนใหญ่ของปฏิทิน ดังเช่นความขัดแย้งในเชิงปริมาณ พวกเขาเสนอว่ามันเป็นเรื่องคุณภาพ ประกอบด้วยวันและฤดูกาลต่างๆที่พิเศษ เวลาอันศักดิ์สิทธิ์เป็นสิ่งที่ไม่ต่อเนื่อง สำหรับเหตุการณ์นั้น คือการปรากฏตัวของเทพองค์หนึ่งซึ่งได้มาขัดจังหวะความต่อเนื่องที่เป็นไปตามปกติ
ช่วงเวลาต่างๆที่ได้แบ่งลำดับการณ์ซึ่งเป็นไปในลักษณะก่อนหลัง สามารถที่จะได้รับการนำมาเชื่อมต่อในบทบาทหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ของมันได้ เพื่อทำให้เวลาเป็น"อัตลักษณ์ที่หดเกร็ง หรือเป็นไปอย่างรวดเร็ว"(spasmodic character) ช่วงเวลาอันพิเศษในบางช่วงเวลาอาจ"ไม่บริสุทธิ์"(contaminate) ช่วงเวลาทั้งหมดที่ตามมา และช่วงเวลาประเดี๋ยวเดียวอาจได้รับการรวมกันเป็นหนึ่ง ถ้าหากว่ามันมีนัยสำคัญทางศาสนาในลักษณะเดียวกัน
เวลาสามารถที่จะยืดขยายออกไปได้ เช่นดังที่ "วีรบุรุษหรือบุคคลสำคัญต่างๆสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานหลายปี ในชีวิตอันวิเศษ(magical life) ซึ่งเทียบได้กับชั่วโมงหนึ่งของการมีชีวิตของบุคคลธรรมดา". การสังเกตของพวกเขา เกี่ยวกับพิธีกรรมต่างๆของการเข้าเป็นสมาชิกและการออกจากความเป็นสมาชิก อาจได้รับการรวมเป็นหนึ่งหน่วยของเวลา ซึ่งมันมีนัยะถึงการย้อนกลับไปได้บางส่วน เช่นดังที่จุดจบได้ถูกเชื่อมต่อกับจุดเริ่มต้น
ผลสืบเนื่องมาจาก Bergson, Hubert และ Mauss เชื่อว่า เวลาเป็นเรื่องของพลวัตร และพวกเขาให้การรับรองและเห็นด้วยกับตัวแทนภาพลักษณ์เกี่ยวกับเวลาต่างๆ(time-images) ในเรื่องของตำแหน่งและความต่อเนื่อง แนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องของเวลา ในฐานะที่เป็น "ความตึงเครียดที่เป็นตัวกระทำ(active tension) ซึ่งความสำนึกได้ตระหนักถึงความกลมกลืนของช่วงระยะเวลาต่างๆที่เป็นอิสระ และจังหวะทั้งหลายที่แตกต่าง"
แต่พวกเขาต่างจาก Bergson ในขอบเขตที่มีเจตนาจะยอมรับในเรื่องเวลาสาธารณะว่า มันเป็นส่วนหนึ่งของความสำนึกภายในเกี่ยวกับเวลา พวกเขายืนยันว่า เวลาสาธารณะเป็นขั้วหนึ่งของ"อัตราความเครียดต่างๆของความสำนึก"
บทบาทของความคิดเห็น ซึ่งจำแนกความจริงทางจิตวิทยาเกี่ยวกับภาพที่ต่อเนื่องกัน เกิดจากการปรองดองหรือการปรับตัวของการเป็นตัวแทนทั้งสองชุด. อันหนึ่งนั้น มั่นคงและเป็นระยะๆ: มันคือปฏิทิน… ส่วนอีกอันหนึ่งได้สร้างตัวของมันเองขึ้นมาอย่างถาวร โดยการกระทำเกี่ยวกับการให้กำเนิดการเป็นตัวแทนใหม่ๆ
จิตใจนั้น มันทำงานเพื่อเชื่อมความตึงเครียดที่เป็นปัจจัยบางอย่างของทั้งสองชุดนี้อย่างสม่ำเสมอ. เวลาของเวทมนต์คาถาและศาสนาเป็นการประนีประนอมกัน ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างจิต ซึ่งเกิดขึ้นมาโดยประสบการณ์ส่วนตัวของเรา เกี่ยวกับเวลาที่เป็นรูปแบบเดียวกันอันหนึ่งและเวลาที่มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน
การเฉลิมฉลองเกี่ยวกับวาระที่ครบรอบปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งที่เชื่อมโยงกับสิ่งที่เกิดขึ้นอันศักดิ์สิทธิ์และเวทมนต์ เป็นการผสมกันของ "จังหวะชีวิตที่เฉพาะของเราเองเกี่ยวกับความเป็นอยู่" กับ "จังหวะที่มีรูปแบบเดียวกัน ซึ่งได้รับการสังเกตโดยชุมชนทางสังคมชุมชนหนึ่ง"
