“ที่เราเป็นมนุษย์อยู่ได้ทุกวันนี้ จริงๆ เราต้องขอบคุณอุกกาบาตลูกที่มาทำลายไดโนเสาร์นะ เพราะสมัยนั้นไดโนเสาร์เป็นสัตว์ที่แตกแขนงหลากหลายสายพันธุ์มากและยึดครองทุกพื้นที่ของโลก แทบจะไม่เหลือเนื้อที่ให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเลย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมัยนั้นดูในฟอสซิลเป็นแค่ตัวเล็กๆ เหมือนหนูวิ่งไปวิ่งมา…”
เกริ่นกันก่อนกลายพันธุ์
+หากย้อนไปดูในอดีตจะเห็นว่าตั้งแต่หลายหมื่นปีที่ผ่านมา ทั้งร่างกายและความสามารถของสมองมนุษย์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมานานแล้ว โดยเบสิก สมมติว่าเอามนุษย์ถ้ำคนหนึ่งซึ่งเคยมีชีวิตเมื่อสองหมื่นปีที่แล้วมาเลี้ยงดูในศตวรรษที่ 21 ตั้งแต่เด็กเลย เขาจะโตมาเหมือนคนปกติธรรมดาที่เห็นกันทั่วไป แต่ก็น่าคิดว่าในอนาคตมันจะเปลี่ยนไหม ซึ่งที่ผ่านมาธรรมชาติจะเป็นผู้คัดเลือก แต่ทุกวันนี้ธรรมชาติไม่ค่อยได้คัดเลือกเท่าไหร่ ถ้าเป็นสมัยก่อน อะไรที่ผิดปกติ ธรรมชาติจะเป็นผู้คัดเลือกให้สูญหายไปเอง วันนี้เราสายตาสั้นก็ไปตัดแว่นใส่ได้ ถ้าผมเป็นมนุษย์ยุคหินแล้วผมสายตาสั้น คงไปล่าสัตว์ไม่ได้ ไม่มีข้าวกิน ก็ตายไปนานแล้ว แต่วันนี้มันเหมือนว่าอะไรที่เป็นความเสียเปรียบทางร่างกายจะไม่ถูกคัดออกไป เรามีเทคโนโลยีที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ บินไม่ได้ก็นั่งเครื่องบินได้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาวิวัฒนาการตามธรรมชาติ แต่กลายเป็นวิวัฒนาการของเทคโนโลยีแทน
+ต้องยอมรับว่า ที่เรานั่งคุยกันได้อย่างปกติ เป็นเรื่องปาฏิหาริย์มากๆ ผมเพิ่งเรียนชีววิทยาเซลล์จบไปเมื่อซัมเมอร์ที่ผ่านมา รายละเอียดมันเยอะมาก แค่กินน้ำตาลเข้าไปแล้วเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงาน มันมีขั้นตอนเป็นร้อยขั้นตอนนะ ถ้าดีเอ็นเอเขียนผิดไปนิดเดียว มันก็จะสร้างผิด พอสร้างผิด ก็รวนไปทั้งระบบ การได้เกิดมาเป็นคนสุขภาพปกตินี่ถือว่าถูกลอตเตอรี่หนึ่งในล้านนะ ฉะนั้น มันไม่แปลกที่จะมีเด็กไม่สมประกอบเกิดมา เป็นเรื่องธรรมดามากกว่าคนที่เกิดมาปกติซะอีก เรื่องแบบนี้เหมือนนั่งคัดลอกเอกสาร ต้องมีสะกดผิดบ้าง การก๊อบปี้ดีเอ็นเอจากรุ่นสู่รุ่นก็เหมือนกัน มันมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นที่มาของการที่มีเด็กตาเดียวบ้าง หัวติดกันบ้าง แต่ที่เป็นเพราะสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมก็มีส่วนมาก สารเคมีบางอย่างทำให้กลไกการก๊อบปีดีเอ็นเอซึ่งจากเดิมมันอาจผิดพลาดอยู่แล้ว ทำให้ยิ่งผิดพลาดมากขึ้นไปอีก พอสารเคมีเข้าไปมากๆ มันทำให้กลไกการตรวจปรู๊ฟพวกนี้เสื่อมลงไป พอเจอที่ผิดก็ไม่ยอมลบ ก็ก๊อบปีส่งต่อมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลานให้เกิดการกลายพันธุ์ได้มากขึ้น
1-ถึงเวลาของคนด้อย
+มีนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า ไม่แน่มนุษย์อาจจะวิวัฒนาการร่างกายตัวเองอ่อนแอลงเรื่อยๆ เพราะว่ามันไม่มีอะไรมาคอยคัดเลือก พันธุกรรมที่อ่อนแอก็สามารถอยู่รอดได้โดยอาศัยพึ่งพาเทคโนโลยี อีกหน่อยความเจ็บไข้ได้ป่วยคงมีมากขึ้นเรื่อยๆ ระบบภูมิคุ้มกันแย่ลงๆ แต่ขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็อาจจะพัฒนาตามขึ้นมา เป็นอะไรก็รักษาได้อยู่ดี ถ้าเอาแบบตลกๆ มันมีหนังเรื่อง Idiocracy เขาสันนิษฐานว่าทุกวันนี้ยิ่งคนฉลาดเท่าไหร่ ยิ่งมีลูกน้อย กลายเป็นคนที่ไอคิวต่ำๆ จะสืบพันธุ์ทิ้งลูกหลานไว้เยอะมาก เปอร์เซ็นต์คนโง่มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นี่คือโจทย์ในหนัง แล้วพอผ่านไปเป็นร้อยเป็นพันปี โลกอนาคตก็เลยมีแต่คนที่ไอคิวไม่เกิน 50 คือคนฉลาดสูญพันธุ์หมดเลย มันเป็นหนังเสียดสีสังคม กลายเป็นว่าโลกยุคนั้นคนทำอะไรกันไม่เป็นเลย อยากกินก็กดปุ่ม มีอาหารออกมาให้ แล้วประธานาธิบดีของโลกเป็นนักมวยปล้ำ ไม่ได้ปกครองอะไรเลย มาถึงก็เฮๆ กัน หนังที่ฉายในโรงหนังก็มีแต่เรื่องเกี่ยวกับตูด คือคิดมุกอะไรที่มันสร้างสรรค์กว่านั้นไม่ออกแล้ว ผมว่ามันก็ตลกดีนะ
2-เหลือ 2 สปีชีส์ หน้าตาดีกับหน้าตาไม่ดี
+คือกระบวนการวิวัฒนาการมันไม่ได้เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดอย่างเดียว มันเกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ด้วย ไม่แน่การคัดเลือกโดยการสืบพันธุ์อาจทำให้คนแยกออกเป็น 2 สปีชีส์ เพราะในอนาคต คนที่หน้าตาดีก็จะเลือกแต่งงานแต่กับคนหน้าตาดี คนที่อะไรๆ ก็ดูดีไปหมดทั้งหลายก็อยู่กันเอง ประชากรอีกกลุ่มที่ไม่ค่อยจะมีอะไรดีในด้านพันธุกรรม หน้าตาไม่ดี สุขภาพไม่ดีก็จะไม่สามารถข้ามไปอีกกลุ่มได้ ก็จะต้องอยู่กันเอง แล้วมันจะกลายเป็นแยกออกไปเรื่อยๆ จนอาจจะกลายเป็นมนุษย์ 2 ชนิดก็ได้ ที่มีหน้าตาแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง หรือมนุษย์ที่เผ่าพันธุ์แข็งแรงกว่าอาจจะไม่มีมนุษยธรรม ไปจับมนุษย์เผ่าพันธุ์ที่ด้อยกว่ามาเป็นทาสก็ได้
3-เผ่าพันธุ์ผสม
+หรือถ้าจินตนาการแบบตรงข้ามกัน ทุกวันนี้โลกมันเชื่อมกันหมด ไม่แน่เผ่าพันธุ์ต่างๆ อาจจะหายไปหมดเลยก็ได้ คนจีน ฝรั่งหัวแดง คนผิวดำ อาจผสมเข้ากันหมด ไม่สามารถแยกได้ชัดเจนว่าเป็นเผ่าพันธุ์อะไร กลายเป็นเผ่าพันธุ์เดียว ซึ่งอาจดีก็ได้ คงไม่ต้องทะเลาะกันเรื่องสีผิว แต่อาจจะไปทะเลาะเรื่องอื่นแทน มีหนังสือนิยายวิทยาศาสตร์เล่มหนึ่ง ชื่อว่า The Hitchhiker’s Guide to the Galaxy เป็นเรื่องที่นิยมมากในหมู่นักอ่านนิยายวิทยาศาสตร์ ในอารยธรรม Civilization เขาว่าวิวัฒนาการมีอยู่ 3 สเต็ป สเต็ปแรกตั้งคำถามว่า เราจะทำมาหากินกันยังไง สเต็ปต่อมา เป็นขั้นที่ตั้งคำถามว่า เราจะทำมาหากินไปทำไม และสเต็ปสุดท้ายบอกว่า รู้แล้วว่าจะหากินอะไร หากินไปทำไม เหลือเพียงคำถามเดียวคือ วันนี้จะกินข้าวที่ไหนดี อันนี้คือวิวัฒนาการของอารยธรรม แต่สังเกตได้ว่าในยุคๆ หนึ่ง จริงๆ ก็มีคนหลายแบบ บางคนถามจะกินข้าวที่ไหนอย่างเดียว แต่ไม่เคยถามว่าจะกินไปทำไมก็มี บางคนถามแต่จะกินไปทำไม แต่ไม่เคยคิดเรื่องทำมาหากินก็มีเหมือนกัน
