12:00

ปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษ


ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับคำศัพท์สำคัญๆ ที่จะต้องพบบ่อยๆ ดังนี้ ปรัชญาคือ วิชาที่ศึกษาค้นคว้ากฎเกณฑ์ทั่วไปของโลก (กฎวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและกฎวิทยาศาสตร์สังคม) โลกทัศน์คือ ทัศนะพื้นฐานที่สุดของการมองสรรพสิ่ง กฎเกณฑ์คือธาตุแท้แห่งการวิวัฒนาการของสรรพสิ่งที่มีลักษณะเป็น "ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ" เกิดขึ้นได้ทั่วไป และมีความสัมพันธ์ที่แน่นอนต่อกัน เช่นดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกซึ่งเกิดจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก
- โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบนานเท่ากับ 1 วัน และทำให้เกิดปรากฏการณ์ "กลางวัน-กลางคืน"
- โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบนานเท่ากับ 1 ปี
- ดวงอาทิตย์คือศูนย์กลางของดวงดาวในสุริยะจักรวาล
- ดวงอาทิตย์และดวงดาวต่างๆ ในสุริยะจักรวาลหมุนรอบกาแลคซี่





ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ กันทุกวันเช่นนี้ เรียกว่า "กฎเกณฑ์" มันเป็นภาวะวิสัยอิสระที่อยู่นอกจิตสำนึกของคนเรา เราสามารถ รับรู้มันและ ใช้มันเป็นประโยชน์ได้ แต่ไม่สามารถสร้างหรือล้มล้างมันได้ กฎเกณฑ์ของธรรมชาติเกิดจากการกระทำของตัวมันเอง แต่กฎเกณฑ์ ของสังคมกระทำ โดยผ่านการเคลื่อนไหวของคนเรา ทว่ามันก็ยังเป็นอิสระ ไม่หันเหตามเจตจำนงหรือจิตสำนึกของคนเราอยู่ดี นี่คือ "กฎภาวะวิสัย"
ภาวะวิสัย คือ การดำรงอยู่ตามสภาพความเป็นจริงและธาตุแท้ ของสรรพสิ่ง ไม่ได้เป็นไปตามเจตจำนงหรือจิตสำนึกของใครและเป็น อิสระอยู่นอกเหนือจากจิตสำนึกของคนเรา
อัตวิสัย มาจากคำว่า อัต + วิสัย อัต หมายถึง ตนหรือตัวเอง อัตวิสัยจึงหมายถึง ความคิดเห็นของตนหรือของตัวเอง
จิตสำนึก เกิดจาก "สมอง" ซึ่งรับรู้โลกภาวะวิสัยที่ดำรงอยู่แล้ว สะท้อนกลับทำให้เกิดจิตสำนึก สมองของคนเป็นวัตถุมีวิวัฒนาการมาจน ถึงขั้นสูงสุด การวิวัฒนาการนี้เริ่มจากธาตุที่ไม่มีชีวิตไปสู่สิ่งที่มีชีวิต จากไม่มีความรู้สึกของวัตถุไปสู่สิ่งที่มีความรู้สึกของวัตถุ จากไม่มีจิตสำนึกของวัตถุไปสู่การมีจิตสำนึก
การกระทำของจิตสำนึก
1. สะท้อนเอารูปลักษณ์รอบ ๆ ภาวะวิสัยของวัตถุที่ดำรงอยู่
2. เก็บภาพและแปรภาพเป็นความรู้จักคิดหรือยั้งคิด
3. รับรู้กฎเกณฑ์และธาตุแท้ทางภาวะวิสัยของสรรพสิ่ง
ความสามารถเช่นนี้ของมนุษย์เกิดขึ้นได้ด้วยการผ่านขบวนการ "การปฏิบัติทางสังคม" ที่สำคัญคือขบวนการ "การผลิต" (ซึ่งมี วิวัฒนาการมา ตลอดและถูกขอบเขตการปฏิบัติทางสังคมบังคับจำกัดไว้)
สรุปได้ว่า ความคิดจิตสำนึกของคน เป็นการกระทำของสมองคน เป็นการสะท้อนกลับของวัตถุ เนื้อหาของจิตสำนึกก็คือการสะท้อนกลับ ของ ภาวะวิสัย "ทางธรรมชาติ" กับ "ทางสังคม" ที่ดำรงอยู่ในสมองของคน ดังนั้นจะมีจิตสำนึกที่ถูกต้อง จึงต้องพยายามทำให้จิตสำนึกทางอัตวิสัย ของเราสามารถสะท้อนการดำรงอยู่ทางภาวะวิสัยรอบๆ ได้อย่างถูกต้อง