ข้ออ้างของพวกเขาที่ว่า การแบ่งแยกเกี่ยวกับเวลา "อย่างหยาบๆที่มาขัดจังหวะสาระที่พวกเขาวางกรอบเอาไว้" ขนานไปกับการปฏิวัติทางทฤษฎีของ Einstein เกี่ยวกับเรื่องของปฏิกริยาของเวลา และสาระที่ท้าทายเพิ่มขึ้นต่อทฤษฎีคลาสสิคเกี่ยวกับการไม่อาจย้อนกลับได้ของเวลา
Newton เชื่อว่า ไม่มีเหตุการณ์หรือกรณีใดๆในโลกของวัตถุ ที่สามารถจะส่งผลกระทบต่อการไหลเลื่อนของเวลาได้ แต่ Einstein เถียงว่า ความเคลื่อนไหวเชิงสัมพัทธ์ระหว่างผู้สังเกตการณ์คนหนึ่งกับวัตถุชิ้นหนึ่ง ทำให้การล่วงไปของเวลาเกี่ยวกับวัตถุอันนั้น ปรากฏว่ามันดำเนินไปช้าลงกว่าการที่มันได้รับการสังเกตจากจุดๆหนึ่งที่หยุดนิ่งโดยสัมพันธ์กับมัน
ด้วยเหตุนี้ มันจึงมีความเป็นไปได้สำหรับเหตุการณ์ A ที่จะได้รับการสังเกตจากจุดๆหนึ่ง และถูกมองดูดังกับว่าเกิดขึ้นมาก่อนเหตุการณ์ B และหลังจากนั้น เมื่อสังเกตจากอีกจุดหนึ่ง ถ้าเผื่อว่าความเคลื่อนไหวเชิงสัมพัทธ์ได้ถูกนำเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย จะพบว่า ความต่อเนื่องของเหตุการณ์ต่างๆที่ซึ่งเกิดขึ้นมานั้น เกิดขึ้นในที่เดียวกัน และมีความต่อเนื่องของเหตุการณ์ต่างๆที่สัมพันธ์กันอย่างเป็นเหตุเป็นผล อันนี้เป็นสิ่งซึ่งไม่อาจพลิกกลับได้จากเงื่อนไขต่างๆที่เป็นไปได้ของการสังเกต และด้วยเหตุนี้ มันจึงยังคงสมบูรณ์เบ็ดเสร็จในทฤษฎีสัมพัทธภาพ
สรุป
เราทั้งหมดต่างเรียนรู้ที่จะบอกเวลาด้วยความแคล่วคล่องง่ายๆ แต่การเรียนรู้ที่จะบอกว่ามันคืออะไร ยังคงยุ่งยากเท่าๆกันกับที่มันเป็นเช่นนั้นกับ Saint Augustine เมื่อ 1500 ปีมาแล้ว. อะไรคือเวลา หรือเวลาคืออะไรในสมัยนั้น ? เขาถาม. "ถ้าหากว่าไม่มีใครมาถามข้าพเจ้า, ข้าพเจ้ารู้ว่ามันคืออะไร. แต่ถ้าเผื่อข้าพเจ้าต้องการที่จะอธิบายมันให้กับคนที่ถามข้าพเจ้า, ข้าพเจ้ากลับไม่รู้" (if no one ask me, I know what it is. If I wish to explain it to him who asks me, I do not know)
ในยุคดังกล่าว ซึ่งเรากำลังจ้องดูอยู่ คำถามอันนี้ได้รับการหยิบยกขึ้นมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า และด้วยการกำหนดแน่นอนตายตัวลงไปเพื่อฝ่าฟันทะลุทะลวงทางตันอันนี้ มันได้หยุดยั้ง Augustine เอาไว้. มันเป็นการผุดขึ้นมาที่แหลมคมอันหนึ่งในเชิงปริมาณเกี่ยวกับวรรณคดีในเรื่องที่เกี่ยวกับเวลา และนักสังเกตการณ์ร่วมสมัยหลายคนคิดว่า อันนี้คือนัยสำคัญทางประวัติศาสตร์
และแล้วในปี ค.ศ. 1890 นักปรัชญาสหราชอาณาจักร Samuel Alexander ก็โห่ร้องต้อนรับ Bergson ในฐานะที่เป็นนักปรัชญาคนแรกที่เอาใจใส่เกี่ยวกับเรื่อง"เวลา"อย่างจริงจัง". นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสคนหนึ่ง มองว่า Proust เป็นคนแรกที่ค้นพบว่า "ร่างกายของคนเรานั้นรู้ว่า จะวัดหรือประมาณเวลาอย่างไร", และ Wyndham Lewis ได้คร่ำครวญถึงการคิดและให้ความเอาใจใส่เกี่ยวกับเวลาอย่างมากของคนรุ่นนั้น
_________________
บทความ: มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน http://www.midnightuniv.org
กลางวันคือการเริ่มต้นเดินทางไปสู่ความมืด ส่วนกลางคืนคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความสว่าง- เที่ยงวันคือจุดที่สว่างสุดแต่จะมืดลง เที่ยงคืนคือจุดที่มืดสุดแต่จะสว่างขึ้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น