4-อายุยืนยาว ไม่กลัวแก่
+ที่น่าคิดก็คือว่า ถ้าเราลองย้อนกลับไปสัก 30-40 ปี หรือกระทั่งร้อยปีก่อน เราจะพบว่าระยะชีวิตของมนุษย์ยืนยาวมากขึ้น คนที่เกิดมาอายุถึง 30 นี่ถือว่าแก่สุดในหมู่บ้านแล้ว อายุ 40 ฟันหักหมด ก็ตายแล้ว ทุกวันนี้คนอยู่ถึง 70-80 ปี ไม่ใช่เรื่องแปลก แล้วมันจะยืดยาวไปอีกเรื่อยๆ เราอาจถึงจุดที่ว่าคนเราจะไม่แก่อีกต่อไป อาจจะคงอายุที่ 25 ไปตลอดชีวิต มีความเป็นไปได้ สมมุติแก่ไปตับเสียก็เปลี่ยนตับได้ เหมือนเปลี่ยนอะไหล่รถน่ะ มีนักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษาหลายแง่มุมมาก มีอยู่คนหนึ่งชื่อ Michael Rose เขาสังเกตว่า ในธรรมชาติสัตว์ที่ยิ่งถึงวัยเจริญพันธุ์ช้ามักจะยิ่งอยู่ได้นาน ก็เลยเอาไอเดียไปทดลองคัดพันธุ์แมลงหวี่ เลือกตัวที่สืบพันธุ์ช้าๆ แล้วเอาตัวนั้นมาผสมกับตัวที่มีลูกช้าที่สุดไปเรื่อยๆ รุ่นต่อไปก็ทำจะแบบนี้ ปรากฏว่าเขาทำจนสามารถคัดเลือกแมลงหวี่ที่มีอายุยืนยาวกว่าปกติถึง 2 เท่า ไม่แน่เราอาจจะสามารถศึกษาแมลงหวี่พวกนี้ แล้วก็แอบขโมยเอากลไกเดียวกันมาใส่ให้แก่เซลล์มนุษย์บ้าง อาจทำให้เรามีชีวิตได้ยาวนานกว่าเดิม อีกแนวทางก็มีคนที่เขาไปค้นพบว่าสัตว์หลายกลุ่มมากเลย ถ้าให้มันอดอาหาร หรือให้กินลดลงครึ่งหนึ่ง อายุจะยืนยาวขึ้นอีกเท่าตัว ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เซลล์เดียวอย่างยีสต์ ไปจนถึงหนอน แมลงหวี่ หนู ลิง เขาบอกว่าร่างกายมันจะมีเซ็นเซอร์ที่รู้ได้ว่าตอนนี้กำลังลำบาก ได้รับอาหารไม่เพียงพอ มันจะเปลี่ยนโหมดไปเป็นโหมดประหยัดพลังงาน ทำให้อยู่ได้นานขึ้น เพราะว่าตอนนี้ไม่ใช่ยุครุ่งเรืองของมัน ต้องเก็บตัวเงียบๆ พอเมื่อไหร่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ ค่อยกลับไปสู่โหมดทุ่มเทพลังงานเพื่อการขยายพันธุ์ แล้วกลไกนี้มันมีอยู่ในทุกสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่เซลล์เดียวจนถึงกระทั่งคน สารเคมีตัวเดียวกันเลย นักวิทยาศาสตร์ก็กำลังศึกษาอยู่ว่าจะทำยังไง ให้เรารู้ว่าปุ่มเปลี่ยนโหมดมันอยู่ที่ไหนในกลไกนั้น โดยที่เรายังสามารถกินได้ปกติ แต่เปลี่ยนโหมดชีวิตให้ยืนยาวขึ้นได้ไหม แต่เรื่องตายนี่อาจยังเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ต่อให้ไม่แก่ตายก็ถูกรถชนตายได้อยู่ดี
5-หัวใจเป็นคน อวัยวะเป็นหุ่นยนต์
+มีนักวิทยาศาสตร์ที่ทดลองเพาะแบคทีเรีย เขารู้สึกว่ามันเหม็นมาก เลยไปเอายีนของกล้วยมาใส่ในแบคทีเรีย ก็ได้แบคทีเรียกลิ่นกล้วย ทดลองไปก็หอมชื่นใจ สำหรับคนที่เกิดมาชะตาชีวิตลิขิตไว้แล้วว่า จะต้องเป็นโรคแน่ๆ ยีนเขามันเขียนมาแล้ว เราสามารถเปลี่ยนแปลงยีนของเขาได้ไหม หรือลบมันออกไปเลยแล้วใส่ยีนใหม่เข้าไปแทน ยุคหน้าไม่แน่ว่าอาจทำตรงนี้ได้ โดยผ่านทางเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม ซึ่งยอมรับว่ามันเป็นดาบสองคม