มนุษย์ที่เป็นสัตว์ชั้นสูงสุดเท่านั้นจึงจะมีจิตสำนึก สิ่งมีชีวิตนอกนั้น จะสามารถมีความรู้สึกได้แตกต่างกัน ที่ต่ำสุดก็เพียงแค่สามารถแยกแยะ ได้ว่าการกระตุ้นจากภายนอกจะเป็นผลดีหรือผลร้ายต่อตนเอง แม้ว่า ในสัตว์ที่มีประสาทส่วนกลางจะสามารถสะท้อนสติรู้สึกกับรูปสัญลักษณ์ ได้ แต่ก็ยังไม่ถึงขึ้นมีจิตสำนึก

วัตถุนิยมวิภาษวิธี
วัตถุ คือสิ่งที่สามารถใช้อวัยวะประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์ มารู้สึกได้ (อวัยวะที่ว่านี้คือ หู ตา ลิ้น จมูก และผิวหนัง) สิ่งเหล่านี้เรียกว่า "วัตถุ" มัน จะดำรงอยู่ตามภาวะวิสัยที่เป็นจริงของมันเองโดยไม่ขึ้นกับ ความรู้สึกของเรา ความรู้สึกจิตสำนึกของคนเราเป็นเพียงการดูดภาพ-สะท้อนภาพ ซ้ำๆ กัน การเคลื่อนไหวเป็นคุณลักษณะรากฐานของวัตถุซึ่งเคลื่อนไหว ในห้วงของเวลาและช่องว่าง
วัตถุนิยม
ในโลกนี้มีปรัชญาที่เป็นความคิดปฏิปักษ์กัน 2 ระบบคือ วัตถุนิยม กับจิตนิยม เป็นระบบคิดที่เป็นปฏิปักษ์กันโดยมูลฐาน วัตถุนิยมเห็นว่า ธาตุแท้ของโลกคือวัตถุ โลกวัตถุไม่ขึ้นกับจิตสำนึกของคนเราแต่มันดำรง อยู่อย่างอิสระตามภาวะวิสัย จิตสำนึกคือการสะท้อนกลับของโลก ภาวะวิสัยในสมอง วัตถุเกิดขึ้นก่อน ส่วนจิตสำนึกเป็นสิ่งที่เกิดตามมา วัตถุนิยมโดยทั่วไป เป็นโลกทัศน์ของชนชั้นที่มีฐานะก้าวหน้าและปฏิวัติ มันได้ต่อสู้กับจิตนิยม โดยเริ่มจากวัตถุนิยมที่เรียบง่าย ---> วัตถุนิยม อภิปรัชญา--->วัตถุนิยมวิภาษ เป็นวิวัฒนาการ 3 ขั้นตอนของวัตถุนิยม เป็นอาวุธทางความคิดของการรับรู้โลกและดัดแปลงโลกของชนชั้น กรรมาชีพ