เหมือนพลังานนิวเคลียร์ ที่อาจเอาไปทำโรงไฟฟ้าก็ได้ ระเบิดก็ได้ หรือว่าต่อไปเราไม่ต้องพึ่งพาชีวภาพแล้วก็ได้ เรื่องของคนพิการ คนตาบอด ก็พัฒนาเป็นไมโครชิปเอาไปฝังที่เรตินาแล้วเชื่อมต่อกับกล้องวีดีโอแล้วส่งสัญญาณภาพไปสมองให้พอมองเห็นได้ คือเปลี่ยนภาพให้เป็นกระแสไฟฟ้า แล้วกระแสไฟฟ้ามันก็จะไปกระตุ้นเซลล์ประสาทที่เดิมมันรับสัญญาณจากตาเรา แต่นี่เปลี่ยนไปรับสัญญาณจากกล้องวิดีโอแทน ทำให้คนตาบอดพอมองเห็นได้ ถึงยังไม่ละเอียดมาก แต่เทคโนโลยีมันพัฒนาไปได้เรื่อยๆ การรวมกันระหว่างเนื้อหนังมังสากับเทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องเกินจริงเลย ผมเพิ่งฟังข่าววันก่อน เขาทดลองในลิง เอาชิปไปฝังในสมองลิงส่วนที่เอาไว้บังคับแขน แล้วก็ต่อสายไปเข้าคอมพ์ จากคอมพ์ไปออกในแขนกล ลิงสามารถนั่งอยู่เฉยๆ แล้วใช้ความคิดของมันบังคับแขนกลให้ไปหยิบอาหารเข้าปากมันได้ อีกหน่อย คนที่เป็นอัมพาต ไม่เป็นไร เราสร้างร่างใหม่ให้คุณ
6-เปลี่ยนร่างกายได้ตามใจชอบ
+ขณะที่คนเองเหมือนหุ่นยนต์มากขึ้นเรื่อยๆ แต่คอมพิวเตอร์จะเหมือนคนมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงยุคนั้นคงแยกไม่ออกว่าใครเป็นคน ใครเป็นหุ่นยนต์ คิดเรื่องนี้ก็สนุกดีนะ และถ้ามันถึงยุคสุดยอดที่เราสามารถดาวน์โหลดความเป็นตัวเราหรือจิตของเรา ข้อมูลทั้งหลายในสมองเรา จากร่างเก่าที่เราไม่พอใจไปสู่ร่างใหม่ของเราได้ อีกหน่อยเราคงไม่จำเป็นต้องมีร่าง เราอยู่ในโลกไซเบอร์ที่เป็นข้อมูลที่ส่งไปส่งมาได้ตามสาย เวลาเราอยากมีร่างเมื่อไหร่ เราค่อยไปดาวน์โหลดลงตัวอะไรสักตัว วิวัฒนาการขั้นสูงสุดก็คือคุณมีแต่จิตอย่างเดียวพอ คุณไม่ต้องมีร่างกาย จิตในที่นี้ไม่ได้หมายถึงวิญญาณ แต่หมายถึงการวิ่งไปวิ่งมาของข้อมูลที่มันประกอบขึ้นมา เป็นความรู้สึกนึกคิด ความทรงจำของคุณ มันก็ยังต้องอาศัยที่สถิตอยู่ดี แต่แค่อาจย้ายจากสมองไปสู่คอมพิวเตอร์ได้
ดูแลแมลงและแบคทีเรีย
+ในแง่ความสัมพันธ์ของธรรมชาติในโลกนี้ ถ้าคนหายไป มันจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ถ้าแมลงหายไปทุกอย่างพังหมด เพราะแมลงมันเป็นตั้งแต่ตัวที่ช่วยผสมเกสรต้นไม้ หนอนก็เป็นตัวช่วยเก็บกินเศษเล็กเศษน้อยแล้วรีไซเคิลวัตถุดิบต่างๆ เยอะแยะไปหมด ถ้าแบคทีเรียหายไปยิ่งแล้วใหญ่ โลกนี้วิบัติเลย ไม่มีตัวอะไรอยู่ได้อีกเลย ความฉลาดของแบคทีเรียมันเป็นความฉลาดในแบบที่ร่างกายมันสร้างมาให้แล้ว มันมีสารเคมีที่สามารถใช้ย่อยไอ้โน่นไอ้นี่ได้ ซึ่งเทคโนโลยียังสู้มันไม่ได้เลย คนไม่สามารถเปลี่ยนหินให้เป็นทองคำได้ แต่แบคทีเรียทำได้ และถ้านับเอาตามการครองโลกจริงๆ เราด้อยกว่าแมลงและแบคทีเรียเยอะ แค่ในตัวเราเอง มีเซลล์ที่เป็นมนุษย์น้อยกว่าเซลล์ที่เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในร่างกายเราสิบเท่า ถ้านับตามจำนวนเซลล์คือเราเป็นแบคทีเรียมากกว่ามนุษย์ซะอีก
มากกว่ามนุษย์ ยังมีมนุษยธรรม