วิภาษ หมายถึง โต้แย้งหรือพูดโต้แย้ง
วิภาษวิธี หมายถึง วิธีการโต้แย้ง

ที่มาของคำศัพท์วิภาษวิธีก็คือ ในสมัยกรีกโบราณเคยมีรูปแบบ การปกครองที่มีสภาเป็นที่ประชุม มีประธานอยู่ตรงกลางผู้เข้าร่วมประชุม แยกเป็น 2 ส่วน ฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา ทำหน้าที่อภิปรายโต้แย้งหาทาง แก้ปัญหาและข้อขัดแย้งต่างๆ วิธีนี้เรียกว่า วิภาษวิธี หลังจากนั้น ก็ใช้ ค้นคว้า วิวัฒนาการกฎเกณฑ์ทั่วไปของโลก วิภาษวิธีเห็นว่าสรรพสิ่งมี ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและเคลื่อนไหวอยู่เป็นนิรันดร์ การวิวัฒนาการ ของโลกเป็นไปตามผลที่เกิดจากความขัดแย้งของมันเอง

ประวัติศาสตร์ของปรัชญา เริ่มจากวิภาษวิธีเรียบง่ายในสมัย โบราณ ต่อมาก็พัฒนาเป็นวิภาษวิธีจิตนิยมของเฮเก้น (นักปราชญ์ ชาวเยอรมัน) ในที่สุดจึงพัฒนามาเป็นวัตถุนิยมวิภาษของลัทธิมาร์กซ เป็นวิภาษวิธี 3 ชนิดที่แตกต่างกันโดยพื้นฐาน วัตถุนิยมวิภาษของลัทธิมาร์กซ จึงเป็นวิภาษวิธี ที่มีวิวัฒนาการขั้นสูงสุด เป็นโลกทัศน์ กับทฤษฎีที่เป็นวิทยาศาสตร์เพียง หนึ่งเดียวของชนชั้นกรรมาชีพ
ทำไมจึงต้องศึกษาปรัชญา
เราเคยกล่าวว่าโลกทัศน์ของวัตถุนิยมวิภาษเป็นโลกทัศน์ที่ถูกต้อง วัตถุประสงค์ของการศึกษาปรัชญาวัถตุนิยมวิภาษก็คือ จะนำโลกทัศน์ วัถตุนิยมวิภาษไปใช้ประโยชน์ในการทำงานต่างๆ โลกทัศน์วัตถุนิยมวิภาษเห็นว่าธาตุแท้ของโลก ตั้งแต่ไหน แต่ไรมามันเป็นวัตถุ สรรพสิ่งทั้งหลายของโลกเรานี้ล้วนมีการเคลื่อนไหว ที่เปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งสิ้น วัตถุจะดำรงอยู่ตาม ภาวะวิสัย จะวิวัฒนาการไป ตามกฎภาวะวิสัยของมันโดยไม่หันเหไปตามความ ต้องการทางอัตวิสัยของคนเรา ดังนั้นไม่ว่าจะทำงานชนิดใด ต้องไม่เริ่มจากเจตจำนงหรือความต้องการ ทางอัตวิสัยของเรา เพราะจะมีโอกาสล้มเหลวง่ายมาก หากต้องการจะประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ต้องเริ่มต้นจากการศึกษาเพื่อ รับรู้สภาวะความเป็นจริงทางภาวะวิสัยในการดำรงอยู่ของสิ่งนั้นให้แจ่มชัดเสียก่อน ทำความเข้าใจเงื่อนไขของภาวะวิสัยให้ได้แล้วอาศัย สภาพความเป็นจริงกับเงื่อนไขที่ดำรงอยู่ นำมาสร้างแผนการหรือ โครงการตามความต้องการทางอัตวิสัยของเรา จึงจะสามารถหลีกเลี่ยง ความผิดพลาด หรือเกิดความผิดพลาดได้น้อยที่สุด เมื่อจะสรุปงานก็ สามารถสรุปเอาหลักการ ทั่วไปที่เหมาะสมมาใช้กับสรรพสิ่งได้ กล่าวโดยสรุปก็คือ สรรพสิ่งที่ดำรงอยู่ทางภาวะวิสัยต้องมาก่อนจิตสำนึกอัตวิสัยของเรา นี่คือหลักการปรัชญาโลกทัศน์พื้นฐานที่สุดของปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษ
ตัวอย่างที่ 1 การทำงานเคลื่อนไหวให้การศึกษาและยกระดับ คุณภาพของกรรมกร
เราต้องเข้าใจสภาพความเป็นจริงทางภาวะสัยของชีวิตความเป็น อยู่ที่แท้จริงของกรรมกร ความคิดและวัฒนธรรมของกรรมกร ตลอดจน ความเดือดร้อนต้องการของกรรมกรทั้งหมดว่าเป็นอย่างไร เช่น แต่เดิม กรรมกรมาจากครอบครัวยากจนหรือค่อนข้างยากจนที่เป็นชาวนาในชนบท ความจำเป็นในการแก้ไขชีวิตความเป็นอยู่ จึงต้องจากพ่อแม่พี่น้องหรือ ลูกเมียในชนบทออกมาขายแรงงานในเมือง ดังนั้นจึงไม่สามารถได้ รับวัฒนธรรม การศึกษาตามระบบโรงเรียนจนมีความรู้สูง อย่างมากก็จบ เพียงชั้น ป. 6 หรือ ม. 3 ที่จบได้ถึงชั้น ม. 6 หรือมหาวิทยาลัยนั้นมีน้อย สภาวะความเป็นจริงเช่นนี้ ความรู้ของกรรมกรจึงอยู่ในวงจำกัด หาก จะให้การศึกษาปรัชญาหรือ เศรษฐศาสตร์การเมืองกับกรรมกรด้วยศัพท์ ภาษาอังกฤษหรือศัพท์สูงทางมหาวิทยาลัยแบบเดียวกับที่นักวิชาการ ทั่วไปนำมาใช้ ก็ไม่สามารถจะให้ความรู้ทางด้านปรัชญาวัตถุนิยม วิภาษหรือเศรษฐศาสตร์การเมือง ลัทธิมาร์กซกับกรรมกรจนนำไปใช้ได้ เพราะกรรมกรทั่วไปมีความคิดหรือการศึกษาน้อย มีวัฒนธรรม การศึกษาต่ำ ฟังการอธิบายของนักวิชาการ ที่ใช้ทับศัพท์หรือศัพท์สูง ต่างๆ แล้วอาจจะสับสนไม่เข้าใจ การขยายทฤษฎีลัทธิมาร์กซไปสู่ กรรมกรผู้ใช้แรงงานก็จะเกิดปัญหาไม่สามารถขยายให้กว้างขวาง ได้ แต่หากเราเริ่มต้นด้วยการศึกษากฎทางภาวะวิสัยของกรรมกรให้เข้าใจ เสียก่อน เมื่อเข้าใจชีวิตความเป็นอยู่และความคิดวัฒนธรรมมตาม ความเป็นจริงแล้ว ก็สามารถจัดการศึกษาที่ใช้คำพูดและภาษาที่ เหมาะสมให้กรรมกรผู้ใช้แรงงานเข้าใจได้ง่าย การขยายงานจะเกิดปัญหา น้อยลง
ตัวอย่างที่ 2 การให้การศึกษากรรมกร
50 ปีที่ผ่านมา ความคิดของกรรมกรผู้ใช้แรงงานล้วนถูกครอบงำจากชนชั้นปกครอง ที่มีทั้งกฎหมายป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ การโฆษณาชวนเชื่อว่าลัทธิมาร์กซเป็นลัทธิอุบาทว์ พวกคอมมิวนิสต์ เป็นพวกปีศาจมารร้ายที่เที่ยวไล่กินคน ทำให้ประชาชนไทยหวาดกลัวลัทธิมาร์กซมาตลอด นี่คือสภาวะความเป็นจริงทางภาวะวิสัยที่ดำรงอยู่