+นอกจากพัฒนาว่าทำยังไงให้ชีวิตมนุษย์ดีแล้ว จริงๆ เราต้องพัฒนาควบคู่ไปด้วยว่าจะอยู่อย่างไร ไม่ให้เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตอื่นๆ คือเบียดเบียนให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เรื่องของการฆ่าสัตว์อื่นจนสูญพันธุ์ไป ในโลกยุคหน้าอาจจะมีการพัฒนาด้านนี้ควบคู่กันไป ว่าเราต้องมีมนุษยธรรม เราจะไปฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สัตว์อื่นไม่ได้ ถ้าตรงนี้ทำสำเร็จ ผมว่าเราก็น่าจะอยู่ได้อย่างลงตัวกับธรรมชาติ แต่ถ้าไม่สำเร็จ อาจด้วยเหตุผลที่ว่าสุดท้ายแล้วคนมันเยอะเกินไปจริงๆ มันไม่รู้จะทำยังไงแล้ว มันจะให้อยู่โดยไม่เบียดเบียนไม่ได้ แต่ละคนก็ใช้นิดกินน้อยแล้ว แต่มันรวมไม่รู้กี่พันล้านคน ยังไงมันก็มีผลกระทบใหญ่อยู่ดี นั่นมันก็เป็นเรื่องที่ต้องคิดแก้ปัญหากัน
ก่อนถึงจุดจบ ความหมายอยู่ระหว่างทาง
+ที่นักวิทยาศาสตร์กำลังคิดค้นกัน ก็ไม่ได้มองข้ามข้อเท็จจริงที่ว่าสุดท้ายมันก็สูญสลายหายไปอยู่ดี เพียงแต่เรามองความหมายในระยะสั้นว่าทำยังไงให้คุณภาพของชีวิตมนุษย์มันพัฒนาได้เต็มศักยภาพของมัน ถ้าเรามีชีวิตยืนยาวมากๆ เราอาจจะมีคนที่นอกจากศึกษาพระธรรมจนแตกฉานแล้ว ยังสามารถจบปริญญาเอกฟิสิกส์ได้อีกด้วย มีความรู้ความสามารถเป็นผู้นำคนได้ ผมว่าน่าจะเป็นเรื่องดีมากกว่า ถ้าบอกว่าสิ่งที่ทำฝืนธรรมชาติแล้วผิดโดยอัตโนมัติ ก็เกินไป ฝืนธรรมชาติมีทั้งที่ดีและไม่ดี บางอย่างก็ต้องใช้สติ ผมมองว่าในทางพุทธสอนให้เราเข้าใจว่า ถึงที่สุดแล้วสรรพสิ่งมันต้องแตกดับ ต่อให้คนเราสามารถมีชีวิตเป็นอมตะได้จริง วันหนึ่งดวงอาทิตย์ก็ยังขยายใหญ่ขึ้นและกลืนโลกเข้าไปอยู่ดี ดวงดาวทั้งหลายในกาแล็กซีต้องมอดดับหมด ทุกอย่างดับสนิท ถึงจุดจบอยู่ดี หรือถึงแม้ไม่คิดยาวไกลขนาดนั้น ต่อให้เราเป็นอมตะแล้ว คนรักเราก็ทิ้งเราได้อยู่ดี ของหวงที่บ้านก็ตกแตกได้เหมือนกัน
*แทนไท ประเสริฐกุล เป็นนักชีววิทยาเลือดใหม่ เขาสงสัยไปได้ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่ระดับอะตอมไปถึงระดับจักรวาล เขาเขียนหนังสือออกมา 3 เล่ม ได้แก่ โลกนี้มันช่างยีสต์, Mimic เลียนแบบทำไม? และ โลกจิต ได้รับความนิยมจากผู้อ่านว่าเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์ได้มันมาก จนอยากให้มันได้บรรจุเป็นตำราการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันแทนไทกำลังเรียนปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยมหิดล
+หรือถ้าจินตนาการแบบตรงข้ามกัน ทุกวันนี้โลกมันเชื่อมกันหมด ไม่แน่เผ่าพันธุ์ต่างๆ อาจจะหายไปหมดเลยก็ได้ คนจีน ฝรั่งหัวแดง คนผิวดำ อาจผสมเข้ากันหมด ไม่สามารถแยกได้ชัดเจนว่าเป็นเผ่าพันธุ์อะไร กลายเป็นเผ่าพันธุ์เดียว ซึ่งอาจดีก็ได้ คงไม่ต้องทะเลาะกันเรื่องสีผิว แต่อาจจะไปทะเลาะเรื่องอื่นแทน มีหนังสือนิยายวิทยาศาสตร์เล่มหนึ่ง ชื่อว่า The Hitchhiker’s Guide to the Galaxy เป็นเรื่องที่นิยมมากในหมู่นักอ่านนิยายวิทยาศาสตร์ ในอารยธรรม Civilization เขาว่าวิวัฒนาการมีอยู่ 3 สเต็ป สเต็ปแรกตั้งคำถามว่า เราจะทำมาหากินกันยังไง สเต็ปต่อมา เป็นขั้นที่ตั้งคำถามว่า เราจะทำมาหากินไปทำไม และสเต็ปสุดท้ายบอกว่า รู้แล้วว่าจะหากินอะไร หากินไปทำไม เหลือเพียงคำถามเดียวคือ วันนี้จะกินข้าวที่ไหนดี อันนี้คือวิวัฒนาการของอารยธรรม แต่สังเกตได้ว่าในยุคๆ หนึ่ง จริงๆ ก็มีคนหลายแบบ บางคนถามจะกินข้าวที่ไหนอย่างเดียว แต่ไม่เคยถามว่าจะกินไปทำไมก็มี บางคนถามแต่จะกินไปทำไม แต่ไม่เคยคิดเรื่องทำมาหากินก็มีเหมือนกัน
4-อายุยืนยาว ไม่กลัวแก่
+ที่น่าคิดก็คือว่า ถ้าเราลองย้อนกลับไปสัก 30-40 ปี หรือกระทั่งร้อยปีก่อน เราจะพบว่าระยะชีวิตของมนุษย์ยืนยาวมากขึ้น คนที่เกิดมาอายุถึง 30 นี่ถือว่าแก่สุดในหมู่บ้านแล้ว อายุ 40 ฟันหักหมด ก็ตายแล้ว ทุกวันนี้คนอยู่ถึง 70-80 ปี ไม่ใช่เรื่องแปลก แล้วมันจะยืดยาวไปอีกเรื่อยๆ เราอาจถึงจุดที่ว่าคนเราจะไม่แก่อีกต่อไป อาจจะคงอายุที่ 25 ไปตลอดชีวิต มีความเป็นไปได้ สมมุติแก่ไปตับเสียก็เปลี่ยนตับได้ เหมือนเปลี่ยนอะไหล่รถน่ะ มีนักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษาหลายแง่มุมมาก มีอยู่คนหนึ่งชื่อ Michael Rose เขาสังเกตว่า ในธรรมชาติสัตว์ที่ยิ่งถึงวัยเจริญพันธุ์ช้ามักจะยิ่งอยู่ได้นาน ก็เลยเอาไอเดียไปทดลองคัดพันธุ์แมลงหวี่ เลือกตัวที่สืบพันธุ์ช้าๆ แล้วเอาตัวนั้นมาผสมกับตัวที่มีลูกช้าที่สุดไปเรื่อยๆ รุ่นต่อไปก็ทำจะแบบนี้ ปรากฏว่าเขาทำจนสามารถคัดเลือกแมลงหวี่ที่มีอายุยืนยาวกว่าปกติถึง 2 เท่า ไม่แน่เราอาจจะสามารถศึกษาแมลงหวี่พวกนี้ แล้วก็แอบขโมยเอากลไกเดียวกันมาใส่ให้แก่เซลล์มนุษย์บ้าง อาจทำให้เรามีชีวิตได้ยาวนานกว่าเดิม อีกแนวทางก็มีคนที่เขาไปค้นพบว่าสัตว์หลายกลุ่มมากเลย ถ้าให้มันอดอาหาร หรือให้กินลดลงครึ่งหนึ่ง อายุจะยืนยาวขึ้นอีกเท่าตัว ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เซลล์เดียวอย่างยีสต์ ไปจนถึงหนอน แมลงหวี่ หนู ลิง เขาบอกว่าร่างกายมันจะมีเซ็นเซอร์ที่รู้ได้ว่าตอนนี้กำลังลำบาก ได้รับอาหารไม่เพียงพอ มันจะเปลี่ยนโหมดไปเป็นโหมดประหยัดพลังงาน ทำให้อยู่ได้นานขึ้น เพราะว่าตอนนี้ไม่ใช่ยุครุ่งเรืองของมัน ต้องเก็บตัวเงียบๆ พอเมื่อไหร่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ ค่อยกลับไปสู่โหมดทุ่มเทพลังงานเพื่อการขยายพันธุ์ แล้วกลไกนี้มันมีอยู่ในทุกสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่เซลล์เดียวจนถึงกระทั่งคน สารเคมีตัวเดียวกันเลย นักวิทยาศาสตร์ก็กำลังศึกษาอยู่ว่าจะทำยังไง ให้เรารู้ว่าปุ่มเปลี่ยนโหมดมันอยู่ที่ไหนในกลไกนั้น โดยที่เรายังสามารถกินได้ปกติ แต่เปลี่ยนโหมดชีวิตให้ยืนยาวขึ้นได้ไหม แต่เรื่องตายนี่อาจยังเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ต่อให้ไม่แก่ตายก็ถูกรถชนตายได้อยู่ดี
5-หัวใจเป็นคน อวัยวะเป็นหุ่นยนต์
+มีนักวิทยาศาสตร์ที่ทดลองเพาะแบคทีเรีย เขารู้สึกว่ามันเหม็นมาก เลยไปเอายีนของกล้วยมาใส่ในแบคทีเรีย ก็ได้แบคทีเรียกลิ่นกล้วย ทดลองไปก็หอมชื่นใจ สำหรับคนที่เกิดมาชะตาชีวิตลิขิตไว้แล้วว่า จะต้องเป็นโรคแน่ๆ ยีนเขามันเขียนมาแล้ว เราสามารถเปลี่ยนแปลงยีนของเขาได้ไหม หรือลบมันออกไปเลยแล้วใส่ยีนใหม่เข้าไปแทน ยุคหน้าไม่แน่ว่าอาจทำตรงนี้ได้ โดยผ่านทางเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม ซึ่งยอมรับว่ามันเป็นดาบสองคม เหมือนพลังานนิวเคลียร์ ที่อาจเอาไปทำโรงไฟฟ้าก็ได้ ระเบิดก็ได้ หรือว่าต่อไปเราไม่ต้องพึ่งพาชีวภาพแล้วก็ได้ เรื่องของคนพิการ คนตาบอด ก็พัฒนาเป็นไมโครชิปเอาไปฝังที่เรตินาแล้วเชื่อมต่อกับกล้องวีดีโอแล้วส่งสัญญาณภาพไปสมองให้พอมองเห็นได้ คือเปลี่ยนภาพให้เป็นกระแสไฟฟ้า แล้วกระแสไฟฟ้ามันก็จะไปกระตุ้นเซลล์ประสาทที่เดิมมันรับสัญญาณจากตาเรา แต่นี่เปลี่ยนไปรับสัญญาณจากกล้องวิดีโอแทน ทำให้คนตาบอดพอมองเห็นได้ ถึงยังไม่ละเอียดมาก แต่เทคโนโลยีมันพัฒนาไปได้เรื่อยๆ การรวมกันระหว่างเนื้อหนังมังสากับเทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องเกินจริงเลย ผมเพิ่งฟังข่าววันก่อน เขาทดลองในลิง เอาชิปไปฝังในสมองลิงส่วนที่เอาไว้บังคับแขน แล้วก็ต่อสายไปเข้าคอมพ์ จากคอมพ์ไปออกในแขนกล ลิงสามารถนั่งอยู่เฉยๆ แล้วใช้ความคิดของมันบังคับแขนกลให้ไปหยิบอาหารเข้าปากมันได้ อีกหน่อย คนที่เป็นอัมพาต ไม่เป็นไร เราสร้างร่างใหม่ให้คุณ
6-เปลี่ยนร่างกายได้ตามใจชอบ
+ขณะที่คนเองเหมือนหุ่นยนต์มากขึ้นเรื่อยๆ แต่คอมพิวเตอร์จะเหมือนคนมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงยุคนั้นคงแยกไม่ออกว่าใครเป็นคน ใครเป็นหุ่นยนต์ คิดเรื่องนี้ก็สนุกดีนะ และถ้ามันถึงยุคสุดยอดที่เราสามารถดาวน์โหลดความเป็นตัวเราหรือจิตของเรา ข้อมูลทั้งหลายในสมองเรา จากร่างเก่าที่เราไม่พอใจไปสู่ร่างใหม่ของเราได้ อีกหน่อยเราคงไม่จำเป็นต้องมีร่าง เราอยู่ในโลกไซเบอร์ที่เป็นข้อมูลที่ส่งไปส่งมาได้ตามสาย เวลาเราอยากมีร่างเมื่อไหร่ เราค่อยไปดาวน์โหลดลงตัวอะไรสักตัว วิวัฒนาการขั้นสูงสุดก็คือคุณมีแต่จิตอย่างเดียวพอ คุณไม่ต้องมีร่างกาย จิตในที่นี้ไม่ได้หมายถึงวิญญาณ แต่หมายถึงการวิ่งไปวิ่งมาของข้อมูลที่มันประกอบขึ้นมา เป็นความรู้สึกนึกคิด ความทรงจำของคุณ มันก็ยังต้องอาศัยที่สถิตอยู่ดี แต่แค่อาจย้ายจากสมองไปสู่คอมพิวเตอร์ได้
ดูแลแมลงและแบคทีเรีย
+ในแง่ความสัมพันธ์ของธรรมชาติในโลกนี้ ถ้าคนหายไป มันจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ถ้าแมลงหายไปทุกอย่างพังหมด เพราะแมลงมันเป็นตั้งแต่ตัวที่ช่วยผสมเกสรต้นไม้ หนอนก็เป็นตัวช่วยเก็บกินเศษเล็กเศษน้อยแล้วรีไซเคิลวัตถุดิบต่างๆ เยอะแยะไปหมด ถ้าแบคทีเรียหายไปยิ่งแล้วใหญ่ โลกนี้วิบัติเลย ไม่มีตัวอะไรอยู่ได้อีกเลย ความฉลาดของแบคทีเรียมันเป็นความฉลาดในแบบที่ร่างกายมันสร้างมาให้แล้ว มันมีสารเคมีที่สามารถใช้ย่อยไอ้โน่นไอ้นี่ได้ ซึ่งเทคโนโลยียังสู้มันไม่ได้เลย คนไม่สามารถเปลี่ยนหินให้เป็นทองคำได้ แต่แบคทีเรียทำได้ และถ้านับเอาตามการครองโลกจริงๆ เราด้อยกว่าแมลงและแบคทีเรียเยอะ แค่ในตัวเราเอง มีเซลล์ที่เป็นมนุษย์น้อยกว่าเซลล์ที่เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในร่างกายเราสิบเท่า ถ้านับตามจำนวนเซลล์คือเราเป็นแบคทีเรียมากกว่ามนุษย์ซะอีก