หากเราคิดจะเข้าไปขยายงานให้การศึกษากับกรรมกรผู้ใช้แรงงาน ก็จำเป็นต้องศึกษาความเป็นจริงทางภาวะวิสัยข้างต้นให้เข้าใจเสียก่อน แล้วจึงกำหนดแผนการหรือโครงการให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพการณ์นั้น เช่นดัดแปลงตนเอง ไม่ทำให้กรรมกรรู้สึกว่ามีความแตกต่างกันมากนัก เปลี่ยนแปลงศัพท์แสงให้เป็นคำธรรมดาสามัญที่เรียบๆ ง่ายๆ ที่กรรมกรฟังแล้วเข้าใจได้ ไม่เกิดความหวาดกลัว เช่น ใช้คำว่า "สมบัติส่วนรวม" มาแทนคำว่าคอมมิวนิสต์ ใช้คำว่า "ทฤษฎีมาร์กซิสม์" แทนคำว่า ลัทธิมาร์กซ เป็นต้น
ตัวอย่างที่ 3 การชี้นำการเคลื่อนไหวต่อสู้ของกรรมกร
กรรมกรผู้ใช้แรงงานล้วนถูกกดดันจากสภาพความเป็นจริง กลัวถูกเลิกจ้างและเดือดร้อนจากค่าจ้างที่ไม่เป็นธรรม มีการต่อสู้อยู่ในขอบเขตของกฎหมายเช่นต่อสู้ด้านสวัสดิการโดยผ่านสหภาพแรงงาน เป็นต้น การต่อสู้ เช่นนี้ที่ผ่านมาล้วนไม่สามารถแก้ไขปัญหารากฐานที่แท้จริงของกรรมผู้ใช้แรงงานได้ เราจึงต้องการเข้าไปชี้นำให้กรรมกรพัฒนาเปลี่ยนแปลงทิศทางไปสู่การต่อสู้ทางการเมือง ชี้นำการเคลื่อนไหวของกรรมกรให้เป็นเคลื่อนไหวต่อสู้ทางการเมือง ทำให้กรรมกรเข้าใจความสามัคคี ในหมู่ชนผู้ใช้แรงงาน และการจัดขบวนของกรรมกรอย่างกว้างขวาง และลงลึกนั้น ต้องศึกษาภาวะวิสัยที่เป็นจริงดังกล่าวข้างต้นให้ ถ่องแท้เสียก่อน จะต้องไม่เริ่มต้นจากความต้องการทางอัตวิสัยของเราเองเช่น หากกรรมกรยังไม่ตื่นตัวทางการเมือง ไม่ควรเสนอข้อเรียกร้องที่รุนแรงจนเกินไป เช่น ใช้วิธียึดโรงงาน เป็นต้น เพราะยึดแล้วก็ไม่สามารถจะทำอะไรต่อได้ เนื่องจากความเป็นจริงทาง ภาวะวิสัยนั้น สภาพการณ์ทั้งหมดยังไม่สุกงอม อำนาจรัฐยังเป็นเครื่องมือของชนชั้นนายทุน การเสนอให้กรรมกรต่อสู้ในรูปแบบการยึดโรงงาน จึงมีแต่ทำให้กรรมกรถูกปราบปราม ต้องสูญเสียทั้งผลประโยชน์และเกิด ความท้อแท้ ควรเริ่ม จากรูปแบบที่ง่ายและสอดคล้องกับความตื่นตัวของ กรรมกรในแต่ละโรงงาน รูปแบบการยึดโรงงานอาจจะเป็นเพียงยุทธวิธี ที่นำมาใช้ในบางครั้ง เพื่อสร้างการตื่นตัวทางการเมืองให้กับกรรมกร ชี้ให้เห็นว่ากรรมกรจะต้องสามัคคีกัน จัดขบวนให้เข้มแข็งทำการต่อสู้ ทางการเมือง จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาพื้นฐานของกรรมกรได้

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ดีมากค่ะ

แสดงความคิดเห็น