มากกว่ามนุษย์ ยังมีมนุษยธรรม
+นอกจากพัฒนาว่าทำยังไงให้ชีวิตมนุษย์ดีแล้ว จริงๆ เราต้องพัฒนาควบคู่ไปด้วยว่าจะอยู่อย่างไร ไม่ให้เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตอื่นๆ คือเบียดเบียนให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เรื่องของการฆ่าสัตว์อื่นจนสูญพันธุ์ไป ในโลกยุคหน้าอาจจะมีการพัฒนาด้านนี้ควบคู่กันไป ว่าเราต้องมีมนุษยธรรม เราจะไปฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สัตว์อื่นไม่ได้ ถ้าตรงนี้ทำสำเร็จ ผมว่าเราก็น่าจะอยู่ได้อย่างลงตัวกับธรรมชาติ แต่ถ้าไม่สำเร็จ อาจด้วยเหตุผลที่ว่าสุดท้ายแล้วคนมันเยอะเกินไปจริงๆ มันไม่รู้จะทำยังไงแล้ว มันจะให้อยู่โดยไม่เบียดเบียนไม่ได้ แต่ละคนก็ใช้นิดกินน้อยแล้ว แต่มันรวมไม่รู้กี่พันล้านคน ยังไงมันก็มีผลกระทบใหญ่อยู่ดี นั่นมันก็เป็นเรื่องที่ต้องคิดแก้ปัญหากัน
ก่อนถึงจุดจบ ความหมายอยู่ระหว่างทาง
+ที่นักวิทยาศาสตร์กำลังคิดค้นกัน ก็ไม่ได้มองข้ามข้อเท็จจริงที่ว่าสุดท้ายมันก็สูญสลายหายไปอยู่ดี เพียงแต่เรามองความหมายในระยะสั้นว่าทำยังไงให้คุณภาพของชีวิตมนุษย์มันพัฒนาได้เต็มศักยภาพของมัน ถ้าเรามีชีวิตยืนยาวมากๆ เราอาจจะมีคนที่นอกจากศึกษาพระธรรมจนแตกฉานแล้ว ยังสามารถจบปริญญาเอกฟิสิกส์ได้อีกด้วย มีความรู้ความสามารถเป็นผู้นำคนได้ ผมว่าน่าจะเป็นเรื่องดีมากกว่า ถ้าบอกว่าสิ่งที่ทำฝืนธรรมชาติแล้วผิดโดยอัตโนมัติ ก็เกินไป ฝืนธรรมชาติมีทั้งที่ดีและไม่ดี บางอย่างก็ต้องใช้สติ ผมมองว่าในทางพุทธสอนให้เราเข้าใจว่า ถึงที่สุดแล้วสรรพสิ่งมันต้องแตกดับ ต่อให้คนเราสามารถมีชีวิตเป็นอมตะได้จริง วันหนึ่งดวงอาทิตย์ก็ยังขยายใหญ่ขึ้นและกลืนโลกเข้าไปอยู่ดี ดวงดาวทั้งหลายในกาแล็กซีต้องมอดดับหมด ทุกอย่างดับสนิท ถึงจุดจบอยู่ดี หรือถึงแม้ไม่คิดยาวไกลขนาดนั้น ต่อให้เราเป็นอมตะแล้ว คนรักเราก็ทิ้งเราได้อยู่ดี ของหวงที่บ้านก็ตกแตกได้เหมือนกัน
*แทนไท ประเสริฐกุล เป็นนักชีววิทยาเลือดใหม่ เขาสงสัยไปได้ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่ระดับอะตอมไปถึงระดับจักรวาล เขาเขียนหนังสือออกมา 3 เล่ม ได้แก่ โลกนี้มันช่างยีสต์, Mimic เลียนแบบทำไม? และ โลกจิต ได้รับความนิยมจากผู้อ่านว่าเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์ได้มันมาก จนอยากให้มันได้บรรจุเป็นตำราการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันแทนไทกำลังเรียนปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยมหิดล
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น